คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระชัย สูตรสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการละเมิด: การคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และอำนาจศาลในการวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์
เมื่อรถจักรดีเซลของโจทก์เสียหายเนื่องจากการทำละเมิดและต้องนำมาซ่อมในโรงงานของโจทก์ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงาน เช่น ค่าน้ำ ค่าเชื้อเพลิง ค่าเครื่องจักร เครื่องมือกลต่าง ๆ และค่าเสื่อมราคาโรงงาน ส่วนค่าควบคุมนั้นโจทก์ต้องใช้หัวหน้าหน่วยตลอดสายงานมาควบคุมดูแลการซ่อม จึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการทำละเมิด เพราะถ้าไม่มีการทำละเมิดเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายโจทก์ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานและค่าควบคุมดังกล่าว แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายแท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานและค่าควบคุมตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 43
การที่วันเกิดเหตุโจทก์ต้องจัดขบวนรถพิเศษจากสถานีรถไฟนครสวรรค์ไปยังที่เกิดเหตุเพื่อยกรถจักรที่ตกราง เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ต้องเสียค่า-ใช้จ่ายในการนี้แน่นอน จึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า โจทก์เสียหายไปเพียงใด ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์เช่นกัน
ศาลได้กำหนดให้จำเลยรับผิดในค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานของโจทก์ที่ไปทำการยกหัวรถจักรที่ตกรางให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าอาหารเลี้ยงพนักงานดังกล่าวจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการทำละเมิด: การประเมินค่าใช้จ่ายในการซ่อมและการควบคุมดูแลทรัพย์สินที่เสียหาย
เมื่อรถจักรดีเซลของโจทก์เสียหายเนื่องจากการทำละเมิดและต้องนำมาซ่อมในโรงงานของโจทก์ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงาน เช่น ค่าน้ำ ค่าเชื้อเพลิง ค่าเครื่องจักรเครื่องมือกลต่าง ๆ และค่าเสื่อมราคาโรงงาน ส่วนค่าควบคุมนั้นโจทก์ต้องใช้หัวหน้าหน่วยตลอดสายงานมาควบคุมดูแลการซ่อม จึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการทำละเมิด เพราะถ้าไม่มีการทำละเมิดเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย โจทก์ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานและค่าควบคุมดังกล่าว แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายแท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานและค่าควบคุมตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 การที่วันเกิดเหตุโจทก์ต้องจัดขบวนรถพิเศษจากสถานีรถไฟนครสวรรค์ไปยังที่เกิดเหตุเพื่อยกรถจักรที่ตกราง เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนี้แน่นอน จึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า โจทก์เสียหายไปเพียงใด ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์เช่นกัน ศาลได้กำหนดให้จำเลยรับผิดในค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานของโจทก์ที่ไปทำการยกหัวรถจักรที่ตกรางให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าอาหารเลี้ยงพนักงานดังกล่าวจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติไทยของผู้เกิดในไทยภายหลังมารดาถูกถอนสัญชาติ และการโต้แย้งสิทธิโดยเจ้าพนักงาน
ง. มารดาโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อพ.ศ. 2493 จึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2456 มาตรรา 3 (3)ต่อมา ง.ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 14 ธันวาคม 2515 แต่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยขณะเกิด ง.มารดายังคงมีสัญชาติไทยอยู่จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 10 ที่บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา7 (1) ที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับด้วย
โจทก์ที่ 4 และที่ 5 แม้เกิดในราชอาณาจักรไทยภายหลัง ง.มารดาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยกลายเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 แล้วก็ตาม แต่ ง.เกิดในราชอาณาจักรไทยมิใช่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 กรณีของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2 จึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508มาตรา 7 (3) เดิมก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมและไม่เสียสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ทวิ ที่แก้ไขใหม่เพราะโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีบิดาซี่งมิได้มีการสมรสกับมารดาเป็นคนสัญชาติไทย จึงไม่เข้ากรณีที่ต้องเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ยังคงมีสัญชาติไทย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับกิจการญวนอพยพ และเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยได้ขอสูติบัตรของโจทก์คืน โดยอ้างว่าเป็นคนญวนอพยพและได้จัดทำทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยเพิ่มเติมชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ ทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย และสูติบัตรกับสำเนาทะเบียนบ้านก็ระบุสัญชาติของโจทก์ว่าสัญชาติไทย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน การฉ้อฉลเจ้าหนี้ และสิทธิในการเพิกถอนการซื้อขาย
การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อใช้หนี้จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่แล้วว่าจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 อยู่เสียเปรียบ ส่วนจำเลยที่ 2 แม้จะอ้างว่ารับโอนที่ดินพิพาทมาโดยเปิดเผยและสุจริต ไม่ทราบเรื่องหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ แต่การที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ภายหลังจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องสามีจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ จำเลยที่ 2 ก็รับโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไปโดยขณะทำการโอนนั้นเจ้าพนักงานที่ดินได้แจ้งเรื่องที่โจทก์ขออายัดที่ดินพิพาทให้ทราบแล้ว จำเลยที่ 2ยังยืนยันให้โอนแก่บุคคลภายนอก แสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้ถึงข้อความจริงขณะรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ถือว่าเป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมัครใจวิวาท ไม่ถือเป็นการละเมิด ผู้ฟ้องไม่มีอำนาจเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์กับจำเลยสมัครใจวิวาททำร้ายกัน เป็นการยอมรับ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นแต่ตนเอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิด ต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าช่วงและบริวารในสัญญาเช่า เมื่อสัญญาเช่าเดิมสิ้นสุดลง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เช่าที่ดินและตึกแถวจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ยอมออกจากตึกแถวพิพาท จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ให้โจทก์ส่วนจำเลยที่ 3เป็นเพียงคู่สัญญาเช่าช่วงกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2ไม่มีสิทธิให้เช่าช่วง จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในตึกแถวพิพาท และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์แต่เป็นเพียงบริวารของผู้เช่า จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วงที่มิชอบ การผิดสัญญาเช่า และความรับผิดในค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้โจทก์และโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ยอมออกจากตึกแถวที่เช่าจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เท่ากับค่าเช่าเดือนละ 16,000 บาท จนกว่าจะออกจากตึกแถวแต่จำเลยที่ 3 เป็นคู่สัญญาเช่าช่วงกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิให้เช่าช่วง จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในตึกแถวตามสัญญาเช่าช่วง เมื่อค่าเสียหายดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาเช่ากับโจทก์ จำเลยที่ 3 มิได้เป็นสัญญาเช่ากับโจทก์แต่เป็นเพียงบริวารของผู้เช่า จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่า, การเช่าช่วงที่มิชอบ, ความรับผิดของผู้เช่าช่วง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เช่าที่ดินและตึกแถวจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ยอมออกจากตึกแถวพิพาท จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ให้โจทก์ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงคู่สัญญาเช่าช่วงกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิให้เช่าช่วง จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในตึกแถวพิพาท และจำเลยที่ 3มิได้เป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์แต่เป็นเพียงบริวารของผู้เช่า จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส สินส่วนตัว และผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความในการก่อตั้งภารจำยอม
จำเลยได้รับยกให้ที่ดินภายหลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 เมื่อหนังสือยกให้ไม่ได้ระบุว่าให้เป็นสินสมรสจึงต้องถือว่าที่ดินของจำเลยเป็นสินส่วนตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จำเลยจึงมีอำนาจจัดการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้มีทางภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ในที่ดินดังกล่าวโดยมิได้รับความยินยอมจากภริยา จึงมีผลผูกพันจำเลย สัญญาประนีประนอมยอมความ มีข้อตกลงว่าจำเลยจะจดทะเบียนที่ดินเป็นภารจำยอมให้โจทก์เป็นสัญญาก่อตั้งภารจำยอมในที่พิพาท เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาข้อยกเว้น แม้คดีห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง หากผู้พิพากษาเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญ
แม้คดีจะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด และอนุญาตให้ฎีกา ก็ต้องรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221
of 50