คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระชัย สูตรสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดจำนวนรถสามล้อรับจ้างและการใช้ดุลพินิจของนายทะเบียนตามกฎกระทรวงและนโยบายรัฐ
กฎกระทรวงฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2504) ข้อ 4 ที่ออกตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 มีความว่าในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้กำหนดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาที่จะจดทะเบียนได้ไม่เกิน 8,000 คันนั้น มีเจตนารมณ์ที่จะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารโดยให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกิน 8,000 คันจะรับจดทะเบียนเกินกว่านี้ไม่ได้ หาได้หมายความว่าถ้ายังจดทะเบียนไม่ครบจำนวนดังกล่าวแล้ว หากมีผู้มาขอจดทะเบียนอีกก็จะต้องรับจดทะเบียนให้จนครบจำนวนดังกล่าวไม่ เพราะอยู่ในดุลพินิจของนายทะเบียนที่จะเห็นสมควรตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้โดยสารผู้ใช้ถนนสัญจรไปมา และความสะดวกในการจราจร
คณะกรรมการพิจารณาปัญหารถผิดกฎหมายและการประกอบการรถยนต์รับจ้างของ กระทรวงมหาดไทย เคยมีมติว่า ไม่ควรเพิ่มโควต้าป้ายทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีที่จะให้จำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครค่อย ๆ ลดลงไปตามลักษณะและการสิ้นสภาพของรถ ทั้งหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2530) โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 5 (12) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ข้อ 2 ให้งดรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อในเขตกรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นนโยบายของรัฐบาลว่านอกจากจะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครแล้วยังต้องการให้ลดจำนวนลงไปตามลักษณะการสิ้นสภาพของรถด้วยดังนั้น การที่จำเลยใช้ดุลพินิจไม่รับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาให้โจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบเพื่อสนองนโยบายของ รัฐบาล ถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2504) ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3135/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: ผู้ให้บริการเป็นผู้ค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) อายุความ 2 ปี
โจทก์วางระเบียบให้ประชาชนผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์ของโจทก์สามารถใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศโดยเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการตามอัตราที่กำหนดทุกครั้ง เป็นการให้บริการประจำเป็นปกติธุระ ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศจึงเป็นสินจ้างที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยผู้ใช้บริการแม้โจทก์จะเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการสื่อสารพ.ศ. 2519 ก็ตาม ก็ถือว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) จึงมีอายุความสองปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้รายละเอียดการซื้อขายไม่ตรงกับที่กล่าวอ้างในคำร้อง
ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจาก ช.แต่นำสืบว่า จ. มารดาผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจาก ช. แล้วผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทต่อจาก จ. อีกทีหนึ่ง เป็นการนำสืบถึงที่มาของที่ดินพิพาทและการได้ที่ดินพิพาทมา ไม่ถือว่าทางนำสืบต่างกับคำร้องถึงขนาดเป็นเหตุให้รับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การนำสืบที่มาของที่ดินจะแตกต่างจากคำร้องเดิม
ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจาก ช. แต่นำสืบว่า จ. มารดาผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจาก ช. แล้ว ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทต่อจาก จ. อีกทีหนึ่ง เป็นการนำสืบถึงที่มาของที่ดินพิพาทและการได้ที่ดินพิพาทมา ไม่ถือว่าทางนำสืบต่างกับคำร้องถึงขนาดเป็นเหตุให้รับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้รายละเอียดการซื้อขายจะแตกต่างจากที่กล่าวอ้าง
ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจาก ช. แต่นำสืบว่า จ. มารดาผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจาก ช. แล้ว ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทต่อจาก จ. อีกทีหนึ่ง เป็นการนำสืบถึงที่มาของที่ดินพิพาทและการได้ที่ดินพิพาทมา ไม่ถือว่าทางนำสืบต่างกับคำร้องถึงขนาดเป็นเหตุให้รับฟังไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกที่ดินส่วนที่ขาดจากบันทึกข้อตกลง ไม่ใช่เรื่องชำรุดบกพร่องตามสัญญาซื้อขาย จึงใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินส่วนที่ขาดจากจำเลยตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน หาได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในทรัพย์ที่ส่งมอบตามสัญญาซื้อขายซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 474 ไม่ และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกที่ดินส่วนขาดจากบันทึกข้อตกลง ไม่ใช่ความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินส่วนที่ขาดจากจำเลยตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน หาได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในทรัพย์ที่ส่งมอบตามสัญญาซื้อขายซึ่งมีอายุความ 1 ปีนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ไม่ และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการแบ่งแยก: อายุความฟ้องเรียกร้องตามบันทึกข้อตกลง
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินส่วนที่ขาดจากจำเลยตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน หาได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในทรัพย์ที่ส่งมอบตามสัญญาซื้อขายซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 474 ไม่ และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันเมื่อผู้ขายไม่จัดเตรียมสาธารณูปโภคตามสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาหรือลดราคา
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุชัดว่า คู่สัญญาตกลงเช่าซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีน้ำ ไฟฟ้า ถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำพร้อม ในราคาตารางวาละ 1,100 บาท ราคาที่ดินซึ่งไม่มีสาธารณูปโภคดังกล่าวตารางวาละประมาณ 400-500 บาทเท่านั้น แสดงว่าที่ตกลงเช่าซื้อกันเกินเลยไปกว่าราคาแท้จริงตารางวาละ 600-700 บาทก็เพราะคู่สัญญาถือเอาการสาธารณูปโภคดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาที่จำเลยจะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จทันโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อเสร็จด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว แต่จำเลยยังไม่ดำเนินการในเรื่องสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ดินมีสาระสำคัญเรื่องสาธารณูปโภค หากจำเลยไม่จัดให้ถือเป็นผิดสัญญา
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุชัดว่า คู่สัญญาตกลงเช่าซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีน้ำ ไฟฟ้า ถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำพร้อม ในราคาตารางวาละ 1,100 บาท ราคาที่ดินซึ่งไม่มีสาธารณูปโภคดังกล่าวตารางวาละประมาณ 400-500 บาทเท่านั้น แสดงว่าที่ตกลงเช่าซื้อกันเกินเลยไปกว่าราคาแท้จริงตารางวาละ 600-700 บาทก็เพราะคู่สัญญาถือเอาการสาธารณูปโภคดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาที่จำเลยจะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จทันโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อเสร็จด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว แต่จำเลยยังไม่ดำเนินการในเรื่องสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา.
of 50