พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7583/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าอยู่อาศัยจริงมีผลต่อการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
โจทก์และครอบครัวมีภูมิลำเนาอยู่อาศัยอยู่ห่างห้องพิพาทไปประมาณ 200 เมตร การที่โจทก์ยอมให้ ม.บุตรสาวโจทก์พร้อมทั้งสามีและบุตรของม.ซึ่งไม่มีที่อยู่ที่อื่นเข้าไปอยู่ในห้องพิพาทและแจ้งชื่อทั้งหมดเข้าอยู่ในทะเบียนบ้านห้องพิพาท ฟังได้ว่าเป็นการเข้าอยู่อาศัยในห้องพิพาท หาใช่เพียงเป็นผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาห้องพิพาทให้โจทก์ไม่ จึงไม่ได้รับงดเว้นการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 10 ที่แก้ไขโดย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7261/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้ายุทธภัณฑ์ไม่ตรงตามสัญญาและการยกเลิกการยกเว้นอากร ภาษีอากรยังคงต้องชำระ
โจทก์นำเครื่องเอกซเรย์เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อที่จะส่งมอบให้แก่กรมตำรวจตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ได้ทำกับสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังแม้จะเป็นยุทธภัณฑ์แต่เมื่อกรมตำรวจมิได้รับเครื่องเอกซเรย์ไว้ในราชการและโจทก์ได้ส่งเครื่องเอกซเรย์กลับคืนไปให้บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศแล้วเครื่องเอกซเรย์จึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการซึ่งได้ยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2530ภาค4ประเภท13 การที่กรมศุลกากรจำเลยได้อนุมัติให้ยกเว้นอากรสำหรับเครื่องเอกซเรย์ที่จำเลยนำเข้าเนื่องจากจำเลยได้รับหนังสือขอยกเว้นภาษีอากรขาเข้าจากกระทรวงมหาดไทยแต่ต่อมาจำเลยได้รับแจ้งจากกรมตำรวจผู้ที่จะรับเครื่องเอกซเรย์ไว้ใช้จากสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังผู้ซื้อจากโจทก์ว่าเครื่องเอกซเรย์ไม่ตรงตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายและโจทก์ได้ส่งคืนบริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศแล้วจำเลยชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการยกเว้นอากรได้เมื่อโจทก์เป็นผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรขาเข้าให้จำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา41,10ทวิวรรคหนึ่งการที่โจทก์ได้ส่งเครื่องเอกซเรย์คืนให้แก่บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ใช้ประโยชน์อย่างใดในราชอาณาจักรไม่ทำให้ความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องเสียภาษีอากรเปลี่ยนแปลงไปเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการนำเข้าสำเร็จซึ่งโจทก์มีสิทธิจะจัดการกับสินค้าของโจทก์อย่างไรก็ได้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีอากรให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7167-7168/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถลงเขา ทำให้เกิดการชนในช่องทางเดินรถของผู้อื่น ผู้ขับมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
จำเลยขับรถสวนทางมาด้วยความเร็วสูงเมื่อเข้าทางโค้งซึ่งเป็นทางโค้งขวาลาดลงเนินเขาจำเลยไม่ได้ชะลอความเร็วและขับรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์โดยมองไม่เห็นรถที่โจทก์ขับครั้นโผล่ทางโค้งออกมาก็เห็นรถคันที่โจทก์ขับสวนทางมาในระยะกระชั้นชิดจำเลยเกิดความตกใจครั้นจะหักรถออกทางซ้ายก็กลัวว่าจะตกเหวจึงตัดสินใจหักรถออกทางขวาโดยคาดว่าจะหลบพ้นไปยังที่ราบริมถนนแต่หลบไม่พ้นเพราะจำเลยขับรถลงเนินเขาด้วยความเร็วสูงจึงเป็นเหตุให้ชนถูกด้านซ้ายของหัวรถคันที่โจทก์ขับสวนทางมาเช่นนี้ถือได้ว่าเหตุชนกันเกิดเกิดจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7133/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความสูญหาย/เสียหายของสินค้า และอายุความฟ้องร้อง
ในการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้น ใบตราส่งเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงว่าผู้ใดเป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว เพราะเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับของที่ส่ง จุดหมายปลายทาง ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า นอกจากนี้ยังกำหนดรายละเอียดถึงชื่อหรือยี่ห้อของผู้ส่ง จำนวนค่าระวาง พาหนะ สถานที่และวันที่ออกใบตราส่ง และลายมือชื่อผู้ขนส่งด้วย จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเดินเรือและดำเนินการพาณิชย์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศและในต่างประเทศ เมื่อใบตราส่งมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นใบตราส่งของจำเลย แม้จะปรากฏชื่อบริษัทย.ประทับไว้ และมีลายมือชื่อผู้จัดการอยู่ใต้ข้อความที่ระบุว่า "กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น วันที่ 19 มิถุนายน 2532" อันเป็นสถานที่และวันที่ออกใบตราส่งแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ย.เป็นผู้มีหน้าที่ออกใบตราส่งและเมื่อการสั่งซื้อสินค้ารายพิพาทผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยทางเรือดังนั้น ที่ปรากฏชื่อบริษัท ย. และลายมือชื่อผู้จัดการในใบตราส่งดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่บริษัท ย.โดยผู้จัดการลงชื่อในฐานะผู้ร่วมขนส่งเพื่อแสดงว่าใบตราส่งนั้นได้ออกที่ใดและเมื่อใดเท่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยและบริษัท ย.ร่วมกันขนส่งสินค้ารายพิพาท
การขนส่งสินค้ารายพิพาทแม้เรือที่ขนส่งเข้าเทียบท่าแล้ว แต่ก่อนที่ผู้รับตราส่งจะรับมอบสินค้าจากนายเรือไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจสอบจำนวนเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง และตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งในการที่สินค้ารายพิพาทสูญหายหรือบุบสลายคงมีอยู่ตลอดเวลาที่การตรวจสอบสินค้านั้นยังไม่เสร็จสิ้น การที่เรือขนส่งสินค้ารายพิพาทเข้าเทียบท่าและผู้รับตราส่งรับสินค้ามาเพื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่ามีสินค้าขาดจำนวนไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนอันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
