พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนของกลาง: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของและไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
การขอให้คืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบ แสดงให้ศาลเห็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย เมื่อผู้ร้องแถลงไม่สืบพยานจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันปล้นทรัพย์: พฤติการณ์เป็นตัวการร่วม แม้จะอ้างเหตุผลอื่น
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตบศรีษะ ผู้เสียหาย แล้วจำเลยที่ 4ใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายให้นั่งกับพื้น เมื่อเก็บอาวุธปืนแล้วได้นำ ผู้เสียหายไปขึ้นรถยนต์ จำเลยที่ 3 เป็นคนขับ จำเลยที่ 4 นั่งหน้า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นั่งประกบผู้เสียหายซึ่งนั่งกลางที่เบาะหลัง แล้วขับรถไปด้วยกันเมื่อทำร้ายผู้เสียหายจนได้เงินและปล่อย ผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็หลบหนีไปด้วยกัน ถือได้ว่าจำเลย ทั้งสี่เป็นตัวการร่วมในการปล้นทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือและความเร็วในการขับขี่ที่มีผลต่อการจดจำ
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายกำลังขับรถด้วยความเร็วสูงประมาณ80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้เสียหายจึงต้องเพ่งมองไปทางข้างหน้าตลอดเวลา โอกาสจะสังเกตจดจำคนร้ายที่ยืนถืออาวุธปืนอยู่ข้างทางจึงมีเพียงน้อยนิด เมื่อคนร้ายยิงมาที่รถบรรทุกน้ำมันที่ผู้เสียหายขับ ผู้เสียหายก็น่าจะตกใจกลัว ต้องเร่ง ความเร็วสูงขึ้นอีกเพื่อหลบหนีให้พ้น โอกาสที่จะสังเกตจดจำใบหน้าคนร้ายแทบจะไม่มีเลยตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผู้เสียหายไม่น่าจะจำได้ว่าคนร้ายที่ยิงรถบรรทุกน้ำมันคือจำเลยที่ 2 พยานโจทก์นอกจากนี้คงมีเพียงคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนและภาพถ่ายการนำชี้ ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพในสำนวนอีกคดีหนึ่งซึ่งโจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ยังโต้แย้งอยู่ว่าไม่ได้ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นคนร้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอ การจำผิดตัว และพยานยืนยันฐานที่อยู่จำเลย ศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัย
พยานโจทก์ไม่เคยรู้จักคนร้ายทั้งสองมาก่อน วันเกิดเหตุเวลากลางวันคนร้ายทั้งสองเข้ามาสั่งสุราและกระทิงแดง อย่างละหนึ่งขวดนั่งดื่ม ตามปกติอยู่ในร้านของโจทก์ร่วม ไม่มีอาวุธร้ายแรงติดตัวและยังสั่งอาหารมารับประทานอีกด้วย ขณะคนร้ายทั้งสองรับประทานอาหารก็มีลูกค้าคนอื่นเข้ามารับประทานอาหาร 1 คน และมีคนมาติดต่อธุระกับบุตรสาวของโจทก์ร่วมอีก 1 คน คนร้ายรับประทานอาหารนานประมาณ1 ชั่วโมง ไม่มีพิรุธใด ๆ ที่เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมและพยานโจทก์สนใจเป็นพิเศษกว่าลูกค้ารายอื่น ๆ ขณะเกิดเหตุ คนร้ายใช้มีดปังตอฟันโจทก์ร่วมเป็น เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นโดยรวดเร็ว เชื่อ ว่าพยานโจทก์จำคนร้ายได้เพียงคลับคล้ายคลับคลา โดยจดจำเครื่องแต่งกายเป็นหลักเมื่อดู ภาพถ่ายคนร้ายพยานโจทก์ต้องดู ภาพถ่ายถึง 3 รอบ และใช้เวลานานถึง 2 ชั่วโมง แสดงว่าพยานไม่แน่ใจ ปรากฏว่าจำเลยได้ลาออกไปจากบริษัทที่พยานไปดู ภาพถ่ายประวัติคนงานในหลายเดือนแล้ว พยานโจทก์อาจจำคนร้ายผิดพลาดว่าเป็นจำเลยก็ได้หลังจากเกิดเหตุ ประมาณเดือนครึ่ง เจ้าพนักงานตำรวจพาพยานโจทก์ไปดู ตัวจำเลยซึ่ง บวชเป็นพระภิกษุ พยานโจทก์บางปากไม่ยอมชี้ ตัวจำเลยว่าเป็นคนร้าย ในครั้งแรกโดยอ้างว่ากลัวบาป แสดงว่าพยานโจทก์ปากดังกล่าวไม่แน่ใจเกี่ยวกับคนร้าย หลังจากเกิดเหตุจำเลยไม่ได้หลบหนี แต่กลับมาพบเจ้าพนักงานตำรวจโดยดีและยอมให้สึกจากพระภิกษุ แสดงถึงความบริสุทธิ์ ของจำเลยคดีมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เนื่องจากขาดลายมือชื่อพยานรับรองและเจตนาที่แท้จริงของผู้ลงลายมือชื่อ
หนังสือรับสภาพความรับผิดมีลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยที่ 1ในช่องผู้ให้สัญญา และมีลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้รับสัญญา โดยไม่มีผู้ใดลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาและรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยที่ 1 ส่วนทางด้านซ้ายมือเยื้อง ๆ กับช่องที่จำเลยที่ 1พิมพ์ลายนิ้วมือมีการเขียนเติมให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาและจำเลยที่ 3 พิมพ์ลายนิ้วมือในช่องผู้ให้สัญญาอีกช่องหนึ่งซึ่งเขียนถัดลงมา โดยไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเช่นเดียวกันดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 และที่ 3ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 9 วรรคสาม จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้และมิได้ยกขึ้นมาในฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 พิจารณาจากราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ หรือราคาปานกลางตาม พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนราคาของทรัพย์สินตามราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้นำเอาราคาที่ซื้อขายก่อนและหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับที่สุดมาประกอบกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกันในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่เพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเอกชนเสียภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ โดยอ้างอิงราคาปานกลางภาษีบำรุงท้องที่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้นำเอาราคาที่ซื้อขายก่อนและหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับที่สุดมาประกอบกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกันในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นเอกชนเสียภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3733/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การปลอมเอกสารเพื่อฉ้อโกงเป็นเจตนาต่อเนื่อง
แม้โจทก์แยกฟ้องเป็น 3 ข้อ แต่ระบุวันเวลากระทำผิด คือระหว่างวันที่ 11 กรกฎาคม 2530 ถึงวันที่ 16 มกราคม 2531เวลากลางวันจำเลยได้ทำเอกสารและเอกสารราชการปลอมและให้วันที่ 16 มกราคม 2531 เวลากลางวันจำเลยจึงนำเอกสารที่ทำปลอมดังกล่าวไปใช้แสดงเพื่อพยายามฉ้อโกง ดังนี้ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยทำเอกสารและเอกสารราชการปลอมก็เพื่อจะนำไปใช้ฉ้อโกง อันเป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวเพื่อให้ ก.หลงเชื่อว่าจำเลยคือ ค. เจ้าของเช็คเดินทาง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจการสั่งรื้อถอนของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้เกิน 30 วัน
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯและฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารฯและการกระทำของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 42 วรรคหนึ่ง มิใช่มีอำนาจเพียงสั่งให้จำเลยยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องตามมาตรา 43 เท่านั้น แม้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 40 วรรคสอง จะได้กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารก็ตาม แต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องนั้นหมดไปโจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาทเมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอนอาคารพิพาทแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารพิพาททราบโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าของร่วมทุกคนทราบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต และอำนาจการสั่งรื้อถอนของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็น 5 ชั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีทางเดินหลังอาคารและแนวอาคารไม่ร่นหลบแนวเขตถนน จึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสองกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง แต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย