พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลย 1 และ 10 ต้องรับผิดร่วมกันต่อความเสียหายจากการยิงพลาดทำให้นายชูศักดิ์เสียชีวิต แม้มีผู้อื่นยิงเช่นกัน
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลองแต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1 ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1 อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527) จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10 จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาด ไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1 ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่ นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืนยาวกว่า60ปีได้(นายชูศักดิ์อายุ 53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1 เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว ขณะนายชูศักดิ์ตายเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ 9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หา เป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการยิงพลาดของเจ้าพนักงาน และความร่วมรับผิดของหน่วยงานต้นสังกัด
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลอง แต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์(วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527)
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาดไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่
นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืน ยาวกว่า 60 ปีได้ (นายชูศักดิ์อายุ53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว
ขณะนายชูศักดิ์ตาย เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาเป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่ เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว
ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาดไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่
นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืน ยาวกว่า 60 ปีได้ (นายชูศักดิ์อายุ53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว
ขณะนายชูศักดิ์ตาย เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาเป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่ เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว
ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา
หลังจากโจทก์ฟ้องคดีแพ่งแล้ว อัยการศาลทหารกรุงเทพ (พนักงานอัยการ กรมอัยการ) ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งเป็นมูลกรณีเดียวกัน คดีแพ่งเรื่องนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 และพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 บัญญัติให้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) ฟังข้อเท็จจริงว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส พิพากษาลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาฟังได้ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยทำละเมิดโจทก์
ศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) ฟังข้อเท็จจริงว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส พิพากษาลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาฟังได้ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยทำละเมิดโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญาในการพิจารณาคดีแพ่ง
หลังจากโจทก์ฟ้องคดีแพ่งแล้ว อัยการศาลทหารกรุงเทพ(พนักงานอัยการ กรมอัยการ) ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสซึ่งเป็นมูลกรณีเดียวกัน คดีแพ่งเรื่องนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 และพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 บัญญัติให้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) ฟังข้อเท็จจริงว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสพิพากษาลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาฟังได้ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยทำละเมิดโจทก์
ศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) ฟังข้อเท็จจริงว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสพิพากษาลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาฟังได้ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยทำละเมิดโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ละเมิดและการชดใช้ค่าเสียหาย
แม้คดีส่วนอาญาจะเป็นคำพิพากษาของศาลทหาร ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลก็จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญานั้น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 และพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: การชดใช้ค่าเสียหายจากการทำร้ายร่างกาย
แม้คดีส่วนอาญาจะเป็นคำพิพากษาของศาลทหาร ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลก็จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญานั้น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 และพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การที่ผู้ฟ้องนำเช็คไปขึ้นเงินโดยไม่มีมูลหนี้ ถือเป็นการกระทำผิดทางอาญา และจำเลยไม่ต้องรับผิดตามเช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองออกเช็ค 5 ฉบับชำระหนี้ค่าบ้านที่ดินกับค่าหุ้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ตามสัญญาซื้อขาย (เอกสารหมาย จ.3) โจทก์ได้รับเงินตามเช็คเพียง 1 ฉบับส่วนอีก 4ฉบับธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็ค 4 ฉบับพร้อมทั้งดอกเบี้ย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์มิใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์บังอาจเอาเช็คของจำเลยไปและได้นำเช็คไปขึ้นเงินแล้ว 1ฉบับ จึงขอให้โจทก์คืนเงินและเช็คดังกล่าวให้จำเลยปรากฏว่าโจทก์ได้ถูกอัยการศาลทหารฟ้องเป็นจำเลยและศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ลักเช็คทั้ง 5 ฉบับนั้นจากจำเลยที่ 2 ไปลงวันที่สั่งจ่ายแล้วนำไปขึ้นเงินที่ธนาคาร 1 ฉบับ นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินอีก 4 ฉบับทั้งที่โจทก์จำเลยมิได้มีมูลหนี้ต่อกันแต่อย่างใดและพิพากษาจำคุกโจทก์ ศาลทหารกลางพิพากษายืน คดีถึงที่สุด ดังนี้ คดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลักเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2 ไปขึ้นเงิน โดยที่โจทก์จำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน จำเลยจึงไม่ผูกพันจะต้องชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และผลผูกพันของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง
ศาลทหารมีคำพิพากษาถึงที่สุดฟังว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทแซงรถคันอื่นขึ้นมาล้ำเข้าไปในเส้นทางของรถยนต์โดยสาร จนเป็นเหตุให้ชนรถยนต์โดยสารได้รับความเสียหาย ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งเฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ส่วนจำเลยที่ 2 นายจ้างของจำเลยที่ 1 มิได้ถูกฟ้องในคดีอาญาด้วยคำพิพากษาในคดีอาญาจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะยกข้อต่อสู้และนำสืบได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายละเมิด หากเป็นแต่ความประมาทของคนขับรถยนต์โดยสารฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง
ศาลทหารมีคำพิพากษาถึงที่สุดฟังว่า จำเลยที 1 ขับรถยนต์โดยประมาทแซงรถคันอื่นขึ้นมาล้ำเข้าไปในเส้นทางของรถยนต์โดยสาร จนเป็นเหตุให้ชนรถยนต์โดยสารได้รับความเสียหาย ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งเฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ส่วนจำเลยที่ 2 นายจ้างของจำเลยที่ 1 มิได้ถูกฟ้องในคดีอาญาด้วย คำพิพากษาในคดีอาญาจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะยกข้อต่อสู้และนำสืบได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายละเมิด หากเป็นแต่ความประมาทของคนขับรถยนต์โดยสารฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: ศาลพลเรือนต้องถือข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาศาลทหาร
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลพลเรือนจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 เมื่อศาลทหารพิพากษาชี้ขาดข้อเท็จจริงแล้วว่าพยานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ว่าประมาท ข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ผู้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาของศาลทหาร การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งใหม่ว่าจำเลยที่ 1 ประมาททำให้โจทก์เสียหาย ศาลจะรับฟังตามที่โจทก์นำสืบหาได้ไม่ เพราะขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ประมาททำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2985/2518)