คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปิ่นทิพย์ สุจริตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโดยปราศจากมอบหมาย: ธนาคารต้องรับผิดต่อเช็คที่พนักงานลงนามโดยเกินอำนาจ หากสร้างความเชื่อมั่นโดยสุจริต
จำเลยที่ 2 เป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอำนาจทำคำรับรองเช็คว่าใช้เงินได้ และจำเลยที่ 2 ยังมีอำนาจลงลายมือชื่อในตำแหน่งผู้จัดการของจำเลยที่ 1ได้ด้วย ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1ลงบนด้านหลังเช็คซึ่งจำเลยที่ 4 เป็นผู้สั่งจ่าย แล้วนำไปแลกเงินจากโจทก์ แม้ตราที่ประทับจะใช้สำหรับกรณีลูกค้าของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงิน และเป็นการกระทำเกินอำนาจจำเลยที่ 2 ที่ 3ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์และการปฏิบัติของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันควรเชื่อว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 อยู่ภายในขอบอำนาจที่จะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 1 จึงร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุห่อผนึก ต้องไม่ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 5(8)(จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 179) พ.ศ. 2529บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วเฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรและมิได้ระบุในบัญชีที่ 1บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น การขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วจะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ก็ต่อเมื่อสินค้าดังกล่าวมิได้ระบุในบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ด้วย สินค้าของโจทก์เป็นวุ้นเส้นและเส้นหมี่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุอยู่ในห่อกระดาษแก้ว ระบุชื่อสินค้า ตราของสินค้า กับมีภาพประกอบและระบุว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก หรือที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อที่มีชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่บนหรือในภาชนะหรือหีบห่อซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากภายนอก จึงเป็นสินค้าที่ระบุในบัญชีที่ 1หมวด 1(4)(ข) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8)(จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีสินค้าอาหารแปรรูปต้องไม่ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา แม้ผลิตจากแป้งหรือถั่ว
มาตรา 5 (8) (จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ.(ฉบับที่ 179) พ.ศ.2529 บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วเฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรและมิได้ระบุในบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราช-กฤษฎีกา ดังนั้น การขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วจะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ก็ต่อเมื่อสินค้าดังกล่าวมิได้ระบุในบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ด้วย
สินค้าของโจทก์เป็นวุ้นเส้นและเส้นหมี่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุอยู่ในห่อกระดาษแก้ว ระบุชื่อสินค้า ตราของสินค้า กับมีภาพประกอบและระบุว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก หรือที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อที่มีชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่บนหรือในภาชนะหรือหีบห่อซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากภายนอก จึงเป็นสินค้าที่ระบุในบัญชีที่ 1 หมวด 1 (4)(ข) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5 (8) (จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบภาษีจากเอกสารของนิติบุคคลอื่นเป็นไปตามกฎหมาย หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้เสียภาษีแสดงรายการไม่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า หากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน โดยไม่จำกัดว่าเหตุอันควรเชื่อดังกล่าวจะเกิดจากเอกสารของผู้ยื่นรายการนั้นเองหรือของผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระอากรและเงินเพิ่มหลังเพิกสิทธิส่งเสริมการลงทุน จำเลยต้องชำระตามกฎหมายศุลกากร
กรณีของจำเลยไม่อาจบังคับตามมาตรา 54 วรรคสอง และมาตรา 55 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 เพราะคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมิได้มีคำเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขตามมาตรา 54 วรรคสอง แต่คณะกรรมการใช้อำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์แก่จำเลย ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง และได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีอากรและภาษีอากรเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 55 วรรคสาม แต่จำเลยมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จัตวา ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์คิดเงินเพิ่มจากจำเลยเกินเงินภาษีอากร เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคสี่นั้น จำเลยมิได้กล่าวอ้างความข้อนี้มาในคำให้การ ทั้งยังเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย เพราะศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยต้องชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาหาใช่ต้องชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 55 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการส่งเสริมการลงทุน การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และการขอรับสิทธิเพิ่มเติม
