พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานขัดแย้ง-รับสารภาพไม่สมัครใจ ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาจ้างวานฆ่า-มีอาวุธปืน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนของจำเลยที่ 2ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุกกระทงละ 1 ปีจึงห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก พยานหลักฐานโจทก์มีข้อแตกต่างขัดแย้งกันหลายประการและเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน อีกทั้งยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจ จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานจ้าง วานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนได้ และเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานจ้าง วาน ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนของจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา185 วรรคแรก เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: คำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฎีกาจำเลยว่า พิเคราะห์แล้ว เห็นควรให้ศาลฎีกาวินิจฉัย จึงรับรองให้ฎีกาได้ รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์แก้ คำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด และอนุญาตให้ฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 221
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจต่อสู้คดีของลูกหนี้หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 ได้กล่าวไว้ชัดแจ้งว่า เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือการกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 3จึงไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาด เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว แม้จำเลยที่ 3จะได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ก็จะดำเนินคดีเองต่อไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจต่อสู้คดีของลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจตามมาตรา 22 และมาตรา 24 แห่งพ.ร.บ. ล้มละลายฯ ที่จะจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ ดังนั้น เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยจึงหามีอำนาจต่อสู้คดีหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี ฉะนั้น เมื่อการร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้ามาดำเนินคดีแทน จำเลยก็ไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2900/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกที่ศาลล่างคำนวณผิดพลาด แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้เพื่อความเป็นธรรม
ศาลล่างทั้งสองลดโทษให้จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 53 หนึ่งในสาม จากจำคุกตลอดชีวิตเหลือจำคุก 34 ปี 8 เดือนคลาดเคลื่อนไป ที่ถูกต้องเหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน การลดโทษคลาดเคลื่อนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโทษมากขึ้น เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็พิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การระบุลักษณะสัญญาที่ถูกต้อง และประเด็นการผิดสัญญาที่ศาลไม่รับวินิจฉัย
เมื่อสาระสำคัญของสัญญาได้ระบุกำหนดราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันเป็นเงิน 30,000 บาท ตกลงกันว่าโจทก์ผู้ซื้อจะชำระราคาเป็นงวดรายเดือนรวม 60 เดือน และระบุว่าเมื่อโจทก์ชำระราคางวดสุดท้ายเสร็จ จำเลยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์ทันทีจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 459ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อที่ดินเพราะสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่า จำเลยเอาที่ดินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายที่ดินนั้น หรือจะให้ที่ดินตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ โดยเงื่อนไขที่โจทก์ได้ใช้เป็นเงินจำนวนเท่านั้นคราวเท่านี้คราว ประเด็นที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ และศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ประเด็นดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ข้อแตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อ และการโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์จำเลย ใช้ชื่อสัญญาว่าจะซื้อขายที่ดิน มีข้อสัญญาว่า จำเลยผู้ขายตกลงแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่...ขายให้แก่โจทก์ผู้ซื้อเนื้อที่ 1 งาน ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ดินจากผู้ขายโดยผ่อนชำระเงินให้เสร็จสิ้นภายใน 60 เดือน เดือนละ 500 บาทนับแต่เดือน...