คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระชัย สูตรสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อสกุลในชื่อห้าง ทำให้หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดเสมือนหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
คำว่า"ชื่อ" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081 และ1082 ย่อมหมายถึง ชื่อสกุลด้วย เมื่อจำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดยอมให้ใช้ชื่อสกุลของตนระคนเป็นชื่อห้าง จำเลยที่ 4 ที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่า เปลี่ยนเป็นเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ – ข้อเท็จจริงในฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายหลายนัดโดยเจตนาฆ่า ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,80 มิได้บรรยายในข้อเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป ไม่ทราบว่าใครยิงผู้เสียหาย ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 299 ไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบอกล้างโมฆียะกรรม: ทายาทมีสิทธิหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น
คำว่า "ทายาทของบุคคลเช่นว่านั้น" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 อันจะมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมซึ่งผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตได้กระทำลง จะมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวถึงแก่ความตายไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่และได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆียะ ผู้สืบสันดานของบุคคลเช่นว่านั้นจึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะได้ และไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม: ทายาทต้องรอการตายของผู้ทำนิติกรรมวิกลจริต จึงจะมีสิทธิ
สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมของทายาทของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 137นั้น จะมีได้ต่อเมื่อผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ได้แสดงเจตนาโดยวิปริตได้ถึงแก่ความตายลงโดยมิได้มีการบอกล้างโมฆียะกรรมก่อนถึงแก่ความตาย ฉะนั้นเมื่อบิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่แม้จะทำนิติกรรมขณะวิกลจริต โจทก์ก็เป็นเพียงผู้สืบสันดานเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ทายาทอันจะมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบอกล้างโมฆียกรรมของทายาท: ต้องรอการเสียชีวิตของเจ้าของนิติกรรม
คำว่า "ทายาทของบุคคลเช่นว่านั้น" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 อันจะมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมซึ่งผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตได้กระทำลง จะมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวถึงแก่ความตายไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่และได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆียะ ผู้สืบสันดานของบุคคลเช่นว่านั้นจึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะได้ และไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างโมฆียกรรมของทายาท: ต้องรอจนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก่อน
คำว่า "ทายาทของบุคคลเช่นว่านั้น" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 อันจะมีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรมซึ่งผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตได้กระทำลง จะมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวถึงแก่ความตายไปแล้วดังนั้น เมื่อบุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่และได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆียะ ผู้สืบสันดานของบุคคลเช่นว่านั้นจึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะได้ และไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างสมณเพศตกเป็นของวัดเมื่อพระภิกษุถึงแก่มรณภาพ
บิดามารดายกที่นาให้แก่พระภิกษุ ข. ภายหลังที่พระภิกษุข.บวชเป็นพระภิกษุ การที่พระภิกษุข.ขายที่นาแปลงดังกล่าวและนำเงินที่ขายได้ไปฝากธนาคาร เงินที่นำไปฝากธนาคารรวมทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ เมื่อพระภิกษุข.ถึงแก่มรณภาพ เงินฝากดังกล่าวย่อมตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุข.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างสมณเพศเมื่อมรณภาพตกเป็นของวัด
บิดามารดายกที่นาให้แก่พระภิกษุ ข. ภายหลังที่พระภิกษุ ข.บวชเป็นพระภิกษุเมื่อพระภิกษุ ข. ขายที่นาแปลงดังกล่าวและนำเงินที่ขายได้ไปฝากธนาคาร เงินที่นำไปฝากธนาคารรวมทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศเมื่อพระภิกษุ ข. ถึงแก่มรณภาพเงินฝากดังกล่าวย่อมตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ ข..(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาเกินกำหนด: หน้าที่ติดตามคำสั่งศาลและผลกระทบต่อการรับฟ้อง
วันที่ 27 กรกฎาคม 2530 ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2530 ว่า อนุญาตให้ขยายได้ 7 วัน นับแต่วันสุดท้ายดังนี้ แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบคำสั่ง แต่ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องขวนขวายติดตามทราบคำสั่งศาลว่าอนุญาตให้ขยายเวลาหรือไม่เพียงใดก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา โจทก์กลับเพิกเฉย เพิ่งนำฎีกามายื่นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2530 และไม่ใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย เป็นการยื่นเลยกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาการยื่นฎีกา: หน้าที่ติดตามคำสั่งศาลและการยื่นเกินกำหนด
วันที่ 27 กรกฎาคม 2530 ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่28 กรกฎาคม 2530 ว่า อนุญาตให้ขยายได้ 7 วัน นับแต่วันสุดท้ายดังนี้ แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบคำสั่ง แต่ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องขวนขวายติดตามทราบคำสั่งศาลว่าอนุญาตให้ขยายเวลาหรือไม่เพียงใดก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา โจทก์กลับเพิกเฉย เพิ่งนำฎีกามายื่นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2530 และไม่ใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย เป็นการยื่นเลยกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาให้.
of 50