คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระชัย สูตรสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่สาธารณประโยชน์: โจทก์มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนได้แม้ไม่มีโฉนด หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายสภาพเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล เนื้อที่ 4.4 ตารางวา ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว โจทก์ไม่ต้องแสดงโฉนดหรือหลักฐานแห่งที่ดินว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อย่างไรเพราะการเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่ เป็นไปตามสภาพของที่ดินและโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องว่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ทั้งหมดมีเนื้อที่เท่าใด จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินแต่เมื่อใด มีเขตกว้างยาวเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่คู่ความอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ลำรางซึ่งมีมานาน เดิมมีสภาพเป็นคลองระบายน้ำจากภูเขาลงสู่คลองซึ่งอยู่ในเขตเทศบาล ไม่มีเอกชนผู้ใดขุดขึ้นใช้ประโยชน์ส่วนตัว เป็นลำรางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะตื้นเขินขึ้นตามธรรมชาติหรือมีผู้ถมดินรุกล้ำเข้ามาไม่มีสภาพเป็นทางระบายน้ำต่อไป และไม่มีราษฎรใช้ประโยชน์ก็ตาม เมื่อทางราชการยังมิได้พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 8ประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินนั้นก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม ที่งอกริมตลิ่ง หมายถึงที่ดินที่งอกไปจากตลิ่งตามธรรมชาติซึ่งเกิดจากที่สายน้ำพัดพาที่ดินจากที่อื่นมาทับถมกันริมตลิ่งจนเกิดที่งอกขึ้น มิใช่งอกจากที่อื่นเข้ามาหาตลิ่ง เทศบาลโจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตเทศบาลตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายสภาพเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาลได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์ การรุกล้ำลำรางสาธารณะ และอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในการดูแลรักษา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเลขที่ 54/8 รุกล้ำเข้าไปในลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายสภาพเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล เนื้อที่ 4.4 ตารางวา ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์ไม่ต้องแสดงโฉนดหรือหลักฐานแห่งที่ดินว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อย่างไร เพราะการเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่เป็นไปตามสภาพของที่ดิน และโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ทั้งหมดมีเนื้อที่เท่าใดจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำตั้งแต่เมื่อใด มีเขตกว้างยาวเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่คู่ความอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ลำรางสาธารณประโยชน์สำหรับระบายน้ำจากภูเขาซึ่งมีมานานแล้วเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะไม่มีสภาพเป็นทางระบายน้ำต่อไปและไม่มีราษฎรใช้ประโยชน์เมื่อยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินนั้นยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม ที่งอกริมตลิ่ง หมายถึงที่ดินที่งอกไปจากตลิ่งตามธรรมชาติซึ่งเกิดจากการที่สายน้ำพัดพาดินจากที่อื่นมาทับถมกันริมตลิ่งจนเกิดที่งอกขึ้น มิใช่งอกจากที่อื่นเข้ามาหาตลิ่ง โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตเทศบาลตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ผู้เยาว์: ผู้แทนโดยชอบธรรมและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
คดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
โจทก์ทั้งสามยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตามประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 วรรคแรก ทั้งคดีไม่ปรากฏว่า อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่ฝ่ายเดียวดังเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 1566 วรรคสอง ต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสามได้ มารดาจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 1569 มีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามได้
ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรก่อนมารดานั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุน
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามมิใช่สินสมรสระหว่างสามีภริยา ส.ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์: การเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องมียินยอม
คดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจาก พยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา247 โจทก์ทั้งสามยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 วรรคแรก ทั้งคดีไม่ปรากฏว่าอำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่ฝ่ายเดียว ดังเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 1566 วรรคสอง ต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสามได้ มารดาจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 1569 มีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ ทั้งสามได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรก่อนมารดานั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งสามมิใช่สินสมรสระหว่างสามีภริยา ส. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเป็นคู่ความ: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี โดยคำนึงถึงระยะเวลาการพิจารณาคดี
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) นั้น ศาลไม่จำต้องอนุญาตทุกกรณีไป ต้องแล้วแต่เหตุสมควร ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาคดีไปจนกระทั่งสืบพยานจำเลยจะเสร็จสิ้นแล้ว หากผู้ร้องสอดมีสิทธิดังที่อ้างในคำร้อง ก็ย่อมยกสิทธิเช่นว่านั้นขึ้นอ้างยันผู้อื่นหรือมีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้องได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก กรณีของผู้ร้องสอดยังไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดี: ศาลมีอำนาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่ตามความเหมาะสมของคดี
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1)ศาลไม่จำต้องอนุญาตทุกกรณี คดีนี้ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาคดีไปจนกระทั่งสืบพยานจำเลยจะเสร็จสิ้นแล้ว และหากผู้ร้องสอดมีสิทธิดังที่อ้างในคำร้อง ก็ย่อมยกสิทธิเช่นว่านั้นขึ้นอ้างยันผู้อื่นหรือมีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้องได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก กรณีของผู้ร้องสอดยังไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามคำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเป็นคู่ความ: ศาลมีอำนาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่ตามความเหมาะสมของคดี
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ศาลไม่จำต้องอนุญาตทุกกรณีไป ต้องแล้วแต่ว่ามีเหตุสมควรที่จะอนุญาตหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันฆ่าโดยเจตนา แม้ไม่มีประจักษ์พยาน พยานหลักฐานอื่นประกอบเชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำผิด
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานมาสืบยืนยันว่า จำเลยที่ 3 ได้ ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย และคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน ของจำเลยที่ 1 ที่กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 3 ร่วมกระทำผิดด้วยเป็น คำบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย แต่โจทก์มีพยานหลักฐานอื่นประกอบให้เห็นว่า คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นความจริง และพยานหลักฐาน โจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 3 มีน้ำหนัก รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้ไม้ท่อนวิ่งไล่ตีผู้ตายเข้าไปในสวนยางจนผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 3 จึง มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษฐานยักยอกทรัพย์ แม้ฟ้องขอลงโทษฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลอุทธรณ์พิพากษาได้หากไม่ใช่ต่างกันในสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335,357 ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายตามมาตรา 352 วรรคสอง แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ถือว่าข้อแตกต่างดังกล่าวระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์ รับของโจร ยักยอกมิใช่ต่างกันในข้อสาระสำคัญไม่เกินคำขอ หรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกทรัพย์สินหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอและการฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งในคดีอาญา
ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ หรือรับของโจร ตาม ป.อ. มาตรา 225,357,83 ข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยยักยอกทรัพย์สินหาย ตามป.อ. มาตรา 352 วรรคสอง ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกทรัพย์สินหายได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์ รับของโจรยักยอก มิใช่ต่างกันในสาระสำคัญไม่เกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยฎีกาว่า ขอเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นส่วนหนึ่งของคำฎีกาของจำเลย เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบแต่ประการใด เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195.
of 50