คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของรองอธิบดี, สัญญาค้ำประกัน, สัญญารับสภาพหนี้ที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน, การผิดนัดชำระหนี้
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องว่า ขณะฟ้องคดีนี้อธิบดีกรมศิลปากรยังมีตัวดำรงตำแหน่งปฏิบัติราชการได้ พ. รองอธิบดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องแทนกรมศิลปากร ดังนี้ ปัญหาว่ากรมศิลปากรมีรองอธิบดีกี่คน และปลัดกระทรวงได้แต่งตั้งให้ พ.รองอธิบดีรักษาการแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2512 หรือไม่ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พ.รองอธิบดีกรมศิลปากรรักษาราชการแทนอธิบดีจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทกืได้ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 42 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. ลูกหนี้ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ.จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ มิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ.ยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือน โดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นรายๆ ออกต่างหากจากกัน ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่า เป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำรอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, สัญญาค้ำประกัน, สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน, การผิดสัญญา, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องว่า ขณะฟ้องคดีนี้อธิบดีกรมศิลปากรยังมีตัวดำรงตำแหน่งปฏิบัติราชการได้ พ. รองอธิบดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องแทนกรมศิลปากร ดังนี้ ปัญหาว่ากรมศิลปากรมีรองอธิบดีกี่คนและปลัดกระทรวงได้แต่งตั้งให้ พ. รองอธิบดีรักษาการแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2512 หรือไม่ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พ. รองอธิบดีกรมศิลปากรรักษาราชการแทนอธิบดีจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ได้ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 42 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. (ลูกหนี้) ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายสัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ. ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้วเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ. จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติมิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ. ยอมชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน ๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือนโดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นราย ๆ ออกต่างหากจากกันดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่าเป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ. ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเช่าที่ดิน, การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลของหน่วยงานรัฐ, และการประวิงคดี
การที่จำเลยเช่าที่ดินบริเวณสวนลุมพินีกับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์คราวละ 1 ปีนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ หากเช่าเกินกว่า 1 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยก่อน เช่นนี้ เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่ากระทรวงมหาดไทยให้โจทก์มีอำนาจให้เช่าที่พิพาทได้คราวละ 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าที่พิพาทได้ เมื่อโจทก์มีสิทธิให้เช่าแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าตามสัญญาได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวงประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวงเทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบยกเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โดยได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
of 2