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ.2505 เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 แต่โจทก์ยังคงได้รับการส่งเสริมการลงทุนกับได้รับสิทธิและประโยชน์ตามข้อ 37 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยโจทก์ได้รับสิทธิและประโยชน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมมีกำหนดห้ารอบระยะเวลาบัญชีการเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ต่อมามี พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ซึ่งได้ประกาศใช้และให้ยกเลิก พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ.2505 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 วรรคหนึ่งให้สิทธิและประโยชน์อย่างเดียวกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ.2505และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งเป็นสิทธิและประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่แล้ว แต่มาตรา 31วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ได้บัญญัติถึงสิทธิและประโยชน์ขึ้นใหม่ ซึ่งโจทก์จะได้รับสิทธิและประโยชน์นี้หรือไม่ต้องพิจารณาตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520 คือสิทธิของโจทก์มีอยู่อย่างใดตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกก็คงได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปแต่สิทธิตามที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 กำหนดเพิ่มเติมขึ้นใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 แต่การที่จะใช้สิทธิดังกล่าวต้องขอรับสิทธิและประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 เมื่อสิทธิและประโยชน์ในการนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสิทธิและประโยชน์ที่เพิ่งกำหนดขึ้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 โจทก์จะได้รับสิทธิและประโยชน์ดังกล่าว โจทก์จะต้องขอรับสิทธิตามมาตรา 58 และจะต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 31 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ขอรับสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมาย โจทก์ก็ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่จะนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการส่งเสริมการลงทุน: การขอรับสิทธิประโยชน์ใหม่ตามกฎหมายฉบับใหม่
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2505เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 227 แต่โจทก์ยังคงได้รับการส่งเสริมการลงทุนกับได้รับสิทธิและประโยชน์ตามข้อ 37 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยโจทก์ได้รับสิทธิและประโยชน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมมีกำหนดห้ารอบระยะเวลาบัญชีการเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ต่อมามีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งได้ประกาศใช้และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมพ.ศ. 2505 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 31 วรรคหนึ่งให้สิทธิและประโยชน์อย่างเดียวกับ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2505 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งเป็นสิทธิและประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่แล้ว แต่มาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520ได้บัญญัติถึงสิทธิและประโยชน์ขึ้นใหม่ ซึ่งโจทก์จะได้รับสิทธิและประโยชน์นี้หรือไม่ต้องพิจารณาตามมาตรา 58 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 คือสิทธิของโจทก์มีอยู่อย่างใดตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกก็คงได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปแต่สิทธิตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 กำหนดเพิ่มเติมขึ้นใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 แต่การที่จะใช้สิทธิดังกล่าวต้องขอรับสิทธิและประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เมื่อสิทธิและประโยชน์ในการนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสิทธิและประโยชน์ที่เพิ่งกำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520โจทก์จะได้รับสิทธิและประโยชน์ดังกล่าว โจทก์จะต้องขอรับสิทธิตามมาตรา 58 และจะต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ขอรับสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมาย โจทก์ก็ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่จะนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประเมินภาษีหลังเลิกห้างหุ้นส่วน และการรับผิดของหุ้นส่วน
ในการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อผู้ชำระบัญชีได้เลือกกำหนดเอาสถานที่ใดเป็นสำนักงานชำระบัญชี ต้องถือว่าสถานที่นั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการชำระบัญชีของห้างนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49
แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาเฉพาะการชำระบัญชี, การแจ้งประเมินภาษี, และความรับผิดของผู้ถือหุ้น
ในการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อผู้ชำระบัญชีได้เลือกกำหนดเอาสถานที่ใดเป็นสำนักงานชำระบัญชี ต้องถือว่าสถานที่นั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการชำระบัญชีของห้างนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49 แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องระบุชัดเจนถึงผู้ค้ำประกันและผู้รับประกัน มิฉะนั้นใช้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีแต่จำเลยที่ 3 ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันไว้เท่านั้น โดยข้อความในสัญญามิได้ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของผู้ใดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันนั้นมาให้โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ทั้งข้อความในสัญญาก็กล่าวถึงการค้ำประกันต่อบริษัทโดยตลอด มิได้บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 3 เจตนาจะค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์แต่อย่างใด โจทก์ย่อมไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ได้
of 98