คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิเวศน์ คำผอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินค้าโดยไม่ถือเป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศ และการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทผู้ขายในต่างประเทศการจำหน่ายสินค้าของโจทก์มี2วิธีวิธีที่1โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินเองเมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยแล้วโจทก์จะขายต่อให้ลูกค้าส่วนวิธีที่2โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าแต่ให้ลูกค้าเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินเองวิธีนี้ไม่ว่าลูกค้าจะเป็นหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทยแล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเองโจทก์มีอิสระในการขายถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่องโจทก์ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไรไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าแม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายในต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้าการจำหน่ายสินค้าตามวิธีนี้จึงไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขายในต่างประเทศบริษัทผู้ขายในต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทยโจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไปไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการ ตัวแทนของ นิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิโจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนนิติบุคคลต่างประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: โจทก์ซื้อมาขายไป ไม่เป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศ ไม่เข้าข่ายภาษีตามมาตรา 76 ทวิ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ไม่ใช่สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าดังกล่าวได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวด้วยดังนี้ คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ได้ความชัดแจ้งแล้ว ส่วนอนุสัญญาดังกล่าวจะทำกันเมื่อใดรัฐบาลทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันเมื่อใด และอนุสัญญาดังกล่าวมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: สารละลาย/โซลเว้นท์ ไม่จัดเป็นน้ำมันก๊าด แม้มีคุณสมบัติทางคุณภาพใกล้เคียงกัน
สารละลายหรือ โซลเว้นท์ชนิดต่างๆไม่ใช่น้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วตามคำจำกัดความคำว่า"น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน"ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534แม้สารละลายและ โซลเว้นท์ชนิดต่างๆนั้นจะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่1(พ.ศ.2532)เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมันก๊าดก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้นดังนี้พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่1ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534ในประเภทที่01.03รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกันจึงไม่รวมถึงสารละลายหรือ โซลเว้นท์ชนิดต่างๆด้วยสารละลายเคมีไว้ท์สปิริตพิพาทจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่01.03ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือ โซลเว้นท์ชนิดต่างๆจำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'น้ำมัน' ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต สารละลายเคมีไวท์สปิริตไม่เข้าข่ายเสียภาษี
สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ไม่ใช่น้ำมันอื่น ๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วตามคำจำกัดความคำว่า"น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน" ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 แม้สารละลายและโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ นั้น จะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าด ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2532)เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมันก๊าด ก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้น ดังนี้ พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ตอนที่ 1ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534ในประเภทที่ 01.03 รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกัน จึงไม่รวมถึงสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ด้วยสารละลายเคมีไว้ท์สปิริตพิพาทจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 01.03 ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ จำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'น้ำมัน' ใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต สารละลายไวท์สปิริตไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษี
ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ให้คำจำกัดความคำว่า "น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน" หมายความว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตรเลี่ยมได้แก่น้ำมันเบนซินน้ำมันก๊าด น้ำมันเชื้อเพลิงหนักน้ำมันเตา และน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ตามคำจำกัดความดังกล่าวสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ระบุแยกออกจากคำว่าน้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ออกชื่อมาแล้ว ดังนั้น สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ จึงไม่ใช่น้ำมันอื่น ๆ ที่ออกชื่อมาแล้ว และแม้สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ นั้น จะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2532) เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมัดก๊าด ก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้น ดังนี้ พิพักอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่ 1 ในประเภทที่ 01.03 รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกันจึงไม่รวมถึงสารละลายหรือโชลเว้นท์ชนิดต่างๆด้วยสารละลายเคมีไวท์สปิริตจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 01.03 ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ จำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'น้ำมัน' ใน พ.ร.บ.สรรพสามิต สารละลายไวท์สปิริตไม่ต้องเสียภาษี
ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534ให้คำจำกัดความคำว่า"น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน"หมายความว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตรเลี่ยมได้แก่น้ำมันเบนซินน้ำมันก๊าดน้ำมันเชื้อเพลิงหนักน้ำมันเตาและน้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆตามคำจำกัดความดังกล่าวสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆระบุแยกออกจากคำว่าน้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ออกชื่อมาแล้วดังนั้นสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆจึงไม่ใช่น้ำมันอื่นๆที่ออกชื่อมาแล้วและแม้สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆนั้นจะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่1(พ.ศ.2532)เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมัดก๊าดก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้นดังนี้พิพักอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่1ในประเภทที่01.03รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกันจึงไม่รวมถึงสารละลายหรือโชลเว้นท์ชนิดต่างๆด้วยสารละลายเคมีไวท์สปิริตจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่01.03ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆจำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์นำเข้า: ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด vs. ระเบียบปฏิบัติภายในของกรมศุลกากร
ในการพิจารณาหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามมาตรา2วรรค12แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469นั้นกรมศุลกากรได้ออกคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรเรื่องระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้โดยให้ต่างกับราคาของอะไหล่แท้นั้นได้ไม่เกินร้อยละ30ของอะไหล่แท้นั้นหลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของกรมศุลกากรเพื่อหาราคาของสินค้าที่นำเข้าว่ามีราคาเท่าใดในกรณีที่ไม่สามารถหาราคาอันแท้จริงได้มิใช่เป็นหลักเกณฑ์ตายตัวว่าสินค้าที่นำเข้ามาจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีเงินได้ของสมาคมผู้จัดพนันโตแตไลเซเตอร์: ภาษีคำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่าย หรือรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย
โจทก์จัดให้มีการเล่นพนันโตแตไลเซเตอร์ สำหรับการเล่นแข่งม้าตามบัญชีข.ข้อ17แห่งพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478เงินที่โจทก์ได้รับจากการจำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา40(8)เพราะเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน(1)ถึง(7)ของมาตรา40แห่งประมวลรัษฎากรและมิใช่รายได้ตามมาตรา65ทวิ(13)แห่งประมวลรัษฎากรเพราะมิใช่เงินค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้จากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หาโจทก์ซึ่งเป็นสมาคมจึงต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ2ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆตามที่มาตรา4แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร(ฉบับที่168)พ.ศ.2529บัญญัติไว้โจทก์ได้รับเงินจากการจำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดให้แก่ผู้เล่นมาแต่ต้นจำนวนเงินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ของโจทก์ซึ่งโจทก์จะต้องนำไปเสียภาษีตามหน้าที่ที่พระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478บัญญัติไว้รวมทั้งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรและจ่ายรางวัลแก่ผู้เล่นที่แทงผลการแข่งม้าถูกตามลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขในใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นแข่งม้าข้อ4และข้อ5ที่กำหนดไว้ซึ่งล้วนเป็นรายจ่ายของโจทก์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับจำนวนเงินดังกล่าวมาแล้วนอกจากนี้ตามมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ผู้รับอนุญาตการเล่นหมายเลข17ในบัญชีข.เสียภาษีไม่เกินกว่าร้อยละ10แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายและเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละ2.5เพื่อให้เป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาตโดยกำหนดในกฎกระทรวงดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นแข่งม้ามีหน้าที่เสียภาษีร้อยละ10แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามข้อ12(1)(ก)ของกฎกระทรวงฉบับที่17(พ.ศ.2503)ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478จึงต้องชำระค่าภาษีดังกล่าวด้วยเงินของโจทก์จะอ้างว่าเงินค่าภาษีร้อยละ10แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายที่โจทก์ชำระไปนั้นมิใช่รายได้ของโจทก์หาได้ไม่ที่โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาในอัตราร้อยละ2ของรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือของจำนวนเงินที่โจทก์จำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดได้ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงเป็นการเสียภาษีที่ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีจากการจัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์: การจัดเก็บภาษีเงินได้และภาษีตาม พ.ร.บ.การพนัน
โจทก์จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์ สำหรับการเล่นแข่งม้า ตามบัญชี ข. ข้อ 17 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 เงินที่โจทก์ได้รับจากการจำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 40(8) เพราะเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1)ถึง (7) ของมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร และมิใช่รายได้ตามมาตรา 65 ทวิ(13) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมิใช่เงินค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หาโจทก์ซึ่งเป็นสมาคมจึงต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามที่มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวล-รัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 168) พ.ศ.2529 บัญญัติไว้ โจทก์ได้รับเงินจากการจำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดให้แก่ผู้เล่นมาแต่ต้น จำนวนเงินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ของโจทก์ ซึ่งโจทก์จะต้องนำไปเสียภาษีตามหน้าที่ที่พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ.2478 บัญญัติไว้ รวมทั้งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร และจ่ายรางวัลแก่ผู้เล่นที่แทงผลการแข่งม้าถูก ตามลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขในใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นแข่งม้า ข้อ 4 และข้อ 5 ที่กำหนดไว้ ซึ่งล้วนเป็นรายจ่ายโจทก์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับจำนวนเงินดังกล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ ตามมาตรา16 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. เสียภาษีไม่เกินกว่าร้อยละ 10 แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย และเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละ 2.5 เพื่อให้เป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาตโดยกำหนดในกฎกระทรวงดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นแข่งม้ามีหน้าที่เสียภาษีร้อยละ 10 แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามข้อ 12 (1)(ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 จึงต้องชำระค่าภาษีดังกล่าวด้วยเงินของโจทก์ จะอ้างว่าเงินค่าภาษีร้อยละ 10 แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายที่โจทก์ชำระไปนั้นมิใช่รายได้ของโจทก์หาได้ไม่ ที่โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาในอัตราร้อยละ 2 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือของจำนวนเงินที่โจทก์จำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดได้ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆจึงเป็นการเสียภาษีที่ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด การหักสำรองสินค้าล้าสมัย และการประเมินภาษี
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินไม่รวมถึงการหักสำรองสินค้าล้าสมัยหรือตกรุ่นเนื่องจากตามมาตรา4(5)แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน(ฉบับที่145)พ.ศ.2527บัญญัติเกี่ยวกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนอกจากที่ดินและสินค้า การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา65ทวิ(6)ประมวลรัษฎากรไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักในการคำนวณราคาขายเพราะสินค้าที่ขายไปแล้วไม่ใช่สินค้าคงเหลือ
of 144