พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะคู่ความ: สำนักงานที่ไม่มีสภาพบุคคล ไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และคำว่าบุคคล นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสำนักงานกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวเป็นเพียงสำนักงานที่มีคณะบุคคลเป็นผู้บริหาร จึงมิใช่บุคคลตามกฎหมายไม่อาจเป็นคู่ความตามกฎหมายไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยแจ้งภาษีเงินได้ในนามของโจทก์ หรือการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาคำอุทธรณ์ที่อุทธรณ์ในนามของโจทก์ ไม่ทำให้โจทก์มีสภาพเป็นบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพบุคคลและอำนาจฟ้อง: สำนักงานที่ไม่มีสภาพนิติบุคคล ไม่อาจเป็นคู่ความได้
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และคำว่า บุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำนักกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาย เป็นเพียงสำนักที่มีคณะบุคคลเป็นผู้บริหาร จึงมิใช่บุคคลตามกฎหมายไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยแจ้งภาษีเงินได้ในนามของโจทก์ หรือการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาคำอุทธรณ์ที่อุทธรณ์ในนามของโจทก์ ไม่ทำให้โจทก์ซึ่งไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย กลับกลายเป็นมีสภาพบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร่วม: แม้มีข้อตกลงฟ้องศาลแพ่ง แต่จำเลยอื่นไม่ได้เป็นคู่สัญญา และมูลคดีเดียวกัน ศาลจังหวัดก็มีอำนาจพิจารณาได้
แม้ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมีข้อตกลงว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากสัญญาให้นำข้อพิพาทขึ้นฟ้องร้องยังศาลแพ่งสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดปทุมธานีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการเรียกร้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดใช้เงินค่าทดแทนจำนวนเดียวกัน อันเป็นมูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 5 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการซ่อมแซม แม้ไม่มีการรับรอง ก็ใช้ได้หากมีพยานยืนยัน และการคิดดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
ข้อเท็จจริงเชื่อ ได้ว่าโจทก์ได้จัดการซ่อมรถแทรกเตอร์ให้แก่จำเลยมีรายการตามเอกสารจริง แม้เอกสารนั้นเป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเอง โดยไม่มีจำเลยหรือตัวแทนของจำเลยรับรองความถูกต้องกรณีดังกล่าวก็ไม่อยู่ในบังคับกฎหมายให้จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยต้องลงชื่อรับรองความถูกต้อง ศาลรับฟังเอกสารนั้นได้ คำฟ้องโจทก์ขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ค้างชำระจนถึงวันที่จำเลยจะชำระเสร็จ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ใช่ตัวแทนกรมอนามัยในการฟ้องคดีแทน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการ และกำหนดอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดเท่านั้น หาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลางที่เป็นผู้เสียหายไม่ เมื่อโจทก์มิได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ผู้ว่าฯ ไม่สามารถฟ้องแทนหน่วยงานส่วนกลางที่เป็นผู้เสียหายได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดเท่านั้นหาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลาง คือ กรมอนามัย ผู้เสียหายไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ใช่ตัวแทนหน่วยงานส่วนกลาง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดเท่านั้นหาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลาง คือ กรมอนามัย ผู้เสียหายไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความเสียหาย: ผู้ว่าราชการจังหวัดมิได้มีอำนาจฟ้องแทนหน่วยงานส่วนกลาง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน2515 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดเท่านั้นหาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลางคือกรมอนามัยผู้เสียหายไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดกรมอนามัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: แม้ต่างจำพวกสินค้า แต่หากทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ ก็ถือเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY" อ่านว่า"ลักกี้"แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริง ในจำพวกสินค้าประเภท 51 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า"LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้ " แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันและจำนวนตัวอักษรเท่ากันตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกันแม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียวกับโจทก์ สาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ดังนี้ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยงดใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY"อ่านว่า "ลักกี้ " แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริงในจำพวกสินค้าประเภท 50 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้" แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน และจำนวนตัวอักษรเท่ากัน ตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกัน แม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียว กับโจทก์ ดังนั้นสาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยงดใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้