พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลแห่งการพิพากษาชิงทรัพย์เกินคำขอ, เหตุสงสัยผู้ต้องหา, การแก้ไขโทษที่ศาลล่าง
จำเลยถูกฟ้องหลายข้อหาในคดีที่มีข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย เมื่อจำเลยฎีกาในข้อหาที่ไม่ต้องห้ามฎีกาหากศาลฎีกาเห็นว่า คดีมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนร้าย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาที่ต้องห้ามฎีกาได้ด้วย เมื่อคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายมาว่าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ไม่มีรายงานการตรวจชันสูตรบาดแผลแนบท้ายฟ้องทั้งผู้เสียหายก็มิได้เบิกความว่าได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ดังนี้จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง, 340 ตรี เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม, 340 ตรีจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษโดยเพียงแต่ระบุมาตรา มิได้ระบุวรรคให้ชัดเจนนั้น แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาแต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องและชัดเจนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเกินคำขอ และการลงโทษฐานชิงทรัพย์
จำเลยถูกฟ้องหลายข้อหาในคดีที่มีข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย เมื่อจำเลยฎีกาในข้อหาที่ไม่ต้องห้ามฎีกาหากศาลฎีกาเห็นว่า คดีมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนร้าย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาที่ต้องห้ามฎีกาได้ด้วย เมื่อคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายมาว่าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ไม่มีรายงานการตรวจชันสูตรบาดแผลแนบท้ายฟ้องทั้งผู้เสียหายก็มิได้เบิกความว่าได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ดังนี้จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง,340 ตรี เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสาม,340 ตรี จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษโดยเพียงแต่ระบุมาตรา มิได้ระบุวรรคให้ชัดเจนนั้น แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาแต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องและชัดเจนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ ทำให้จำเลยไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยผู้บุกรุกให้รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินบางส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งให้โจทก์ที่ 2 เช่าและร่วมกันเรียกค่าเสียหาย 10,000 บาท กับอีกเดือนละ 1,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชนะคดีเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพียงเดือนละ 500 บาท คงให้โจทก์ที่ 1 ชนะคดี จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อย: การบุกรุกและค่าเสียหาย
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยผู้บุกรุกให้รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินบางส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งให้โจทก์ที่ 2 เช่าและร่วมกันเรียกค่าเสียหาย 10,000 บาท กับอีกเดือนละ 1,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชนะคดีเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพียงเดือนละ 500 บาท คงให้โจทก์ที่ 1ชนะคดี จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 และอำนาจศาลในการบังคับคดีรื้อถอน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยผู้บุกรุกให้รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินบางส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งให้โจทก์ที่ 2 เช่าและร่วมกันเรียกค่าเสียหาย 10,000 บาท กับอีกเดือนละ 1,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชนะคดีเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2คงให้โจทก์ที่ 1 ชนะคดีในเรื่องขับไล่ และให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 เพียงเดือนละ 500 บาท จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การลงชื่อรับรองสิทธิประโยชน์และการไม่โต้แย้งภายหลังย่อมมีผลผูกพัน
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยในศาลชั้นต้น ตัวโจทก์มาศาลและลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความร่วมกับทนายโจทก์ โดยไม่ได้ทักท้วงหรือแถลงให้ทราบว่าการทำสัญญาดังกล่าวไม่ตรงตามเจตนาของโจทก์ จนศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมให้แล้ว โจทก์จะมากล่าวอ้างภายหลังว่า โจทก์ถูกทนายโจทก์กับจำเลยร่วมกันฉ้อฉลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการส่งมอบโฉนดที่ดิน แม้มีคดีอื่นเกี่ยวข้อง ศาลมีอำนาจสั่งให้ส่งมอบโฉนดเพื่อบังคับคดีได้
โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้เก็บโฉนดที่ดินพิพาทไว้ส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นต่อศาลเพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ คำสั่งของศาลเช่นว่านี้ย่อมไม่ทำให้ผู้เก็บโฉนดที่ดินพิพาทสูญเสียสิทธิในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท และโฉนดที่ดินพิพาทที่ส่งมอบต่อศาลก็เพื่อไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่เอาไปเสียจากการยึดถือครอบครองของผู้เก็บโฉนดที่ดิน การที่ผู้เก็บโฉนดที่ดินพิพาทฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่ตนก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ และฟ้องโจทก์จำเลยคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งนั้น มิใช่เหตุที่ศาลจะงดการบังคับคดีนี้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องขอให้ส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อบังคับคดี แม้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้เก็บโฉนดที่ดินพิพาทไว้ส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นต่อศาล เพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ คำสั่งของศาลเช่นว่านี้ย่อมไม่ทำให้ผู้เก็บโฉนดที่ดินพิพาทสูญเสียสิทธิในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด และโฉนดที่ดินพิพาทที่ส่งมอบต่อศาลก็เพื่อไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่เอาไปเสียจากการยึดถือครอบครองของผู้เก็บโฉนดที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอให้ศาลสั่งให้ผู้เก็บโฉนดส่งมอบเพื่อบังคับคดี แม้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้เก็บโฉนดที่ดินพิพาทไว้ส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นต่อศาลเพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ คำสั่งของศาลเช่นว่านี้ย่อมไม่ทำให้ผู้เก็บโฉนดที่ดินพิพาทสูญเสียสิทธิในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด และโฉนดที่ดินพิพาทที่ส่งมอบต่อศาลก็เพื่อไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่เอาไปเสียจากการยึดถือครอบครองของผู้เก็บโฉนดที่ดินนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดจำนวนรถสามล้อรับจ้างและการใช้ดุลพินิจของนายทะเบียนตามกฎกระทรวง
กฎกระทรวงฉบับที่ 28(พ.ศ. 2504) ข้อ 4 ที่ออกตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 มีความว่าในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้กำหนดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาที่จะจดทะเบียนได้ไม่เกิน 8,000 คันนั้น มีเจตนารมณ์ที่จะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารโดยให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกิน 8,000 คันจะรับจดทะเบียนเกินกว่านี้ไม่ได้ หาได้หมายความว่าถ้ายังจดทะเบียนไม่ครบจำนวนดังกล่าวแล้ว หากมีผู้มาขอจดทะเบียนอีกก็จะต้องรับจดทะเบียนให้จนครบจำนวนดังกล่าวไม่ เพราะอยู่ในดุลพินิจของนายทะเบียนที่จะเห็นสมควรตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้โดยสารผู้ใช้ถนนสัญจรไปมา และความสะดวกในการจราจร คณะกรรมการพิจารณาปัญหารถผิดกฎหมายและการประกอบการรถยนต์รับจ้างของ กระทรวงมหาดไทย เคยมีมติว่า ไม่ควรเพิ่มโควต้าป้ายทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีที่จะให้จำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครค่อย ๆ ลดลงไปตามลักษณะและการสิ้นสภาพของรถ ทั้งหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 27(พ.ศ. 2530) โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 5(12) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ข้อ 2 ให้งดรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อในเขตกรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นนโยบายของรัฐบาลว่านอกจากจะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครแล้วยังต้องการให้ลดจำนวนลงไปตามลักษณะการสิ้นสภาพของรถด้วยดังนั้น การที่จำเลยใช้ดุลพินิจไม่รับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาให้โจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบเพื่อสนองนโยบายของ รัฐบาล ถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 28(พ.ศ. 2504) ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.