คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิเวศน์ คำผอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9498/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการบริหารงานกิจการร่วมค้า ถือเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
กิจการร่วมค้า ช. เป็นกิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทโจทก์กับบริษัท ม.และได้จดทะเบียนการค้าต่อจำเลยกิจการร่วมค้า ซ. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39กิจการร่วมค้า ช. จึงแยกต่างหากจากกิจการของโจทก์ โจทก์กับบริษัท ม. มีข้อตกลงให้โจทก์เป็นผู้บริหารกิจการร่วมค้าซ. แต่เพียงผู้เดียว และใช้สถานที่ของโจทก์เป็นที่ทำการพนักงานของโจทก์ที่ทำหน้าที่บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิศวกร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายธุรการและฝ่ายบริหาร แสดงว่าโจทก์เป็นผู้บริหารกิจการทั้งปวงของกิจการร่วมค้า ซ. มิใช่โจทก์เพียงแต่เข้าไปดูแลผลประโยชน์ของตนในกิจการร่วมค้า ซ.และกิจการร่วมค้าซ. มิใช่กิจการของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การบริหารงานกิจการร่วมค้าซ. โจทก์จะต้องมีค่าใช้จ่ายของโจทก์เองเพื่อที่จะบริหารงานให้บรรลุผลตามข้อตกลง การบริหารงานของกิจการร่วมค้า ซ. จึงมิใช่กิจการที่ทำให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้ก็ระบุว่า ให้บริการทางด้านบริหารการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมและโจทก์จดทะเบียนการค้า ตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) การขายของและตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ก)และ(ฉ) การรับจ้างทำของด้วยดังนั้นการที่โจทก์รับเป็นผู้บริหารงานของกิจการร่วมค้าซ. จึงเป็นการประกอบการเพื่อหารายได้ตามวัตถุที่ประสงค์และตามที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้ ทั้งการที่โจทก์เข้าบริหารงานดังกล่าวก็เพื่อให้กิจการของกิจการร่วมค้า ซ. เป็นไปด้วยดี เงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ. ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างหากตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าจะมีวิธีคิดอย่างไรก็เป็นเงินที่จ่ายให้เพื่อผลสำเร็จของงานที่โจทก์รับทำให้แก่กิจการร่วมค้าดังกล่าว จึงถือเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทดรองจ่ายเงินจำนวนใดไปก่อนอันจะ ถือได้ว่าเงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ. จ่ายให้แก่โจทก์นั้นเป็นการจ่ายคืนเงินทดรองแก่โจทก์ จึงฟังได้ว่าการที่โจทก์เป็นผู้บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ. เป็นการรับจ้างทำของ เงินค่าบริหารงานที่โจทก์ได้รับมาจากกิจการร่วมค้าซีแพค-โมเนียจึงเป็นรายรับจากการประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9498/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการบริหารกิจการร่วมค้าเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
กิจการร่วมค้า ซ.เป็นกิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทโจทก์กับบริษัท ม.และได้จดทะเบียนการค้าต่อจำเลยกิจการร่วมค้า ซ.เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39กิจการร่วมค้า ซ.จึงแยกต่างหากจากกิจการของโจทก์ โจทก์กับบริษัท ม.มีข้อตกลงให้โจทก์เป็นผู้บริหารกิจการร่วมค้า ซ.แต่เพียงผู้เดียว และใช้สถานที่ของโจทก์เป็นที่ทำการ พนักงานของโจทก์ที่ทำหน้าที่บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิศวกร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายธุรการและฝ่ายบริหาร แสดงว่าโจทก์เป็นผู้บริหารกิจการทั้งปวงของกิจการร่วมค้า ซ.มิใช่โจทก์เพียงแต่เข้าไปดูแลผลประโยชน์ของตนในกิจการร่วมค้า ซ. และกิจการร่วมค้า ซ.มิใช่กิจการของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การบริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.โจทก์จะต้องมีค่าใช้จ่ายของโจทก์เองเพื่อที่จะบริหารงานให้บรรลุผลตามข้อตกลง การบริหารงานของกิจการร่วมค้า ซ.จึงมิใช่กิจการที่ทำให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้ก็ระบุว่า ให้บริการทางด้านบริหารการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมและโจทก์จดทะเบียนการค้า ตามประเภทการค้า 1ชนิด 1 (ก) การขายของและตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1 (ก) และ (ฉ)การรับจ้างทำของด้วย ดังนั้นการที่โจทก์รับเป็นผู้บริหารงานของกิจการร่วมค้า ซ.จึงเป็นการประกอบการเพื่อหารายได้ตามวัตถุที่ประสงค์และตามที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้ ทั้งการที่โจทก์เข้าบริหารงานดังกล่าวก็เพื่อให้กิจการของกิจการร่วมค้าซ.เป็นไปด้วยดี เงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ.ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างหากตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าจะมีวิธีคิดอย่างไรก็เป็นเงินที่จ่ายให้เพื่อผลสำเร็จของงานที่โจทก์รับทำให้แก่กิจการร่วมค้าดังกล่าว จึงถือเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทดรองจ่ายเงินจำนวนใดไปก่อนอันจะถือได้ว่าเงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ.จ่ายให้แก่โจทก์นั้นเป็นการจ่ายคืนเงินทดรองแก่โจทก์ จึงฟังได้ว่าการที่โจทก์เป็นผู้บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.เป็นการรับจ้างทำของ เงินค่าบริหารงานที่โจทก์ได้รับมาจากกิจการร่วมค้าซีแพค-โมเนียจึงเป็นรายรับจากการประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 ชนิด 1 (ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8384/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การประเมินอากรต้องแจ้งเป็นหนังสือ หากยังไม่มีการแจ้ง ถือว่ายังไม่มีการโต้แย้งสิทธิ
