คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระชัย สูตรสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาหลังจำเลยเสียชีวิต และผลกระทบต่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา การพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46เมื่อจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามมาตรา 39(1) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 4 จากสารบบความแล้ว ศาลจะพิพากษาส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไม่ได้ การเรียกผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4 เฉพาะคดีส่วนแพ่งก็ไม่อาจนำข้อเท็จจริงในคำพิพากษาส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยอื่นมาฟังในคดีส่วนแพ่งของจำเลยที่ 4 ได้ การเรียกผู้จัดการมรดกของ จำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4 จึงไม่เป็นการสะดวก แก่การพิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นไม่เรียกทายาทจำเลยที่ 4 เข้ามา ในคดีจึงชอบแล้ว ส่วนที่โจทก์ขอให้สั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เป็นคดีใหม่นั้น เป็น เรื่องที่โจทก์ต้องไปร้องขอต่อศาลชั้นต้น จะขอขึ้นมา ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญาเมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาการพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อจำเลยที่ 4ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 4 จากสารบบความแล้วศาลจะพิพากษาส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไม่ได้ การเรียกผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4เฉพาะคดีส่วนแพ่งก็ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงในคำพิพากษาส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยอื่นมาฟังในคดีส่วนแพ่งของจำเลยที่ 4 ได้การเรียกผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4 จึงไม่เป็นการสะดวกแก่การพิจารณา ศาลย่อม ไม่อนุญาตให้เรียกผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4021/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเร่งรัดหนี้สินและการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
ห้างฯ ศ. ฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คจนศาลออกหมายจับโจทก์ หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองกับพวกไปพบโจทก์แจ้งว่ามีหมายจับโจทก์ หากโจทก์ไม่ชำระหนี้ ก็จะจับโจทก์ตามหมายจับ เมื่อโจทก์นำทรัพย์สินมามอบให้จำเลยหรือนำเงินมาชำระ จำเลยก็ทำหลักฐานให้โจทก์ไว้ทุกครั้งพฤติการณ์เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองไปติดตามเร่งรัดหนี้สินจากโจทก์ตามที่บริษัทของจำเลยได้รับมอบหมาย การที่จำเลยทั้งสองกับพวกพูดขู่โจทก์ว่า หากไม่ชำระหนี้หรือไม่ไปตกลงเรื่องหนี้สินจะจับโจทก์ตามหมายจับ เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อ: การผ่อนผันการชำระหนี้และการเลิกสัญญาโดยปริยาย
สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลารวม 36 งวด ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 1 ถึงที่ 10 ล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาตลอดมา แต่โจทก์ก็ยอมรับชำระโดยมิได้ทักท้วง แสดงว่าในทางปฏิบัติโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญต่อไป ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 11 จะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไปตามสัญญาไม่ได้ กรณีเช่นนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาที่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ชำระโจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ อย่างไรก็ตามการที่โจทก์ยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดต่อมา และจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมให้ยึดโดยไม่โต้แย้ง เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์พิพาทคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กรณีผู้เช่าใช้พื้นที่ผิดสัญญาและมีพฤติการณ์ผิดศีลธรรม ผู้ให้เช่าไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
การที่โจทก์เช่าพื้นที่ในโรงแรมของจำเลยที่ 1 เปิดกิจการร้านเสริมสวยและตัดผม แต่ได้เปิดกิจการอาบ อบ นวด ขึ้น นอกเหนือข้อตกลงในสัญญาและโจทก์มีพฤติการณ์รู้เห็นยินยอมให้พนักงานนวดของโจทก์ค้าประเวณีกับแขกที่มาพักโรงแรม เป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติหรือการดังกำหนดไว้ในสัญญาเช่า เมื่อจำเลยบอกกล่าวแล้วโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตาม จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 554
เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว สัญญาเช่าจึงเป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ในสถานที่เช่าอีกต่อไป การที่จำเลยไม่จ่ายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปาให้โจทก์ แล้วต่อมาจำเลยได้ใส่กุญแจไม่ให้โจทก์เข้าไปใช้สถานที่เช่าเป็นการกระทำภายหลังสัญญาเช่าได้สิ้นสุดลงโดยได้กำหนดเวลาให้โจทก์พอสมควรแล้ว จึงไม่เป็นการละเมิด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ขาดรายได้จากกิจการของโจทก์และค่าชดเชยที่จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์นับแต่วันที่สัญญาเช่าได้สิ้นสุดลง
ที่โจทก์ฎีกาขอให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 นั้น ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 127,400 บาทพร้อมดอกเบี้ย โจทก์อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องแย้ง แต่โจทก์ไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมฟ้องแย้งในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัย ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดรายได้แก่จำเลยที่ 1 เดือนละ 19,600 บาท ถึงวันฟ้องแย้งเป็นเวลา 6 เดือน 15 วันเป็นเงิน 127,400 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และค่าขาดรายได้เดือนละ 19,600 บาท นับแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2529 จนกว่าจะชำระเสร็จ นั้นไม่ถูกต้อง เพราะจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ใช้ค่าขาดรายได้นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2528 ถึงวันฟ้องแย้ง คือ วันที่ 13 มิถุนายน 2529 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 6 เดือน 13 วัน ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขอคิดดอกเบี้ย และจำเลยที่ 1ขอเรียกค่าขาดรายได้นับแต่วันฟ้องแย้งถึงวันที่โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกจากสถานที่เช่าเท่านั้น มิได้ขอถึงวันชำระเสร็จ จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษานอกเหนือไปจากฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากกิจการนอกเหนือข้อตกลงและฝ่าฝืนศีลธรรม
โจทก์เช่าพื้นที่ในโรงแรมของจำเลยที่ 1 เปิดกิจการร้านเสริมสวยและตัดผม แต่ได้เปิดกิจการอาบ อบ นวด ขึ้นนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาและโจทก์รู้เห็นยินยอมให้พนักงานนวดของโจทก์ค้าประเวณีกับแขกที่มาพักโรงแรม เป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติหรือการดังกำหนดไว้ในสัญญาเช่า เมื่อจำเลยบอกกล่าวแล้วโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตาม จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 554 เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว สัญญาเช่าจึงเป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ในสถานที่เช่าอีกต่อไป การที่จำเลยไม่จ่ายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปาให้โจทก์และต่อมาจำเลยได้ใส่กุญแจไม่ให้โจทก์เข้าไปใช้สถานที่เช่าเป็นการกระทำภายหลังสัญญาเช่าได้สิ้นสุดลงโดยได้กำหนดเวลาให้โจทก์พอสมควรแล้ว จึงไม่เป็นการละเมิด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ขาดรายได้จากกิจการของโจทก์และค่าชดเชยที่จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์นับแต่วันที่สัญญาเช่าได้สิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3870/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ครูเวรไม่ต้องรับผิดเพลิงไหม้โรงเรียน หากความเสียหายเกิดจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงและไม่ใช่ผลโดยตรงจากการประมาท