รวมเป็นเงิน 30,000 บาท ผู้ซื้อมีสิทธิทำประโยชน์ทันทีที่ชำระเงินงวดแรก ผู้ขายจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ผู้ซื้อทันทีที่ชำระเงินงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นโดยไม่ชักช้า สาระสำคัญของสัญญาดังกล่าวได้ระบุราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกัน โจทก์ผู้ซื้อจะชำระราคาเป็นงวดรายเดือน และระบุว่าเมื่อโจทก์ชำระราคางวดสุดท้ายเสร็จจำเลยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์ทันทีจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนไขหรือข้อสัญญาที่โจทก์จะต้องปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไข ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เสียก่อน จำเลยจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ สัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยเอาที่ดินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายที่ดินนั้นหรือจะให้ที่ดินนั้นตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ โดยเงื่อนไขที่โจทก์ได้ใช้เป็นเงินจำนวนเท่านั้นคราวเท่านี้คราว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา572 และไม่มีข้อตกลงที่แสดงว่าโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ด้วยการไม่ชำระราคาต่อไปโดยส่งมอบที่ดินคืนแก่จำเลย และถ้าหากโจทก์ผิดนัดไม่ชำระราคา 2 งวด ติดต่อกันจำเลยบอกเลิกสัญญาได้และริบเงินที่ได้ใช้มาแล้วได้ด้วย อันเป็นวิธีการของสัญญาเช่าซื้อตามมาตรา 573,574 ดังนั้น ข้อความในสัญญาจึงไม่อาจแปลได้ว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อที่ดิน แม้จำเลยจะออกใบเสร็จรับเงินราคาที่ดินที่โจทก์ผ่อนชำระรายเดือนว่าค่าเช่าซื้อที่ดินให้โจทก์ก็เป็นการกระทำของจำเลยฝ่ายเดียว ไม่อาจทำให้เป็นสัญญาเช่าซื้อที่ดินไปได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808-2812/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 1ได้รับคำร้อง ของ โจทก์ทั้งห้าไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 แจ้งแก่ น.ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ทั้งห้าว่า ยังไม่สามารถออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งห้าได้ เนื่องจากจะต้องส่งเรื่องไปให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณาก่อนได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป ดังนี้ แสดงว่า จำเลยที่ 2ได้ปฏิบัติตามหน้าที่โดยถูกต้องแล้ว แต่ยังไม่อาจดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งห้าในทันทีได้ ก็เพราะกำลังรอการพิจารณาสั่งการจากทางราชการตามสายงานการบังคับบัญชาก่อนดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งห้าก็ปรากฏแล้วว่า จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกแทนทายาทโดยธรรมและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน ศาลยกฟ้องคดีขับไล่
เมื่อมารดาโจทก์จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินและบ้านพิพาทจากเจ้ามรดกโดยใส่ชื่อมารดาโจทก์คนเดียวนั้นเป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทโดยธรรมทุกคนรวมทั้งจำเลยที่ 2 ด้วย ที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมิได้มีการแบ่งปันกันระหว่างทายาทโดยธรรม มารดาโจทก์ไม่มีสิทธิจดทะเบียนยกที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนมรดกที่ตกได้แก่ทายาทอื่นให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของมารดาโจทก์ที่รับมรดกมาในฐานะทายาทโดยธรรม จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดถือครอบครองโดยอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทได้ ส่วนจำเลยที่ 1สามีจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นบริวารของจำเลยที่ 2ย่อมมีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาท เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นมรดกอยู่โจทก์และจำเลยที่ 2 รวมทั้งทายาทอื่นจึงเป็นเจ้าของรวม ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมประทานบัตร, อายุความ, การเพิกถอนประทานบัตร: สิทธิเรียกร้องค่าธรรมเนียมยังไม่ขาดอายุความ แม้มีการเพิกถอนประทานบัตร
จำเลยได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่แล้วไม่ว่าจำเลยจะใช้เนื้อที่ที่ระบุในประทานบัตรทำเหมืองแร่หรือไม่ จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ในการทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรนั้นเป็นรายปีแก่โจทก์เพราะพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55บังคับให้ต้องชำระค่าธรรมเนียมล่วงหน้าเป็นรายปี กฎกระทรวงฉบับที่ 45(พ.ศ.2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ข้อ 2 ได้กำหนดค่าธรรมเนียมตามบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมไว้ และกฎกระทรวงนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกโดย อาศัยอำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมมีผลใช้บังคับแก่ประทานบัตรของจำเลยด้วย จำเลยจะอ้างว่าไม่ได้ตกลงด้วยในการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าธรรมเนียมตามอัตราใหม่ได้ ค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ในการทำเหมืองตามประทานบัตรเป็นหนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มิได้กำหนดให้ผู้ออกประทานบัตรเมื่อเพิกถอนประทานบัตรจะต้องสงวนสิทธิเรียกร้องเอาค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระไว้จึงจะฟ้องบังคับได้ การที่โจทก์สั่งเพิกถอนประทานบัตรของจำเลยจึงไม่ทำให้หนี้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ต้องระงับไปแม้ไม่สงวนสิทธิไว้โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ ค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ในการทำเหมืองแร่ ต้องชำระล่วงหน้าเป็นรายปี เมื่อโจทก์กำหนดเอาวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปีจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวของปี 2525ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2524 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28พฤศจิกายน 2529 จึงยังไม่เกินกำหนดอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166