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ว่า หลังจากที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ ผู้นำเข้าสินค้าวางเงินประกันค่าอากรเพิ่มเติมตามมาตรา 112 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินอากรอันพึงต้องเสียและแจ้งให้ผู้นำเข้าทราบซึ่งผู้นำเข้าจะต้องชำระเงินอากรตามจำนวนที่ได้รับแจ้งให้ครบถ้วนภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหากไม่เห็นด้วยกับการประเมิน ผู้นำเข้ามีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสามต่อไปได้ แต่การที่กรมศุลกากรจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำความตกลงเพื่อระงับคดีอาญากับจำเลยไม่ใช่เป็นหนังสือแจ้งการประเมินอากรตามมาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่ารายปีตามดัชนีผู้บริโภคและลักษณะทรัพย์สิน
การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีในปี 2533 เสียใหม่โดยเทียบเคียงกับสถานีจำหน่ายน้ำมันแห่งอื่นที่มีลักษณะทำเลที่ตั้งและขนาดคล้ายคลึงกันนั้น มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ทำให้คดีเสร็จไปเพราะคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีจะต้องวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้ว ชี้ขาดลงไปว่าให้จำเลยที่ 1ประเมินได้เท่าใด คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 8 ให้ความหมายว่า ค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ แต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.และบริษัทด. มิได้กำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันเป็นอัตราที่แน่นอน หากแต่คู่สัญญาได้ตกลงให้ผู้ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์ หากเดือนใดซื้อเป็นจำนวนน้อย ก็จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราสูง แต่ถ้าเดือนใดซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะชำระค่าตอบแทนในอัตราต่ำตามอัตราค่าตอบแทนที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ละช่วงเวลาไปนอกจากนี้โจทก์ยังได้รับผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมการใช้สถานีบริการน้ำมันและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวนหนึ่งด้วยเห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ตัวอาคารสถานที่ส่วนหนึ่งจากเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเก็บรักษาและบริการน้ำมันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งได้รับผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอีกส่วนหนึ่ง ไม่สามารถจำแนกได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเฉพาะการใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนดังกล่าว อันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเดือนละเท่าใด จึงไม่อาจนำค่าตอบแทนตามสัญญาดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันมาคำนวณเป็นค่ารายปีได้ สำหรับข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาก็ไม่ปรากฏว่า สถานีบริการน้ำมันเหล่านั้นมีสภาพ ขนาด ทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไรมีสัญญาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกับโรงเรือนพิพาทหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ผ่านมาใช้หลักเกณฑ์ประการใด จึงไม่อาจนำค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาเทียบเคียงกำหนดเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทในปีภาษีตามฟ้องได้ ค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทตามฟ้องจึงต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ซึ่งได้ความว่าในปีที่ล่วงมาแล้วคือปี 2532 จำเลยที่ 1 กำหนด ค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 30/7 เป็นเงิน 420,000 บาทและระหว่างปี 2532 ถึง 2534 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและดัชนีผู้บริโภคทั่วไปทั้งประเทศไว้ ปรากฏว่า ดัชนีผู้บริโภคดังกล่าวทั้งสองประเภทในหมวดเคหสถานเครื่องเรือน และเครื่องใช้ในบ้านมีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2533ไม่เกินร้อยละ 3.5 ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้มีการเพิ่มค่ารายปีขึ้นอีกร้อยละ 7 ของค่ารายปีปี 2532 รวมเป็นเงิน449,400 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้วและถือเอาเป็นค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2533 ได้ สำหรับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองแม้จะได้ความว่ายังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อน เนื่องจากเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้เพียง 9 เดือนก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า โรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองก็เป็นสถานีบริการน้ำมันเช่นเดียวกับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรก ทั้งยังตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินและอยู่ในท้องที่ตำบลคลองหนึ่งอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เช่นเดียวกันอีกด้วยดังนี้ เมื่อคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่และทำเลที่ตั้งแล้ว เห็นว่า อาจกำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานีบริการน้ำมัน โดยเทียบเคียงกับสถานีอื่นและดัชนีราคา
การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีในปี 2533 เสียใหม่โดยเทียบเคียงกับสถานีจำหน่ายน้ำมันแห่งอื่นที่มีลักษณะทำเลที่ตั้งและขนาดคล้ายคลึงกันนั้น มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ทำให้คดีเสร็จไป เพราะคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีจะต้องวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้วชี้ขาดลงไปว่าให้จำเลยที่ 1 ประเมินได้เท่าใด คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้จึงไม่ชอบ
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8ให้ความหมายว่า ค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆแต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.และบริษัท ด.มิได้กำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันเป็นอัตราที่แน่นอน หากแต่คู่สัญญาได้ตกลงให้ผู้ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์ หากเดือนใดซื้อเป็นจำนวนน้อย ก็จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราสูง แต่ถ้าเดือนใดซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะชำระค่าตอบแทนในอัตราต่ำ ตามอัตราค่าตอบแทนที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ละช่วงเวลาไป นอกจากนี้โจทก์ยังได้รับผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมการใช้สถานีบริการน้ำมันและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวนหนึ่งด้วย เห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ตัวอาคารสถานที่ส่วนหนึ่งจากเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการเก็บรักษาและบริการน้ำมันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งได้รับผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอีกส่วนหนึ่ง ไม่สามารถจำแนกได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเฉพาะการใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนดังกล่าว อันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเดือนละเท่าใด จึงไม่อาจนำค่าตอบแทนตามสัญญาดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันมาคำนวณเป็นค่ารายปีได้ สำหรับข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาก็ไม่ปรากฏว่า สถานีบริการน้ำมันเหล่านั้นมีสภาพ ขนาดทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไร มีสัญญาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกับโรงเรือนพิพาทหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ผ่านมาใช้หลักเกณฑ์ประการใด จึงไม่อาจนำค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาเทียบเคียงกำหนดเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทในปีภาษีตามฟ้องได้ ค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทตามฟ้องจึงต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งได้ความว่าในปีที่ล่วงมาแล้วคือปี 2532 จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 30/7เป็นเงิน 420,000 บาท และระหว่างปี 2532 ถึง 2534 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและดัชนีผู้บริโภคทั่วไปทั้งประเทศไว้ ปรากฏว่า ดัชนีผู้บริโภคดังกล่าวทั้งสองประเภทในหมวดเคหสถาน เครื่องเรือน และเครื่องใช้ในบ้านมีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2533ไม่เกินร้อยละ 3.5 ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้มีการเพิ่มค่ารายปีขึ้นอีกร้อยละ 7ของค่ารายปีปี 2532 รวมเป็นเงิน 449,400 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้วและถือเอาเป็นค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2533 ได้
สำหรับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองแม้จะได้ความว่ายังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อน เนื่องจากเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้เพียง9 เดือนก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า โรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองก็เป็นสถานีบริการน้ำมันเช่นเดียวกับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรก ทั้งยังตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินและอยู่ในท้องที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเช่นเดียวกันอีกด้วย ดังนี้ เมื่อคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่และทำเลที่ตั้งแล้ว เห็นว่า อาจกำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
จำเลยไม่ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์ไป จำเลยยื่นคำร้องว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงขออนุญาตยื่นคำให้การ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยอุทธรณ์ทั้งคำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้น สำหรับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและยกคำร้องดังกล่าวเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199 วรรคสอง และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสียและวินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย แต่กลับไปวินิจฉัยถึงพฤติการณ์ของจำเลยว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและมีเหตุสมควรรับคำให้การของจำเลยไว้ การวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยว่า จำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่นั่นเองคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษา ถือว่าอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยในปัญหาที่ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเนื่องจากศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยเสียก่อน เนื่องจากผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจเกี่ยวโยงไปถึงสิทธิในการฎีกาคดีนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8269/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์