คืนเกิดเหตุจำเลยเป็นครูเวรของโรงเรียนแล้วมีนักเรียนลอบเข้าไปจุดเทียนไขอ่านหนังสือในห้องสมุดของโรงเรียน จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรียนซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ในขณะที่จำเลยไม่ได้อยู่เฝ้าที่โรงเรียนนั้น กรณีเห็นได้ชัดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่จำเลยไม่อาจคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าจะเกิดขึ้นได้เลย ความเสียหายของโจทก์จึงหาใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3694/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการ-ผลผูกพันสัญญา: แม้ไม่มีตราบริษัท แต่ผลงานรับไปแล้วถือเป็นตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างต่อเติมตึกแถวตามฟ้องโดยแนบเอกสาร การว่าจ้างมีลายมือชื่อผู้สั่งจ้างมาท้ายฟ้อง ดังนั้นกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งมีอำนาจว่าจ้างโจทก์แทนจำเลยจะเป็นใครก็ต้องเป็นไปตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนซึ่งอาจจะมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้เป็นกรรมการภายหลังได้ จึงเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่า ในขณะจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ผู้ใดเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าบริษัทจำเลยมี ป. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทน จำเลยไม่เคยตกลงว่าจ้างโจทก์ต่อเติมตึกแถวตามฟ้องเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ท.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ต่อเติมตึกแถวของจำเลย ท.ได้ลงชื่อสั่งจ้างในเอกสารหมาย จ.7โดยมีวงเล็บชื่อของบริษัทจำเลยไว้ใต้ลายมือชื่อของตน แม้จะลงชื่อโดยมิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ซึ่งอาจไม่สมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลย แต่จำเลยได้รับเอาผลงานที่โจทก์ได้ทำตามสัญญาดังกล่าวทั้งหมดและได้ขายตึกแถวไปแล้ว ถือได้ว่า ท. ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย มิใช่ ท.ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เป็นส่วนตัว สัญญาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นตัวการ แม้ ท. จะออกเช็คส่วนตัวชำระค่าก่อสร้างบางส่วนแก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องของ ท. กับจำเลยไม่เกี่ยวกับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก สัญญาว่าจ้างต่อเติมตึกแถวเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้นในขณะฟ้องคดีโจทก์จึงไม่จำเป็นต้องอ้างอิงเอกสารแสดงการว่าจ้างเป็นหลักฐานแห่งคำฟ้อง เมื่อเอกสารนี้ได้มีการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว ก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3689/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เนื่องจากไม่ได้บรรยายรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน
โจทก์มิได้บรรยายว่า ข้อหาที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาอันเป็นเท็จนั้นเป็นความผิดอาญาข้อหาหรือฐานความผิดใด ทั้งคำบรรยายฟ้องในส่วนที่โจทก์คัดมาจากคำฟ้องในคดีอาญาที่จำเลยฟ้องโจทก์ก็ไม่มีข้อความใดที่จำเลยระบุว่า การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำความผิดอาญาซึ่งเป็นสาระสำคัญของฟ้องในข้อหาฟ้องเท็จที่จะต้องกล่าวถึง ส่วนข้อหาเบิกความและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้น เมื่อไม่บรรยายว่าจำเลยทั้งสองเบิกความและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีในข้อหาหรือฐานความผิดใด ย่อมไม่อาจทราบได้ว่าข้อความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไรประเด็นสำคัญของคดีมีว่าอย่างไร ฟ้องของโจทก์ทั้งสามข้อหาจึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี แม้โจทก์ได้บรรยายเลขสำนวนคดีที่อ้างว่าจำเลยฟ้องเท็จและเบิกความและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จมาในฟ้องก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่ปรากฏในสำนวนคดีหาใช่ส่วนหนึ่งของคำฟ้องของโจทก์ไม่ จะนำมาประกอบคำฟ้องของโจทก์คดีนี้ให้สมบูรณ์มิได้ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสลากรางวัลสูญหาย: สิทธิเรียกร้องเงินรางวัล, การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ, และน้ำหนักพยานหลักฐาน
สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์คือโจทก์เป็นเจ้าของสลากกินแบ่งซึ่งถูกรางวัลแล้วสลากกินแบ่งดังกล่าวสูญหายไป โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในคำฟ้องว่าโจทก์ได้ซื้อสลากกินแบ่งดังกล่าวมาจากผู้ใด เมื่อใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา อีกทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสลากกินแบ่งซึ่งถูกรางวัลมาแสดง สำเนาภาพถ่ายสลากกินแบ่งที่ถูกรางวัลซึ่งแนบมาท้ายฟ้องเป็นภาพถ่ายจากสลากปลอมดังนี้ จำเลยมิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
of 50