แม้เรือจะขนสินค้ารายพิพาทมาถึงเมืองท่าปลายทางเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2532 และผู้รับตราส่งขอรับสินค้าในวันดังกล่าว แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบจำนวนและคุณภาพของสินค้าเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง รวมทั้งตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าด้วย ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้นจะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อผู้รับตราส่งตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับจากวันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2533 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทสำหรับกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยรับขนของทางทะเล และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเช่นว่านั้นใช้บังคับในขณะนั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน 279,088.29 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 6,977.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคิดคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีการวมเข้าไปเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจำนวน 346,313.22 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,657.50 บาท จำเลยจึงชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 1,680 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินที่ชำระเกินมาดังกล่าวแก่จำเลยได้
การขนส่งสินค้ารายพิพาทแม้เรือที่ขนส่งเข้าเทียบท่าแล้ว แต่ก่อนที่ผู้รับตราส่งจะรับมอบสินค้าจากนายเรือไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจสอบจำนวนเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง และตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งในการที่สินค้ารายพิพาทสูญหายหรือบุบสลายคงมีอยู่ตลอดเวลาที่การตรวจสอบสินค้านั้นยังไม่เสร็จสิ้น การที่เรือขนส่งสินค้ารายพิพาทเข้าเทียบท่าและผู้รับตราส่งรับสินค้ามาเพื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่ามีสินค้าขาดจำนวนไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนอันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
แม้เรือจะขนสินค้ารายพิพาทมาถึงเมืองท่าปลายทางเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2532 และผู้รับตราส่งขอรับสินค้าในวันดังกล่าว แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบจำนวนและคุณภาพของสินค้าเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง รวมทั้งตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าด้วย ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้นจะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อผู้รับตราส่งตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับจากวันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2533 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทสำหรับกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยรับขนของทางทะเล และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเช่นว่านั้นใช้บังคับในขณะนั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน 279,088.29 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 6,977.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคิดคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีการวมเข้าไปเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจำนวน 346,313.22 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,657.50 บาท จำเลยจึงชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 1,680 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินที่ชำระเกินมาดังกล่าวแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนส่งร่วม การมอบอำนาจและการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์มีผลต่อการรับผิดชอบค่าเสียหาย
สำหรับเรื่องการมอบอำนาจแม้จำเลยที่1จะให้การสู้คดีไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่1ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ส่วนในเรื่องใบรับรองกรมธรรม์เปิดทางทะเลศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้วแต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวหาได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งฎีกาจำเลยที่1ทั้งสองประเด็นดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ใบตราส่งเป็นแบบ ฟลูไลเนอร์เทอม ซึ่งหมายความว่าหน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือ ฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือ เกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเองจำเลยที่1ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่2ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วยส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้ารวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจคนเข้าเมืองนั้นกิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่2ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเองการที่จำเลยที่1ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือยังไม่พอถือว่าจำเลยที่1เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่2และเรือใหญ่ด้วยจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่1ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ283,734.40บาทซึ่งจำเลยที่1ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง7,092.50บาทแต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน359,497.31บาทด้วยและให้จำเลยที่1เสียค่าขึ้นศาลฎีกาเป็นเงิน8,987.50บาทจำเลยที่1จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน1,895บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจขนส่งสินค้าและการรับผิดชอบความเสียหาย: การที่จำเลยที่ 1 มิได้ร่วมขนส่งโดยตรง จึงไม่ต้องรับผิดชอบ
สำหรับเรื่องการมอบอำนาจแม้จำเลยที่ 1 จะให้การสู้คดีไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ส่วนในเรื่องใบรับรองกรมธรรม์เปิดทางทะเลศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้ว แต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวหาได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ฎีกาจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นดังกล่าวไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ใบตราส่งเป็นแบบฟูลไลเนอร์ เทอม ซึ่งหมายความว่า หน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเอง จำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วย ส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้า รวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจ-คนเข้าเมืองนั้น กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเอง การที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือ ยังไม่พอถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 2 และเรือใหญ่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ 283,734.40 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 7,092.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 359,497.31 บาท ด้วย และให้จำเลยที่ 1เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,987.50 บาท จำเลยที่ 1 จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,895 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่ 1
ใบตราส่งเป็นแบบฟูลไลเนอร์ เทอม ซึ่งหมายความว่า หน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเอง จำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วย ส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้า รวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจ-คนเข้าเมืองนั้น กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเอง การที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือ ยังไม่พอถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 2 และเรือใหญ่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ 283,734.40 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 7,092.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 359,497.31 บาท ด้วย และให้จำเลยที่ 1เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,987.50 บาท จำเลยที่ 1 จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,895 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีประกันภัย: ผลของการยอมรับสภาพหนี้โดยตัวแทนและผลของการสะดุดหยุดอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้ชำระค่าเสียหายแก่บุคคลผู้ต้องเสียหาย แล้วฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัย จึงต้องอยู่ภายใต้อายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรก พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจความเสียหายและได้เรียกเก็บเงินค่าแจ้งเหตุจากโจทก์กับออกเอกสารให้โจทก์ถือไว้เป็นหลักฐาน ทั้งยังได้นำรถคันดังกล่าวไปตีราคาค่าซ่อมอีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้อง อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14(1) ที่แก้ไขใหม่) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้น ย่อมไม่นับเข้าในอายุความ จนเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดซึ่งในกรณีนี้ได้แก่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือปฏิเสธความรับผิดจากจำเลยซึ่งถือเป็นวันที่เป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง จึงเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 เดิม(มาตรา 193/15 ที่แก้ไขใหม่) ส่วนประเด็นข้อพิพาทอื่น ๆ ที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาแม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตามแต่เมื่อฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นพิพาทอื่นมาด้วยเช่นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวได้ ต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีประกันภัย: การสะดุดหยุดของอายุความจากการยอมรับสภาพหนี้และการนับอายุความใหม่
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้ชำระค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอก ผู้ต้องเสียหายแล้วฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัย จึงต้องอยู่ภายใต้อายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรก วินาศภัยเกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2532 ต่อมาพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจความเสียหายเรียกเก็บเงินค่าแจ้งเหตุจากโจทก์ผู้เอาประกันภัยค้ำจุนและได้นำรถคันที่ถูกรถคันที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนไปตีราคาค่าซ่อม ถือได้ว่าเป็นการทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม ระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้าในอายุความจนเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดได้แก่วันที่จำเลยมีหนังสือปฏิเสธความรับผิดไปยังโจทก์เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 จึงเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไปตาม มาตรา 181 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาประกันภัยค้ำจุน และผลของการยอมรับสภาพหนี้โดยตัวแทน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้ชำระค่าเสียหายแก่บุคคลผู้ต้องเสียหายแล้วฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัยจึงต้องอยู่ภายใต้อายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา882วรรคแรก พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจความเสียหายและได้เรียกเก็บเงินค่าแจ้งเหตุจากโจทก์กับออกเอกสารให้โจทก์ถือไว้เป็นหลักฐานทั้งยังได้นำรถคันดังกล่าวไปตีราคาค่าซ่อมอีกด้วยพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172เดิม(มาตรา193/14(1)ที่แก้ไขใหม่) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้าในอายุความจนเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดซึ่งในกรณีนี้ได้แก่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือปฏิเสธความรับผิดจากจำเลยซึ่งถือเป็นวันที่เป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลงจึงเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา181เดิม(มาตรา193/15ที่แก้ไขใหม่) ส่วนประเด็นข้อพิพาทอื่นๆที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาแม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตามแต่เมื่อฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นพิพาทอื่นมาด้วยเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่อาจที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวได้ต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6902/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งทางทะเล: การแจ้งเรือและเอกสารพิธีการศุลกากรไม่ถือเป็นผู้ขนส่งรายสุดท้าย
จำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ารายพิพาทขึ้นจากเรือลงสู่ท่าแล้วขนไปพักยังโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนที่บริษัท ฟ. จะจ้าง อ. ให้ทำการขนส่งต่อไปยังโกดังของบริษัท ฟ. เพื่อเปิดตู้คอนเทนเนอร์ตรวจนับสินค้าและสำรวจความเสียหาย จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้ารายพิพาททางทะเลทอดสุดท้าย ลำพังแต่เพียงที่จำเลยแจ้งการมาถึงของเรือ รับใบตราส่งจากผูัรับตราส่งแล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อนำไปรับสินค้าจากท่าเรือแห่งประเทศไทย หรือดำเนินพิธีการศุลกากรทางด้านเอกสารต่าง ๆ แทนผู้รับขนหรือนายเรือซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าจำเลยร่วมในการขนส่งทางทะเลทอดสุด-ท้ายได้