พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายจากเงินบำเหน็จออกจากงานตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2524 นายจ้างของโจทก์จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้โจทก์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2524 เป็นเงิน 94,140 บาทครั้นวันที่ 5 มกราคม 2525 จ่ายเงินบำเหน็จเพราะโจทก์ออกจากงานให้อีก 545,358.25 บาท ไม่ปรากฏว่านอกจากนี้นายจ้างยังจ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญอีก เงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์เพียงครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานชอบที่จะหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักข้าวโพดตามความชื้น และความจำเป็นในการมีหลักฐานการขาย
โจทก์รับซื้อข้าวโพดจากพ่อค้าและสหกรณ์ของชาวไร่ซึ่งมีความชื้น 17-18 เปอร์เซ็นต์แต่โจทก์จะคิดหักน้ำหนักข้าวโพดโดยถือน้ำหนักในระดับความชื้น 14.7 เปอร์เซ็นต์ โดยคิดตามสูตรที่พ่อค้าข้าวโพดในประเทศไทยยอมรับใช้กันทั่วไปเมื่อโจทก์รับซื้อแล้วจะนำไปอบให้มีความชื้นไม่เกิน 14.5 เปอร์เซ็นต์ย่อมทำให้น้ำหนักลดลงไปอีก ในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2515ถึง 1516 โจทก์ซื้อข้าวโพดรวม 147,493,815 ตัน ยอดสินค้าข้าวโพดคงเหลือยกมา 31,616,977 ต้น รวมเป็นสินค้ามีไว้ขายระหว่างปี 179,100.792 ตัน ยอดขายในระหว่างปีจำนวน 162,259.859 ต้น สินค้าคงเหลือปลายปีควรจะเป็น 16,840.933 ตัน แต่ยอดคงเหลือ15,749,793 ตัน น้ำหนักข้าวโพดขาดหายไปจำนวน 1,091.140 ตัน เมื่อเทียบส่วนน้ำหนักที่ขาดไปไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์น้อยกว่าขั้นต่ำของน้ำหนักที่ลดซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการเกษตรว่า เมล็ดข้าวโพดที่เก็บไว้นานน้ำหนักจะละระหว่าง 193 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ยซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของเมล็ดข้าวโพด ประกอบกับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ออกเมื่อปี 2515 ห้ามมิให้โจทก์จำหน่ายข้าวโพดในประเทศ การขายข้าวโพดออกไปต่างประเทศมีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งในส่วนราชการและเอกชนเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากจึงเป็นการยากที่โจทก์จะละเว้นไม่ลงบัญชี จำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปจากบัญชี 1,091.140 ต้น เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวโพดที่ส่งออกไปต่างประเทศแต่ละครั้งมีน้ำหนักสุทธิ 494,210 เมตริกตัน และ237,505 เมตริตัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะส่งออกไปเพียงประมาณ1,000 ต้นเศษ โดยไม่ลงหลักฐานการขายไปต่างประเทศ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปเป็นการขายโดยไม่ลงบัญชีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีในส่วนข้าวโพดที่ขาดหายไปย่อมไม่ถูกต้อง เพราะน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปเนื่องจากความชื้น เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นกับสินค้าประเภทเมล็ดข้าวโพด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากความแตกต่างของน้ำหนักข้าวโพด: การคำนวณความชื้นและสภาพสินค้า
แม้หลักฐานทางบัญชีของโจทก์จะปรากฏว่าจำนวนน้ำหนักข้าวโพดคงเหลือในรอบระยะเวลาบัญชีปีที่พิพาทกันขาดจำนวนไปเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่รับซื้อเข้ามาและขายออกไป แต่ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์ขายข้าวโพดตามจำนวนน้ำหนักที่ขาดหายไปโดยไม่ลงบัญชีเพราะข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่รู้กันอยู่ทั่วไปโดยสภาพของธรรมชาติว่าน้ำหนักจะเปลี่ยนแปลงไปตามความชื้นที่มีอยู่ในตัว ถ้ามีความชื้นมากน้ำหนักก็จะมากขึ้น ถ้ามีความชื้นน้อยน้ำหนักก็จะลดไปตามส่วน ทั้งก่อนโจทก์ส่งข้าวโพดไปขายต่างประเทศจะต้องอบให้เหลือความชื้นไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด น้ำหนักย่อมลดลงไปอีก การคำนวณน้ำหนักจึงมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้มากเพราะความชื้นแตกต่างกัน จำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปจากบัญชีมีเพียง 1,091.140 ตัน แต่โจทก์ส่งข้าวโพดออกไปต่างประเทศถึง700,000 เมตริกตันเศษ จึงเห็นได้ว่าจำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปดังกล่าวเกิดจากการคำนวณน้ำหนักความชื้นที่เปลี่ยนแปลงไปผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามสภาพของสินค้าประเภทนี้ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปมาถือว่าโจทก์ขายไปโดยไม่ลงบัญชี จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4609/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการหลายฉบับ แต่เป็นการกระทำผิดกรรมเดียว
