พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำในทางการจ้าง แม้ผู้ครอบครองรถยนต์จะไม่ใช่ตน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 กระทำละเมิดต่อ โจทก์ในทางการจ้าง ของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อ โจทก์ในทางการที่จ้าง ของจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 6 ส่วนจำเลยที่ 2 พิพากษายกฟ้อง จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียง คำพิพากษาศาลชั้นต้นใน ปัญหาข้อนี้ ดังนั้น จำเลยที่ 3ถึง ที่ 6 ซึ่ง เป็นนายจ้างย่อมต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 425 การที่จำเลยที่ 2 จะครอบครองรถยนต์ คันที่จำเลยที่ 1 ขับอยู่ในขณะเกิดเหตุ หรือไม่ จึงมิใช่สาระสำคัญในการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 6.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุดได้ หากจำเลยไม่คัดค้าน
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใด ก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลาทำการของแพทย์ลูกจ้าง จัดเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิก พิเศษ นอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยเมื่อได้เงินมาก็แบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยของโจทก์เองที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการรักษาผู้ป่วยนอกเวลาทำงานของแพทย์เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ไม่ใช่ค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิกพิเศษนอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยแบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทเงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลาทำการของแพทย์ลูกจ้าง: เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6)
โจทก์ได้ รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลป แผนปัจจุบันในสาขาเวชกรรมชั้นหนึ่งเป็นลูกจ้างโรงพยาบาล ล. ได้ รับค่าจ้างเป็นรายเดือน โดย นายจ้างมีข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิประกอบอาชีพอิสระส่วนตัวได้ โดย เสรีนอกเวลาทำงานและมีข้อตกลงพิเศษให้โจทก์ใช้สถานที่โรงพยาบาลประกอบวิชาชีพอิสระเป็นคลีนิคส่วนตัวนอกเวลาทำงานได้ ด้วย โดย แบ่งรายได้เข้าโรงพยาบาลตาม อัตราที่กำหนดดังนี้ เงินที่โจทก์ได้ รับจากคนป่วยที่มารักษาที่โรงพยาบาล ล.นอกเวลาทำการปกติของโจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากรมาตรา 40(1) แต่ เป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(6).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลางานเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ไม่ใช่ค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิกพิเศษ นอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยเมื่อได้เงินมาก็แบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยของโจทก์เองที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 วรรคหนึ่ง โดยนำเงินมาชำระหรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลชอบที่จะยกคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ และการที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไปยังศาลอุทธรณ์ทันทีโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อบกพร่องดังกล่าวก็ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบ แต่เป็นบทบัญญัติที่บังคับผู้อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวให้ต้องปฏิบัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษา หรือหาประกันตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 234 เป็นบทบัญญัติบังคับผู้อุทธรณ์คำสั่งต้อง นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาล และนำเงินมาชำระตาม คำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อ ศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งนั้น หาใช่เป็นหน้าที่ของศาลที่ต้อง แจ้งให้จำเลยทราบไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413-1415/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษา หรือหาประกัน
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 34 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ และการที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไปยังศาลอุทธรณ์ทันทีโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อบกพร่องดังกล่าวก็ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติเช่นนั้น แต่บังคับผู้อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวให้ต้องปฏิบัติหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ฎีกาของจำเลย หน้าแรกมีข้อความประทับด้วย ตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบ คำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ถ้า ไม่ มาให้ถือ ว่าทราบคำสั่งแล้ว"โดย มีลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ยื่น ฎีกาเซ็น ไว้ในช่อง ระหว่างคำว่า"ลงชื่อ" และคำว่า "ผู้ร้องหรือผู้ยื่น" จึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับผูกพันตนเองว่า จะมาฟังคำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม2532 ถ้า ไม่ มาก็ให้ถือ ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้น สั่งในฎีกาของจำเลยเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2532 ว่า รับฎีกาให้ผู้ฎีกานำส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือ ว่าทิ้งฎีกา ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือ ว่าคำสั่งศาลนั้นได้ ส่งให้จำเลยโดย ชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่ วันที่ 24 ตุลาคม 2532 การที่จำเลยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาตาม ที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174(2).