คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระชัย สูตรสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืน: การวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางถือเป็นการวางต่อศาล
การวางทรัพย์ต่อศาลเป็นงานที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรมที่ไม่ใช่การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ข้อ 21แม้จะมี พ.ร.ฎ. ให้สำนักงานวางทรัพย์กลางเป็นส่วนราชการ ของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม การวางทรัพย์ก็ยังคงเป็นงาน ที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรมอยู่ ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการวางทรัพย์ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีฯ ข้อ 2 กำหนดว่า ลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกอาจวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ได้ในกรณี ต่อไปนี้...(5) กรณีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น (6) กรณีตามคำสั่ง ศาลภายใต้บทบัญญัติแห่ง กฎหมาย เช่นป.วิ.พ. มาตรา 264 ดังนั้น การวางเงินค่าทดแทนต่อศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคแรก ย่อมหมายถึงการวางเงินค่าทดแทนต่อสำนักงาน วางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์นำเงินค่าทดแทนที่โจทก์ไม่ยอมรับไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางดังกล่าวถือว่าเป็นการวางเงินค่าทดแทนต่อศาลโจทก์รับเงินแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่โจทก์เห็นว่า ควรจะได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนต่อศาล ดังนี้คดีจึงขาดอายุความตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทำขวัญ: การวางเงิน ณ สำนักงานวางทรัพย์กลางถือเป็นการวางต่อศาล
การวางเงินค่าทำขวัญต่อศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290ข้อ 24 วรรคแรก ย่อมหมายถึงการวางเงินค่าทำขวัญต่อ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เมื่อจำเลย ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กระทำในนามของ จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทำขวัญสำหรับที่ดินที่โจทก์ถูกเวนคืนที่โจทก์ ไม่ยอมรับไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี ย่อมถือว่า เป็นการวางเงินค่าทำขวัญต่อศาลแล้วดังนี้เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงิน ค่าทำขวัญที่โจทก์ควรจะได้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์วางเงินค่าทำขวัญต่อศาล คดีโจทก์ จึงขาดอายุความตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 24 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทำขวัญเวนคืน: การวางเงินต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางถือเป็นการวางต่อศาล
การวางเงินค่าทำขวัญต่อศาลอันเนื่องมาจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 24 วรรคแรกหมายถึงการวางเงินค่าทำขวัญต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ นำเงินค่าทำขวัญสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนที่โจทก์ไม่ยอมรับไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าทำขวัญต่อศาลแล้ว โจทก์ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปแล้ว และฟ้องเรียกเงินค่าทำขวัญส่วนที่โจทก์ควรจะได้เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2529พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์วางเงินค่าทำขวัญต่อศาล จึงขาดอายุความตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 24 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาที่ศาลแขวง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามจำนวนค่าปรับ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ผู้เดียวขับรถยนต์ โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการ รับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลย ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้าม อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ ปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญา: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมายศาลแขวงและศาลจังหวัด
การพิจารณาว่าจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22(4) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 มาตรา 3 บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ ในกรณีที่ถ้าจำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท ดังนั้น เมื่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และผลของการแก้ไขกฎหมาย
การอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ ศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าคดีใดจะอุทธรณ์ได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญา: ข้อจำกัดตามจำนวนค่าปรับที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ผู้เดียวขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของคู่สัญญาเช่าเมื่อสัญญาหมดอายุและไม่มีหลักฐานการต่อสัญญา ศาลพิจารณาการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาและการบอกเลิกสัญญา
โจทก์และโจทก์ร่วมถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีตึกแถวพิพาทปลูกอยู่ร่วมกัน และได้จดทะเบียนให้ ล. เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินตลอดชีวิตล.ทำหนังสือยินยอมให้โจทก์ใช้สิทธิเก็บกินแทน จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวกับโจทก์ เช่นนี้จำเลยจะโต้แย้งว่า ล.มีสิทธิเก็บกินในที่ดินและตึกแถวพิพาทมิได้ โจทก์ในฐานะคู่สัญญากับจำเลยย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยตามสัญญาเช่าได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมโจทก์ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวพิพาท กับจำเลยมีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี สัญญาครบกำหนดแล้ว โจทก์จำเลย ตกลงกันขึ้นค่าเช่าเป็นเดือนละ 6,000 บาท จำเลยไม่ชำระค่าเช่าให้ โจทก์โจทก์เสียหายเดือนละ 6,000 บาท เท่าค่าเช่า โจทก์ บอกกล่าวเลิก สัญญาเช่าแก่จำเลยแล้ว ขอให้ขับไล่จำเลยและบังคับ จำเลยใช้ค่าเสียหายดังนี้ไม่จำเป็นต้องบรรยายรายละเอียดว่า เหตุใดโจทก์เสียหายเดือนละ6,000 บาทอีก สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงเช่ากับโจทก์มีกำหนด 3 ปี และฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้จ่ายเงินค่าตอบแทนให้โจทก์เป็นเงิน 120,000บาท จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเรียกเงินคืนจากโจทก์ 70,000 บาทโดยอ้างว่าจำเลยเพิ่งเข้าอยู่ได้เพียง 1 ปี 3 เดือน และกำหนดเวลาเลิกยังขาดอยู่ 1 ปี 3 เดือนตามฟ้องแย้ง เมื่อตาม กฎหมายให้ถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนด เวลา และจำเลยนำสืบยอมรับว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป การที่จำเลยยังอยู่ ในตึกแถวพิพาทจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่าและการพิพากษาค่าเสียหาย: โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาเช่า และการบรรยายฟ้องค่าเสียหายชัดเจนเพียงพอ
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับโจทก์ โจทก์ในฐานะคู่สัญญากับจำเลยย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทมีกำหนด 3 ปี สัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันขึ้นค่าเช่าเป็นเดือนละ 6,000 บาท จำเลยไม่ชำระค่าเช่าให้โจทก์โจทก์เสียหายเดือนละ 6,000 บาทเท่าค่าเช่า โจทก์บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยแล้ว ขอให้ขับไล่และบังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นคำฟ้องที่บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดว่าเหตุใดโจทก์เสียหายเดือนละ6,000 บาทอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนของกลาง: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของและไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
การขอให้คืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบ แสดงให้ศาลเห็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย เมื่อผู้ร้องแถลงไม่สืบพยานจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด.
of 50