คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปิ่นทิพย์ สุจริตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องระบุชัดเจนถึงผู้ค้ำประกันและผู้รับประกัน มิฉะนั้นใช้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีแต่จำเลยที่ 3 ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันไว้เท่านั้น โดยข้อความในสัญญามิได้ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของผู้ใดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันนั้นมาให้โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ทั้งข้อความในสัญญาก็กล่าวถึงการค้ำประกันต่อบริษัทโดยตลอด มิได้บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 3 เจตนาจะค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์แต่อย่างใด โจทก์ย่อมไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: การไม่ออกคำสั่งเวรรักษาความปลอดภัย หากมีคำสั่งเดิมอยู่แล้ว ไม่ถือเป็นประมาทเลินเล่อ
ในขณะที่มีคนร้ายลอบเข้าไปวางเพลิงสำนักงานป่าไม้จังหวัดทำให้ทรัพย์สินเสียหายไม่มีผู้อยู่เวรและตรวจเวร แต่ในระหว่างเกิดเหตุมีคำสั่งตั้งเวรยามกำหนดเจ้าหน้าที่เวรยามไว้โดยแน่ชัดสามารถปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยมีผู้ช่วยป่าไม้จังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจเวรยามจำเลยซึ่งเป็นป่าไม้จังหวัดหาจำต้องออกคำสั่งตั้งเวรยามซ้ำอีกไม่ การที่จำเลยมิได้ออกคำสั่งตั้งเวรยามใหม่จึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อดังที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คประกันหนี้: สิทธิในการเบิกเงินเช็คเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ แม้เป็นเช็คเพื่อประกัน ก็มีผลผูกพันตามสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์จริง โดยออกให้เพื่อประกันเงินกู้ตามสัญญากู้ซึ่งระบุว่า จำเลยได้มอบเช็คพิพาทซึ่งสั่งจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินกู้และลงวันที่สั่งจ่ายวันเดียวกับวันครบกำหนดชำระเงินกู้ให้โจทก์ไว้เป็นประกัน ข้อความในสัญญากู้ดังกล่าวแสดงว่าเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้เงินกู้ หากจำเลยไม่ชำระโจทก์ก็มีสิทธินำเช็คพิพาทไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อชำระหนี้เงินกู้ได้ หาใช่เป็นกรณีเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ดังจำเลยต่อสู้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การฟังได้แล้วว่า โจทก์มีสิทธินำเช็คพิพาทไปเบิกเงิน และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ คดีจึงพอวินิจฉัยได้แล้ว หามีความจำเป็นต้องสืบพยานใด ๆ ต่อไปอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทประกันหนี้กู้ สิทธิเบิกจ่ายเมื่อครบกำหนด ไม่ใช่เช็คไม่มีมูลหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์จริง โดยออกให้เพื่อประกันเงินกู้ตามสัญญากู้ซึ่งระบุว่า จำเลยได้มอบเช็คพิพาทซึ่งสั่งจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินกู้และลงวันที่สั่งจ่ายวันเดียวกับวันครบกำหนดชำระเงินกู้ให้โจทก์ไว้เป็นประกัน ข้อความในสัญญากู้ดังกล่าวแสดงว่าเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้เงินกู้ หากจำเลยไม่ชำระโจทก์ก็มีสิทธินำเช็คพิพาทไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อชำระหนี้เงินกู้ได้ หาใช่เป็นกรณีเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ดังจำเลยต่อสู้ไม่
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การฟังได้แล้วว่า โจทก์มีสิทธินำเช็คพิพาทไปเบิกเงิน และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ คดีจึงพอวินิจฉัยได้แล้ว หามีความจำเป็นต้องสืบพยานใด ๆ ต่อไปอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ทุนค่าศึกษาต่างประเทศ: ทุนส่วนตัว vs. ทุนที่รัฐบาลได้รับมอบ
การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนของสภาประชากรแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนตัวโดยมิได้ผ่านทางหน่วยงานราชการ แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญากับโจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาแล้วไม่กลับมารับราชการหรือกลับมารับราชการเป็นเวลาน้อยกว่า 3 เท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือที่ได้รับเงินเดือน รวมทั้งเงินเพิ่มสุดแต่เวลาใดจะมากกว่ากัน จำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้คืนซึ่งทุน และหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและหรือเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากทางราชการในระหว่างเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรืออบรม รวมทั้งเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็มีผลเพียงต้องชดใช้เงินเดือนที่ได้รับระหว่างศึกษาต่อพร้อมเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ไม่ต้องชดใช้ทุนคืนให้โจทก์แต่อย่างใด เพราะเงินทุนดังกล่าวมิได้เป็นเงินที่ได้รับจากทางราชการในระหว่างได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรม และมิได้เป็นทุนที่เจ้าของทุนมอบให้ทางรัฐบาลไทยหรือสถาบันในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนกรณีทุนส่วนตัว-ทุนรัฐบาล: ศาลฎีกาตัดสินว่าจำเลยไม่ต้องชดใช้ทุนส่วนตัวที่ได้รับโดยตรง
การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนของสภาประชากรแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนตัวโดยมิได้ผ่านทางหน่วยงานราชการ แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญากับโจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาแล้วไม่กลับมารับราชการหรือกลับมารับราชการเป็นเวลาน้อยกว่า 3 เท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือที่ได้รับเงินเดือน รวมทั้งเงินเพิ่มสุดแต่เวลาใดจะมากกว่ากัน จำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้คืนซึ่งทุน และหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและหรือเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากทางราชการในระหว่างเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรืออบรม รวมทั้งเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็มีผลเพียงต้องชดใช้เงินเดือนที่ได้รับระหว่างศึกษาต่อพร้อมเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ไม่ต้องชดใช้ทุนคืนให้โจทก์แต่อย่างใด เพราะเงินทุนดังกล่าวมิได้เป็นเงินที่ได้รับจากทางราชการในระหว่างได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรม และมิได้เป็นทุนที่เจ้าของทุนมอบให้ทางรัฐบาลไทยหรือสถาบันในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ: ความเห็นต่างและความถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่
