พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้จดทะเบียน vs. ผู้ใช้ก่อน ต้องพิสูจน์สิทธิการใช้ในไทย
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯบัญญัติไว้ตอนต้นว่า "ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้"ซึ่งรับกับมาตรา 41 ที่บัญญัติว่า "ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงว่า (1) ผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของหรือ (2) ฯลฯ" ดังนั้น เมื่อจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แล้ว โจทก์ซึ่งอ้างว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: คำสั่งศาลต้องเป็นที่สุดก่อนการขายทอดตลาด การกระทำโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมีผลให้เพิกถอนการขายได้
คำสั่งของศาลที่จะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมหรือแยกทรัพย์สินหรือขอให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 309(1)(2) หรือ (3) และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอหรือคำคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายใน 2 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนั้น คำสั่งชี้ขาดของศาลจึงจะเป็นที่สุดแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน ให้ยกคำร้อง จึงมิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องรวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาด อันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้น มิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาด อันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะเลื่อนการขายทอดตลาดไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนี้ตามมาตรา 309 วรรคสองและจำเลยที่ 1 ก็ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไปในระหว่างที่ยังไม่มีคำสั่งของศาลในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาดซึ่งเป็นที่สุด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปในขณะที่คดีเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เช่นนี้จึงเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในคำร้องเป็นลายมือปลอมนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้น มิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาด อันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะเลื่อนการขายทอดตลาดไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนี้ตามมาตรา 309 วรรคสองและจำเลยที่ 1 ก็ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไปในระหว่างที่ยังไม่มีคำสั่งของศาลในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาดซึ่งเป็นที่สุด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปในขณะที่คดีเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เช่นนี้จึงเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในคำร้องเป็นลายมือปลอมนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดี: คำสั่งศาลต้องเป็นที่สุดก่อน เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงจะขายได้
คำสั่งของศาลที่จะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมหรือแยกทรัพย์สินหรือขอให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 309(1)(2) หรือ (3) และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอหรือคำคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายใน 2 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนั้น คำสั่งชี้ขาดของศาลจึงจะเป็นที่สุดแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน ให้ยกคำร้อง จึงมิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องรวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาด อันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้น มิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาด อันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะเลื่อนการขายทอดตลาดไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนี้ตามมาตรา 309 วรรคสองและจำเลยที่ 1 ก็ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไปในระหว่างที่ยังไม่มีคำสั่งของศาลในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาดซึ่งเป็นที่สุด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปในขณะที่คดีเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เช่นนี้จึงเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในคำร้องเป็นลายมือปลอมนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4489/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรถยนต์ประเภทผิดพลาด และสิทธิของนายทะเบียนในการปฏิเสธการต่อทะเบียน
รถยนต์คันพิพาทเดิมเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หลังจากดัดแปลงให้เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแล้ว เบาะสองแถวหน้าที่วางขวางตามตัวรถใช้นั่งในลักษณะปกติได้ 5 คน ส่วนพื้นที่ตอนท้ายของรถซึ่งมีเบาะอีก 2 เบาะ วางไว้กับพื้นรถตามความยาวของรถ ใช้เป็นที่เก็บยางอะไหล่และมีรอยวงล้อหลังโป่งนูนขึ้นมาทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นที่เก็บอุปกรณ์ของรถและใช้เป็นที่บรรทุกสิ่งของไม่อาจติดตั้งเบาะสำหรับคนนั่งในลักษณะการนั่งอย่างธรรมดาได้ เบาะที่วางไว้กับพื้นรถดังกล่าวไม่มีพนักพิงและเมื่อนั่งแล้วผู้นั่งต้องชันเข่าขึ้นเพราะไม่มีที่ห้อยเท้า ศีรษะก็อยู่ติดกับหลังคารถ ลักษณะของเบาะดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นที่นั่งตามความหมายในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2524)ที่จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณจำนวนที่นั่งในรถตามกฎกระทรวงดังกล่าว รถยนต์พิพาทจึงเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน การที่นายทะเบียนยานพาหนะรับจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนมาแต่แรกไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์มาขอต่อทะเบียนและชำระภาษีในประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนโดยไม่ยอมจดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนยานพาหนะมีอำนาจที่จะไม่รับชำระภาษีและไม่ต่อทะเบียนรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ผู้รับประเมินมีสิทธิฟ้องเมื่อถูกประเมินภาษีเกินจริง แม้จะรับประเมินไว้แล้ว
อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทกันในเรื่องภาษีโรงเรือนในคดีนี้นั้นเป็นของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังแจ้งรายการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2529 และพ.ศ. 2530 ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้มายังโจทก์โดยตรงในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประเมินภาษีโรงเรือน ทั้งโจทก์ก็ไปชำระภาษีประจำปี พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2530 ตามจำนวนที่ได้รับประเมินในนามของโจทก์เอง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ก็ยอมรับชำระภาษีดังกล่าวไว้เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือน เมื่อโจทก์เห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีเกินไปโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินไปนั้นคืนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ. 2529เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2526 กับปี พ.ศ. 2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับ โรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2529ก็สูงกว่าในปี พ.ศ. 2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้นแต่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปีพ.ศ. 2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ. 2528 เป็นหลัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ผู้เสียภาษีมีสิทธิโต้แย้งการประเมินที่สูงเกินจริง และศาลต้องใช้ค่ารายปีปีก่อนเป็นหลัก
อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทกันในเรื่องภาษีโรงเรือนในคดีนี้นั้นเป็นของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังแจ้งรายการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2530 ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้มายังโจทก์โดยตรงในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประเมินภาษีโรงเรือน ทั้งโจทก์ก็ไปชำระภาษีประจำปี พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2530 ตามจำนวนที่ได้รับประเมินในนามของโจทก์เองพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระภาษีดังกล่าวไว้เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือน เมื่อโจทก์เห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีเกินไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินไปนั้นคืนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ.2529 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2526 กับปี พ.ศ.2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2529 ก็สูงกว่าในปีพ.ศ.2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้น แต่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปี พ.ศ.2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ.2528เป็นหลัก
ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ.2529 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2526 กับปี พ.ศ.2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2529 ก็สูงกว่าในปีพ.ศ.2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้น แต่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปี พ.ศ.2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ.2528เป็นหลัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการไต่สวนและประเมินภาษีเมื่อพบความผิดพลาดในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า โจทก์ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรโดยแสดงเงินได้และหักค่าใช้จ่ายไว้ผิดประเภทเป็นเหตุให้จำนวนภาษีน้อยกว่าที่ควรต้องเสีย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมิน มีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนแล้วประเมินภาษีอากรให้ถูกต้องตามมาตรา 1 และ 20 แห่งประมวลรัษฎากรได้โดยไม่จำเป็นต้องประเมินแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังโจทก์ผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา 18 วรรคแรกก่อนแต่อย่างใด เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการทำงานในสถานพยาบาลของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีแม่เมาะและในสถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่แม่เมาะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนเงินได้จากคลินิก ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรักษาผู้ป่วยโดยไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนนั้นเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการไต่สวนและประเมินภาษี เมื่อพบรายการที่ยื่นไม่ถูกต้อง
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า โจทก์ยื่นรายการเพื่อเสียภาษี-อากรโดยแสดงเงินได้และหักค่าใช้จ่ายไว้ผิดประเภท เป็นเหตุให้จำนวนภาษีน้อยกว่าที่ควรต้องเสีย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมิน มีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนแล้วประเมินภาษีอากรให้ถูกต้องตามมาตรา 1 และ 20แห่งประมวลรัษฎากรได้ โดยไม่จำเป็นต้องประเมินแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังโจทก์ผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา 18 วรรคแรกก่อนแต่อย่างใด
เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการทำงานในสถานพยาบาลของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีแม่เมาะและในสถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่แม่เมาะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนเงินได้จากคลินิกซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรักษาผู้ป่วยโดยไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนนั้น เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการทำงานในสถานพยาบาลของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีแม่เมาะและในสถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่แม่เมาะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนเงินได้จากคลินิกซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรักษาผู้ป่วยโดยไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนนั้น เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินที่ไม่เข้าข่ายการค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
ที่ดินที่โจทก์รับซื้อฝากไว้ไม่มีทางรถยนต์เข้าถึง เนื้อที่เพียง 1 ไร่ 74 ตารางวามีบ้านที่ผู้อื่นปลูกอยู่ก่อนแล้วหลายหลัง ตั้งอยู่ใกล้สุเหร่าซึ่งมิใช่ทำเลการค้า และโจทก์มิใช่บุคคลผู้มีอาชีพค้าขายที่ดิน พฤติการณ์ที่โจทก์รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ก็น่าเชื่อว่าประสงค์จะได้ดอกเบี้ยเท่านั้นและโจทก์ขายที่ดินแปลงนี้ภายหลังจากที่โจทก์ได้กรรมสิทธิ์มาแล้วถึง 6 - 7 ปี โดยมิได้ทำการปรับปรุงที่ดิน อีกทั้งเป็นการขายให้แก่ญาติของผู้ขายฝากที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ดินแปลงนั้นในราคาเท่าที่ซื้อฝากไว้เพราะความสงสารที่เป็นคนยากจน ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีการค้าก็ต่อเมื่อเป็นรายรับที่ได้มาจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเท่านั้น เมื่อการขายที่ดินของโจทก์มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีการค้าก็ต่อเมื่อเป็นรายรับที่ได้มาจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเท่านั้น เมื่อการขายที่ดินของโจทก์มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโดยปราศจากมอบหมาย: ธนาคารต้องรับผิดต่อเช็คที่พนักงานลงนามโดยเกินอำนาจ หากสร้างความเชื่อมั่นโดยสุจริต
จำเลยที่ 2 เป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอำนาจทำคำรับรองเช็คว่าใช้เงินได้ และจำเลยที่ 2 ยังมีอำนาจลงลายมือชื่อในตำแหน่งผู้จัดการของจำเลยที่ 1ได้ด้วย ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1ลงบนด้านหลังเช็คซึ่งจำเลยที่ 4 เป็นผู้สั่งจ่าย แล้วนำไปแลกเงินจากโจทก์ แม้ตราที่ประทับจะใช้สำหรับกรณีลูกค้าของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงิน และเป็นการกระทำเกินอำนาจจำเลยที่ 2 ที่ 3ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์และการปฏิบัติของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันควรเชื่อว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 อยู่ภายในขอบอำนาจที่จะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 1 จึงร่วมรับผิดต่อโจทก์