แม้ว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยทำปลอมขึ้นและประทับตราปลอมคือหนังสือรับรองว่าได้รับอนุญาตเป็นผู้ขับรถจำนวน3 ฉบับ จะเป็นเอกสารต่างชนิดกับหนังสือรับรองใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถเป็นภาษาอังกฤษรวม 3 ฉบับ ซึ่งเป็นการปลอมหนังสือรับรองใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของบุคคลต่างคนกันก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและยึดเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวในคราวเดียวกันโดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำการปลอมและประทับตราปลอมเอกสารเหล่านั้นโดยมีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันจึงลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า แม้ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง ก็มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการขายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น โดยอายุความไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ในประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย และโจทก์ได้จดทะเบียนในประเทศไทยแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะขายสินค้าตามเครื่องหมายการค้านั้น การที่จำเลยจำหน่ายสินค้าที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ติดมาในประเทศไทย เป็นเหตุให้การขายของโจทก์ลดลง ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ อายุความตามสิทธิของโจทก์ที่ขอให้ห้ามจำเลยมิให้จำหน่ายรวมทั้งห้ามสั่งหรือนำเข้าซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มิใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายจึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4601/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สินสูญหาย ผู้เช่าซื้อไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อคงเหลือ แต่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เหมาะสม
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 นอกจากนี้ตามหนังสือบอกกล่าวของทนายโจทก์ถึงจำเลยทั้งสองก็ระบุชัดว่าโจทก์เลิกสัญญา จึงฟังได้ว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระต่อไปแม้ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 5จะระบุให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อจนครบในกรณีที่ทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้ออีกต่อไปก็ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ตกลงชำระค่าเสียหายเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างให้แก่โจทก์ในกรณีนี้ซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่ศาลมีอำนาจลดหย่อนลงได้หากเห็นว่าค่าเสียหายที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินควร เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อไปตามสัญญาข้อ 7 แต่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตรารอยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญาเมื่อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิริบรถยนต์และเรียกร้องค่าเสียหายได้ แต่ศาลอาจลดเบี้ยปรับได้
สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า เมื่อเจ้าของยึดทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนมา เพราะผู้เช่าซื้อไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธินำทรัพย์สินที่เช่าซื้อออกขายตามราคาที่เจ้าของเห็นสมควรโดยไม่ตองบอกกล่าวให้ผู้เช่าซื้อทราบ หากราคาที่ขายไม่พอชำระหนี้ ผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่ให้เจ้าของจนครบ ข้อกำหนดดังกล่าวตามสัญญาเช่าซื้อใช้บังคับได้โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ หากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ เนื่องจากราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นการคิดราคารถรวมกับค่าเช่า และการใช้รถจะต้องมีการเสื่อมราคา จึงสมควรลดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการประวิงคดี ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้เลื่อนการสืบพยาน