จำเลยไม่ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์ไป จำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงขออนุญาตยื่นคำให้การศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงขออนุญาตยื่นคำให้การ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยอุทธรณ์ทั้งคำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้น สำหรับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและยกคำร้องดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226(1) ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ไม่มี อำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสียและวินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย แต่กลับไปวินิจฉัยถึงพฤติการณ์ของจำเลยว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและมีเหตุสมควรรับคำให้การของจำเลยไว้ การวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยว่า จำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่นั่นเองคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษา ถือว่าอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยในปัญหาที่ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเนื่องจากศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยเสียก่อนเนื่องจากผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจเกี่ยวโยงไปถึงสิทธิในการฎีกาคดีนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8173/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในรถยนต์เช่าซื้อและการประกันภัย: ผู้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญา แม้จะขายต่อ
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแก่รถยนต์คันที่เช่าซื้อ และเมื่อได้ใช้เงินครบถ้วนแล้วรถยนต์นั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ หรือหากเลิกสัญญาเช่าซื้อกันโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์คืนให้ผู้เช่าซื้อในสภาพเดิม โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันที่เช่าซื้อมา แม้ในระหว่างที่โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้ออยู่นั้นโจทก์ได้ขายและส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อมาให้แก่ ส.โดยมีข้อตกลงให้ ส.ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือแทนโจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่ ส. แต่บริษัท ง.ผู้ให้เช่าซื้อก็มิได้ตกลงด้วย โจทก์จึงยังคงเป็นผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับบริษัท ง.ผู้ให้เช่าซื้ออยู่ และยังคงมีความผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อในฐานะที่เป็นผู้เช่าซื้อมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดในรถยนต์คันที่เช่าซื้อต่อบริษัท ง.ตามสัญญาเช่าซื้อและตามกฎหมายลักษณะเช่าซื้อ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันที่เช่าซื้อซึ่งเอาประกันวินาศภัยไว้แก่จำเลย สัญญาประกันภัยย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 863

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8173/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย แม้ขายต่อให้ผู้อื่น แต่ยังผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัทง. โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแก่รถยนต์คันที่เช่าซื้อ และเมื่อได้ใช้เงินครบถ้วนแล้วรถยนต์นั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ หรือหากเกิดสัญญาเช่าซื้อกันโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์คืนให้ผู้เช่าซื้อในสภาพเดิมโจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันที่เช่าซื้อมา แม้ในระหว่างที่โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้ออยู่นั้นโจทก์ได้ขายและส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อมาให้แก่ ส. โดยมีข้อตกลงให้ส. ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือแทนโจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่ ส.แต่บริษัท ง. ผู้ให้เช่าซื้อก็มิได้ตกลงด้วย โจทก์จึงยังคงเป็นผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับบริษัทง.ผู้ให้เช่าซื้ออยู่ และยังคงเป็นความผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อในฐานะที่เป็นผู้เช่าซื้อมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดในรถยนต์คันที่เช่าซื้อต่อบริษัทง. ตามสัญญาเช่าซื้อและตามกฎหมายลักษณะเช่าซื้อ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันที่เช่าซื้อซึ่งเอาประกันวินาศภัยไว้แก่จำเลยสัญญา ประกันภัยย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7583/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าอยู่อาศัยจริงมีผลต่อการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
โจทก์และครอบครัวมีภูมิลำเนาอยู่อาศัยอยู่ห่างห้องพิพาทไปประมาณ 200 เมตร การที่โจทก์ยอมให้ ม.บุตรสาวโจทก์พร้อมทั้งสามีและบุตรของม.ซึ่งไม่มีที่อยู่ที่อื่นเข้าไปอยู่ในห้องพิพาทและแจ้งชื่อทั้งหมดเข้าอยู่ในทะเบียนบ้านห้องพิพาท ฟังได้ว่าเป็นการเข้าอยู่อาศัยในห้องพิพาท หาใช่เพียงเป็นผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาห้องพิพาทให้โจทก์ไม่ จึงไม่ได้รับงดเว้นการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 10 ที่แก้ไขโดย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 มาตรา 3
of 144