คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 427

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขับรถยนต์รับจ้างไปในทางการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่าจ้าง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน คำว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน" หมายถึง ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้หมายถึงผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะแห่งการเป็นตัวการและตัวแทนซึ่งมีกฎหมายบังคับคนละลักษณะกัน เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขับรถยนต์รับจ้างไปในทางการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่าจ้าง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันคำว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน" หมายถึง ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้หมายถึงผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะแห่งการเป็นตัวการและตัวแทนซึ่งมีกฎหมายบังคับคนละลักษณะกัน เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ตัวการตัวแทน, ความรับผิดทางละเมิด: โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงมีอำนาจฟ้องได้
จำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเมาสุรานั่งไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 2แทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น ตัวการ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถในขณะเกิดเหตุ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ให้ จำเลย ที่ 2 รับผิดในฐานะตัวการด้วย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่เสียหาย จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มิใช่เจ้าของรถคันเกิดเหตุ แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการและตัวแทนจากการละเมิด และปัญหาอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
จำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเมาสุรานั่งไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 2แทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถในขณะเกิดเหตุ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ให้ จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะตัวการด้วย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่เสียหาย จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มิใช่เจ้าของรถคันเกิดเหตุ แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4771/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับจ้าง-ความรับผิดของผู้ให้เช่ารถ: การที่ผู้รับจ้างขับรถให้เช่าก่อความเสียหาย ผู้ให้เช่าต้องรับผิดในฐานะตัวการ
จำเลยที่ 1 เดินรถรับจ้างโดยสารในนามของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนไว้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารของจำเลยที่ 2ไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าได้ให้จำเลยที่ 1 เช่ารถคันดังกล่าวไปแล้วหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4771/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำเลยต้องรับผิดในความเสียหายจากการขับรถรับจ้าง แม้จะอ้างว่าให้เช่ารถไปแล้ว
จำเลยที่ 1 เดินรถรับจ้างโดยสารในนามของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนไว้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารของจำเลยที่ 2ไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าได้ให้จำเลยที่ 1 เช่ารถคันดังกล่าวไปแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4771/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ารถที่ขัดต่อกฎหมายและหลักตัวการตัวแทน: ความรับผิดของผู้ให้เช่าต่อความเสียหายจากการขับรถ
จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้รถยนต์สี่ล้อรับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกินเจ็ดคนในท้องที่จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 34(พ.ศ. 2513) ออกตามความใน พ.ร.บ. รถยนต์พ.ศ. 2473 อันเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ในขณะพิพาท ซึ่งตามข้อ 8(5)แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นเช่ารถของจำเลยที่ 2 ไปหารายได้ ดังนี้ ที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าให้จำเลยที่ 1 เช่ารถตามฟ้องไปแล้ว สัญญาเช่าดังกล่าวจึงฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 เมื่อจำเลยที่ 1 เดิน รถรับจ้างโดยสารดังกล่าวกระทำในนามของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนไว้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารของจำเลยที่ 2ไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าให้เช่ารถคันดังกล่าวไปแล้วหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนเรือในความเสียหายจากการลากจูง: สัญญาผูกพันจำเลย
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเรือซาอุดี เย็นโบ ในการลากจูงเรือออกจากท่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองเรือไม่ได้เป็นผู้ควบคุมและสั่งการเดินเรือเมื่อเกิดเหตุเรือชนท่าเรือของโจทก์ กรณีละเมิดดังกล่าวมิได้เกิดจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด ปรากฏตามคำร้องขอเช่าเรือลากจูงจากโจทก์ของจำเลยที่ 2 ว่า"ข้าพเจ้ายอมเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องในการลากจูงนี้ และไม่เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยในกรณีที่มีการเสียหายเกิดขึ้นแก่เรือที่ถูกลากจูง ไม่ว่าในกรณีใด ๆ" ซึ่งหมายความว่า หากการลากจูงนั้นเกิดความเสียหายอย่างใด ๆ ขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบแต่ถ้าหากการลากจูงนั้นเกิดความเสียหายอย่างใด ๆ ขึ้นแก่เรือที่ถูกลากจูงซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนอยู่ จำเลยที่ 2 ก็ดีฝ่ายเรือที่ถูกลากจูงก็ดี ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์หรือไม่จึงต้องดูที่ว่าความเสียหายเกิดจากการลากจูงหรือไม่เมื่อปรากฏว่าความเสียหายเกิดขึ้นขณะที่เรือลากจูงดันเรือซาอุดี เย็นโบ เข้าเทียบท่าเนื่องจากเครื่องยนต์ดับ การลากจูงยังไม่เสร็จสิ้นยังไม่พ้นจากท่าเรือของโจทก์ ขณะดัน เรือเข้าเทียบท่ายังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบของเรือลากจูง ฉะนั้น การที่เรือลากจูงดันเรือซาอุดี เย็นโบเข้าเทียบท่าไปกระทบปั้นจั่นและโรงพักของโจทก์เสียหาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องในการลากจูงซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบตามคำร้องขอเช่าหรือลากจูงซึ่งโจทก์ตกลงด้วยแล้ว คำร้องดังกล่าวถือเป็นสัญญาผูกพันจำเลยที่ 2 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนเรือในการลากจูงและการตีความสัญญาเช่าเรือลากจูง
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเรือซาอุดี เย็นโบ ในการลากจูงเรือออกจากท่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองเรือไม่ได้เป็นผู้ควบคุมและสั่งการเดินเรือเมื่อเกิดเหตุเรือชนท่าเรือของโจทก์ กรณีละเมิดดังกล่าวมิได้เกิดจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด
ปรากฏตามคำร้องขอเช่าเรือลากจูงจากโจทก์ของจำเลยที่ 2 ว่า"ข้าพเจ้ายอมเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องในการลากจูงนี้ และไม่เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยในกรณีที่มีการเสียหายเกิดขึ้นแก่เรือที่ถูกลากจูง ไม่ว่าในกรณีใด ๆ" ซึ่งหมายความว่า หากการลากจูงนั้นเกิดความเสียหายอย่างใด ๆ ขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบแต่ถ้าหากการลากจูงนั้นเกิดความเสียหายอย่างใด ๆ ขึ้นแก่เรือที่ถูกลากจูงซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนอยู่ จำเลยที่ 2 ก็ดีฝ่ายเรือที่ถูกลากจูงก็ดี ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์หรือไม่จึงต้องดูที่ว่าความเสียหายเกิดจากการลากจูงหรือไม่เมื่อปรากฏว่าความเสียหายเกิดขึ้นขณะที่เรือลากจูงดันเรือซาอุดี เย็นโบ เข้าเทียบท่าเนื่องจากเครื่องยนต์ดับ การลากจูงยังไม่เสร็จสิ้นยังไม่พ้นจากท่าเรือของโจทก์ ขณะดัน เรือเข้าเทียบท่ายังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบของเรือลากจูง ฉะนั้น การที่เรือลากจูงดันเรือซาอุดี เย็นโบเข้าเทียบท่าไปกระทบปั้นจั่นและโรงพักของโจทก์เสียหาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องในการลากจูงซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบตามคำร้องขอเช่าหรือลากจูงซึ่งโจทก์ตกลงด้วยแล้ว คำร้องดังกล่าวถือเป็นสัญญาผูกพันจำเลยที่ 2 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของเจ้าของรถแท็กซี่ต่อการละเมิดของคนขับ และการคิดดอกเบี้ยจากวันฟ้อง
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีใจความเพียงว่า จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนในข้อหาขับขี่รถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีสาระสำคัญแสดง การที่จำเลยที่ 1 เจรจาตกลงกับคนขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ในเรื่องการชำระค่าเสียหายให้ชัดแจ้งจึงไม่มีผลเป็นการประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์แท็กซี่คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 ออกแล่นรับคนโดยสารในนามบริษัทจำเลยที่ 2 โดยเปิดเผย และโดยจำเลยที่ 2 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์และรอยตราของจำเลยที่ 2 สุจริตชนย่อมเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ประกอบการเดินรถยนต์รับจ้างโดยสารในกิจการของจำเลยที่ 2 เองพฤติการณ์ดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1เชิดตัวเองออกแสดงเป็นพนักงานหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ซึ่งจำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดในคดีนี้ตามมาตรา 427 โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายโดยตรงมิได้ จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทน โจทก์ไม่นำสืบให้ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนไปในวันใด โจทก์จึงควรได้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
of 17