การส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ณ ภูมิลำเนาตามฟ้องมี ว. อายุประมาณ 23 ปี เต็มใจรับหมายไว้แทนเพราะอยู่บ้านเดียวกัน จำเลยที่ 1 กับ ว. นามสกุลเดียวกัน และไม่ปรากฎว่า ว. ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้ส่งหมายเรียกให้บันทึกเหตุผลที่รับหมายเรียกสำเนาคำฟ้องแทนว่าเพราะจำเลยที่ 1 ได้เดินทางไปติดต่อธุรกิจกับลูกค้าที่ต่างจังหวัดจึงถือว่าได้มีการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และไม่มีเหตุผลที่จะให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1เดินทางไปติดต่อธุรกิจกับลูกค้าที่ต่างจังหวัดในวันที่มีการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง จำเลยที่ 1 อ้างว่า ไปต่างจังหวัดระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ถึง 10 มีนาคม 2528 เมื่อกลับมาถึงบ้านจึงทราบว่าถูกฟ้องแต่จำเลยที่ 1 หาได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การในเวลาอันสมควรไม่ เพิ่งมายื่นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2528 อันเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ พฤติการณ์เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานจำเลยที่ 1ไปครั้งหนึ่งแล้ว ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าป่วยและไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อศาล ครั้นถึงวันนัดถัดมาจำเลยที่ 1ขอเลื่อนอีกอ้างว่าได้เดินทางไปประเทศอินเดียยังไม่กลับทั้งทนายโจทก์ก็คัดค้านว่าไม่ควรให้เลื่อน ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นการไม่นำพาต่อกำหนดนัดของศาลและเป็นการประวิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมดควบคู่กัน และพฤติการณ์แห่งการใช้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปจระเข้มีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยว่าแกรนด์แสลม และตัวหนังสืออักษรโรมันว่า GRANDSLAMยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าในจำพวก 48 รายการสินค้ายาสีฟันน้ำยาสระผม ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปจระเข้และมีตัวหนังสืออักษรโรมันว่า LACOSTE ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วสำหรับสินค้าจำพวก 48 รายการสินค้าน้ำหอม น้ำหอมชโลมตัวหลังอาบน้ำ น้ำหอมหลังโกนหนวด และน้ำหอมทาผิว แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปจระเข้เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งและอาจเรียกได้ว่าตราจระเข้เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าจะเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ต้องพิจารณาส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งตามลำพังหาได้ไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวหนังสืออักษรโรมันเป็นชื่อยี่ห้อสินค้าอ่านออกเสียงว่า ลาคอสท์ประกอบด้วยจระเข้อยู่เหนือตัวหนังสือดังกล่าว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนอกจากตัวหนังสืออักษรโรมันแล้ว ยังมีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยอ่านได้ชัดเจนว่า แกรนด์แสลม อยู่เหนือตัวหนังสืออักษรโรมันด้วย อันเป็นการบอกให้ทราบแน่ชัดว่าสินค้าของจำเลยเรียกชื่อยี่ห้อว่า แกรนด์แสลม ชื่อยี่ห้อและการอ่านออกเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงแตกต่างจากของโจทก์เป็นอันมากย่อมเป็นที่สังเกตของสาธารณชนทั่วไป และไม่ทำให้สาธารณชนทั่วไปที่ซื้อสินค้ายี่ห้อ แกรนด์แสลม เข้าใจผิดว่าสินค้านั้นเป็นสินค้ายี่ห้อลาคอสท์ของโจทก์ ส่วนคำว่าจระเข้หรือรูปจระเข้ก็มิใช่สิ่งบ่งเฉพาะ เป็นเพียงคำหรือชื่อสามัญทั่วไปโจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปจระเข้ดังกล่าวไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าคนละชนิดกับของโจทก์สาธารณชนย่อมไม่เกิดความสับสนหรือหลงผิดในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ไม่อาจเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แม้ผู้เสียภาษีจะเสียภาษีไม่ถูกต้อง และการรับเงินมัดจำถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
โจทก์ขายทาวน์เฮาส์โดยให้ผู้ซื้อแต่ละรายทำสัญญา 2 ฉบับคือ ทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดิน 1 ฉบับ และทำสัญญาจ้างบริษัท ม. ให้ตกแต่งบ้านอีก 1 ฉบับ ซึ่งความจริงไม่มีการตกแต่งแต่อย่างใด การที่โจทก์เสียภาษีการค้าโดยคำนวณราคาขายจากสัญญาจะซื้อขายบ้านอย่างเดียวจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะราคาตามสัญญาจะซื้อขายบวกด้วยราคาค่าตกแต่งมาคิดคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้าได้ โจทก์ทำสัญญาจะขายห้องชุดมอบให้กับผู้ที่จะซื้อ ข้อความในสัญญาที่ว่าผู้จะซื้อต้องวางมัดจำในวันทำสัญญา เป็นข้อความที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ จึงน่าเชื่อถือ ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่ามัดจำตามสัญญาจริง เมื่อโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของโจทก์ใหม่ อันทำให้ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้เปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย