คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปิ่นทิพย์ สุจริตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: แม้ต่างจำพวกสินค้า แต่หากทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ ก็ถือเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY" อ่านว่า"ลักกี้"แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริง ในจำพวกสินค้าประเภท 51 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า"LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้ " แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันและจำนวนตัวอักษรเท่ากันตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกันแม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียวกับโจทก์ สาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ดังนี้ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยงดใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ - สิทธิในที่ดิน - การซื้อขายจากผู้ไม่มีสิทธิ - เจ้าของที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 นำเอาที่พิพาทของโจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3ก.) เป็นชื่อของตน และโอนขายที่พิพาทไป 2 แปลงแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม ที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทดังกล่าวเท่ากับซื้อไปจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจะขาย แม้จำเลยที่ 2 จะซื้อด้วยความสุจริตเสียค่าตอบแทนและครอบครองที่พิพาทไว้ ก็ไม่ผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงและจะครอบครองไว้นานสักเพียงใด ก็เป็นการครอบครองแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของอยู่ตราบนั้นจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิในที่พิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การซื้อที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิ ไม่ทำให้เกิดสิทธิแก่ผู้ซื้อ แม้จะสุจริตและครอบครองต่อเนื่อง
จำเลยที่ 1 นำเอาที่พิพาทของโจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3ก.) เป็นชื่อของตน และโอนขายที่พิพาทไป2 แปลงแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม ที่จำเลยที่ 2ซื้อที่พิพาทดังกล่าวเท่ากับซื้อไปจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจะขาย แม้จำเลยที่ 2 จะซื้อด้วยความสุจริตเสียค่าตอบแทนและครอบครองที่พิพาทไว้ ก็ไม่ผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงและจะครอบครองไว้นานสัก เพียงใด ก็เป็นการครอบครองแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของอยู่ตราบนั้นจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิในที่พิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการถอนอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลเมื่อโจทก์เปลี่ยนความเห็น
โจทก์ได้ตั้ง ช. เป็นทนายให้มีอำนาจอุทธรณ์และถอนอุทธรณ์ด้วย ต่อมา ช. ได้ขอถอนอุทธรณ์ในนามของโจทก์ โดยให้เหตุผลการถอนอุทธรณ์ว่าเพราะตกลงกับจำเลยได้ ศาลชั้นต้นได้สอบถาม ช.และตัวจำเลยแล้ว ช. ก็ยืนยันว่าโจทก์ขอถอนอุทธรณ์และไม่ติดใจบังคับคดีกับจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อไป ส่วนจำเลยก็ยืนยันไม่คัดค้านเช่นกัน ฉะนั้นการที่ตัวโจทก์ยื่นคำร้องในวันนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งคำร้องขอถอนอุทธรณ์โดยทนายของโจทก์ดังกล่าวว่าโจทก์ไม่ถอนอุทธรณ์ โดยมิได้ให้เหตุผลว่าคำร้องขอถอนอุทธรณ์ที่ทนายโจทก์ยื่นแทนโจทก์นั้นไม่ชอบอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงมีความเห็นขัดแย้งกับทนายโจทก์ในเรื่องขอถอนอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธในเรื่องตกลงกับจำเลยได้ตามคำร้องขอถอนอุทธรณ์ที่ ช.ทนายโจทก์อ้างถึง ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของตัวโจทก์ดังกล่าวจึงชอบแล้วเพราะหากไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนอุทธรณ์แต่ให้พิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป ก็อาจทำให้จำเลยเสียเปรียบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาดหัวข่าวเท็จและการถอนใบอนุญาตสื่อ
การพาดหัวหนังสือพิมพ์ว่า "จับทูตซาอุ ฯ บงการฆ่า3 เพื่อนร่วมชาติ" ซึ่งเป็นเท็จนั้น เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อ 2(6) และข้อ 4 แห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะดำเนินการแก่ผู้ร้องตามข้อ 7และปรากฏว่าหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องได้เคยถูกเตือนมาแล้ว 2 ครั้งแต่ยังฝ่าฝืนข้อ 4 ซ้ำอีก ดังนั้น ที่ผู้คัดค้านใช้ดุลพินิจสั่งถอนใบอนุญาตบรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสอง จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาดหัวข่าวที่เป็นเท็จสร้างความเข้าใจผิดและขัดต่อข้อห้ามของคำสั่ง คปป. ทำให้มีอำนาจสั่งถอนใบอนุญาต