การที่ผู้คัดค้านไม่เห็นพ้องด้วยกับการแต่งตั้งกรรมการใหม่8 คน ของมูลนิธินั้น มิได้แสดงว่าความเห็นของผู้คัดค้านจะถูกต้องเสมอไป การแต่งตั้งกรรมการในกรณีเช่นนี้ย่อมจะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนพอใจได้ยาก การขัดแย้งกันในด้านความเห็นย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา การที่กรรมการใหม่ปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงกับผู้คัดค้านก็มิได้แสดงว่าผู้คัดค้านเป็นฝ่ายที่ปฏิบัติศาสนกิจถูกต้องกว่ากรรมการใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเฉพาะ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจ
โจทก์ฟ้องคดีนี้มีใจความสำคัญว่า โจทก์ทั้งเจ็ดกับพวกในฐานะที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถอดถอน พ. กับพวกซึ่งเป็นกรรมการประจำมัสยิดออกจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาสนสมบัติ และเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิด ทำให้เกิดการแตกแยกต่อมาจำเลยในฐานะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ประชุมมีมติและคำสั่งให้แก้ไขมติและคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดังกล่าวเป็นว่าให้ภาคทัณฑ์ พ.กับพวกและให้กลับเข้าดำรงตำแหน่งต่อไปดังเดิม เช่นนี้เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีในฐานะที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง มิได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะกระทำได้ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8 โดยมีระเบียบการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ. 2492 ใช้บังคับซึ่งในหมวด 2 ของระเบียบดังกล่าวนี้บัญญัติในเรื่องการแต่งตั้งและถอดถอนให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดโดยเฉพาะโดยมิได้ระบุให้สิทธิกรรมการที่ถูกถอดถอนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ ต่างกับหมวด 3 ในข้อ 21 เรื่องจริยาของกรรมการอิสลามประจำมัสยิดที่ว่า กรณีที่กรรมการอิสลามประจำมัสยิดถูกถอดถอนจากตำแหน่งเพราะละเมิดจริยาตามหมวด 3มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเพื่อวินิจฉัย และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้เมื่อปรากฏว่าตามคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้วินิจฉัยให้ พ.ออกจากตำแหน่งอิหม่ามมัสยิดร.ด้วยสาเหตุตามหมวด 2 ของระเบียบดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการขาดคุณสมบัติตามหมวด 1เป็นส่วนใหญ่และส่วนสำคัญ โดยอาศัยสาเหตุแห่งการละเมิดจริยาตามหมวด3 เป็นข้ออ้างเพิ่มเติมเท่านั้นคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขมติและคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการจดทะเบียนโฉนดที่ดินทับที่หลวง เจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อต้องรับผิด
หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 1ได้ตรวจสอบเอกสารก่อนย่อมทราบว่าที่พิพาทเป็นที่หลวงอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันจะนำไปออกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำการโอนหาได้ไม่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนที่พิพาทให้แก่มารดาโจทก์โดยไม่ได้ตรวจสอบก่อนจึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่มารดาโจทก์และโจทก์เนื่องจากไม่ได้รับประโยชน์จากที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดจำเลยที่ 1 และกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้น มารดาโจทก์ซื้อที่พิพาทมาจากบุคคลอื่น และบุคคลผู้นั้นเป็นผู้รับประโยชน์จากการขายที่พิพาท ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงไม่ได้เกิดจากจำเลยทั้งสองเสียทั้งหมดความเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาจะต้องลดลงตามส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912-3913/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งราคาซื้อขายหลักทรัพย์เท็จ แม้กฎหมายแก้ไข แต่ความผิดยังคงมีอยู่ หากองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทุกคนร่วมกันซื้อหุ้นจำนวน 4,500 หุ้น ให้โจทก์ในราคาเพียงหุ้นละ 265 บาท แต่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าซื้อในราคาหุ้นละ 423 บาท คิดเงินจากโจทก์เกินไปถึง 711,000 บาท กับดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่ง โดยจำเลยมีเจตนาทุจริต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 มาตรา 21 และมีโทษตามมาตรา 42 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 ยกเลิกความในมาตรา 21 และ 42 เดิมก็ตาม แต่ในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่แก้ไขใหม่นี้ก็ยังคงบัญญัติลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และหรือการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาซื้อหรือขายของหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตซึ่งฟ้องของโจทก์ดังกล่าวก็ได้บรรยายมาด้วยว่า จำเลยทุกคนร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับราคาซื้อหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาต อันเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 42 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ว พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 จึงมิได้ยกเลิกความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
of 98