การพาดหัวหนังสือพิมพ์ว่า "จับทูตซาอุฯ บงการฆ่า 3 เพื่อนร่วมชาติ" นั้น ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดในทันทีนั้นว่ามีการจับทูต ซึ่งหมายถึงเอกอัครราชทูต หรืออัครราชทูต หรืออุปทูต หรือบุคคลในระดับเดียวกัน ฐานเป็นผู้บงการฆ่าเพื่อนร่วมชาติ 3 คน ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะความจริงในขณะนั้นยังไม่มีการจับเจ้าหน้าที่ระดับทูต หรือระดับใดของสถานทูตซาอุดิอาระเบีย ฉะนั้นการพาดหัวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นเท็จ เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อ 2(6) และ ข้อ 4 แห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานครผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะดำเนินการแก่ผู้ร้องตามข้อ 7และปรากฏว่าหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องได้ถูกเตือน มาแล้ว 2 ครั้งแต่ยังฝ่าฝืนข้อ 4 ซ้ำอีก ดังนั้น เจ้าพนักงานการพิมพ์ผู้คัดค้านจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจ สั่งถอนใบอนุญาตบรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาแท้จริงนำเข้า: ราคาสำแดงครั้งสุดท้ายก่อนพิพาทเป็นเกณฑ์ หากราคาลดลงผิดปกติ ศาลไม่รับฟังเหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล
โจทก์นำเข้าฝาขวดอลูมิเนียมชนิด 1.5 และ 2.5 ออนซ์ จากบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศ ครั้งสุดท้ายก่อนเกิดกรณีพิพาทได้สำแดงราคาไว้ 104.18 และ 110.80 เหรียญสิงคโปร์ ต่อหนึ่งพันฝา ซึ่งการประเมินราคาดังกล่าวไม่มีปัญหาระหว่างโจทก์และจำเลย จึงต้องถือว่าราคาที่สำแดงไว้ในคราวสุดท้ายก่อนเกิดกรณีพิพาทโจทก์จำเลยยอมรับว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ต่อมาโจทก์นำเข้าฝาขวดอลูมิเนียมทั้งสองขนาดดังกล่าวอันเป็นครั้งพิพาทรวม 9 ครั้ง ระยะเวลาที่นำเข้าแต่ละครั้งห่างจากที่โจทก์นำเข้าครั้งสุดท้ายประมาณ 5 ถึง 11 เดือนโดยโจทก์สำแดงราคาสินค้าเท่ากันทุกครั้ง คือ ชนิด 1.5 และ 2.5 ออนซ์ราคา 62.80 และ 78.10 เหรียญสิงคโปร์ต่อหนึ่งพันฝา ซึ่งเป็นราคาที่ลดลงมากกว่าปกติ โดยไม่มีข้อเท็จจริงที่จะชี้ ให้เห็นว่าราคาที่ลดลงมานั้นเป็นราคาแท้จริงในท้องตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปจากราคาเดิมกรณีจึงต้องถือว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าในคราวที่เป็นกรณีพิพาทกันในคดีนี้มีราคาเท่ากับนำเข้าครั้งสุดท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: สัญญาที่ทำกับพนักงานสอบสวนมีผลผูกพันโจทก์ผู้บังคับบัญชา
โจทก์ควบคุมตัว ส. ไว้ดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงประชาชนระหว่างสอบสวน โจทก์อนุญาตให้จำเลยประกันตัว ส. ไป โดยทำสัญญาประกันไว้กับโจทก์ว่า ถ้าผิดสัญญาจำเลยยอมชดใช้เงินจำนวน200,000 บาท โจทก์กำหนดให้จำเลยส่งตัว ส.4 ครั้ง จำเลยไม่เคยส่งตัว ส. เลย เป็นเวลานานถึง 2 ปีเศษ จำเลยก็ยังไม่สามารถส่งตัว ส. ผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยขวนขวายติดตามตัวส.เพื่อนำมาส่งมอบให้แก่โจทก์แต่ประการใดประกอบกับส.ต้องหาว่าฉ้อโกงประชาชนเป็นจำนวนเงินถึง 190,000 บาทเศษ เมื่อไม่ได้ตัว ส.มาดำเนินคดีนอกจากส. จะไม่ต้องได้รับโทษแล้วผู้เสียหายก็ไม่มีโอกาสจะได้รับเงินคืนด้วย พฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุลดค่าปรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ทำให้ต้องรื้อถอน แม้จะมีความมั่นคงแข็งแรง
ตาม แผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้ รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและ ดัดแปลงอาคารพิพาทได้ ระบุให้ใช้ โครงสร้างเดิม ซึ่ง เป็นไม้แต่ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิม ออกทั้งหมด แล้วก่อสร้างอาคารใหม่ ขึ้นทั้งหลังโดย ใช้ โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้น พร้อมกับขยาย ความกว้างของตัว อาคารออกไปอีก เป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้ รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 31และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตาม แบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่และมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 21 ด้วย นอกจากนั้น แนวอาคารหลังใหม่ด้าน ทิศเหนือห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะเพียง 1.35 เมตรและห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้าน ทิศใต้เพียง 1.25 เมตรไม่ถึงด้าน ละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 72 วรรคแรก ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ดังนี้ การที่ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้ อาคารนั้นมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือ ได้ ว่ามีเหตุผลสมควรที่จะต้อง รื้อถอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนรื้อถอน แม้โครงสร้างแข็งแรง
ตามแผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและดัดแปลงอาคารพิพาทนั้นได้ระบุใช้โครงสร้างเดิมซึ่งเป็นไม้ แต่ในการดำเนินการ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิมทั้งหมด แล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลัง โดยใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้นพร้อมกับขยายความกว้างของตัวอาคารออกไปอีก จึงเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตามแบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 21 อีกด้วย
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า แนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้านละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 32 วรรคแรก และหากจะให้แนวอาคารร่นระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้านทิศเหนือกับด้าน ทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้านละ 3 เมตร ที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้อาคารดังกล่าวจะมีความมั่งคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรจะต้องรื้อถอน
of 98