คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปิ่นทิพย์ สุจริตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
ฎีกาของจำเลยหน้าแรกมีข้อความซึ่งประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีทนายจำเลยลงชื่อไว้ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฎีกาจัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน 15 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา (วันที่ 20 ตุลาคม 2532) ก็ตาม แต่การที่ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนายอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2532 เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากทนายจำเลยลงชื่อรับทราบวันนัดฟังคำสั่งศาล และเพิกเฉยต่อการนำส่งสำเนาฎีกา
ฎีกาของจำเลยหน้าแรกมีข้อความซึ่งประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีทนายจำเลยลงชื่อไว้ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฎีกาจัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน15 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา(วันที่ 20 ตุลาคม 2532) ก็ตาม แต่การที่ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนายอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2532 เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามเช็คและการแยกแยะคดีแพ่งกับคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับเช็ค
คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้ เช็คฯ โดย อาศัยเช็ค พิพาทกับคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตาม เช็ค พิพาทฉบับ เดียว กัน ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เพราะในคดีแพ่งเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินตาม เช็ค อันเป็นสิทธิเรียกร้องโดย ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ จึงนำ ป.วิ.อ. มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คโดยชอบธรรม แม้มีการโอนเช็ค
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คซึ่ง จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ การที่จำเลยให้การและนำสืบว่าจำเลยลงลายมือชื่อในเช็ค พิพาทมอบให้แก่ จ. เพื่อค้ำประกันหนี้โดย ไม่ได้ลงวันที่และจำนวนเงิน ต่อมาจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้ จ. จนหมดแต่ จ. ไม่คืนเช็ค ให้นั้นเป็นข้อต่อสู้ที่อาศัยความเกี่ยวกันระหว่างจำเลยซึ่ง เป็นผู้สั่งจ่ายกับ จ. ซึ่ง เป็นผู้ทรงคนก่อน แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์ได้เช็ค พิพาทมาโดย ทุจริตคบคิดกับ จ. แต่ จำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นเช่นนั้น ดังนี้ จำเลยจึงต้อง รับผิดใช้ เงินตาม เช็ค ให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: พิจารณาความคล้ายคลึงจนทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้หรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LACOVO"อ่านออกเสียงว่า "ลาโคโว" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "TACOLAVO" อ่านออกเสียงว่า "ทาโคลาโว"เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ พยางค์ หน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่า "ลา" เป็นเสียงอักษร "ล"ส่วนพยางค์ หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า "ทา" เป็นเสียงอักษร "ท" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีเสียงอักษร "ท" เลย แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงเหมือนกันอยู่ 3 พยางค์ คือ ลาโคและโว แต่ ทั้งสามพยางค์นั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้อยู่ในตำแหน่ง เดียว กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ยกเว้นเสียงโว เท่านั้นที่เป็นพยางค์ สุดท้ายเช่นเดียว กัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยมีข้อแตกต่างกันมากไม่อาจกล่าวได้ ว่าเหมือนหรือคล้ายกันถึง ขนาดทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าและการเกิดความสับสน: การพิจารณาความเหมือน/คล้าย และการประเมินผลกระทบต่อสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LACOVO"อ่านออกเสียงว่า "ลาโคโว" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "TACOLAVO" อ่านออกเสียงว่า "ทาโคลาโว"เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ พยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่า "ลา" เป็นเสียงอักษร "ล"ส่วนพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า "ทา"เป็นเสียงอักษร "ท" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีเสียงอักษร "ท" เลย แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงเหมือนกันอยู่ 3 พยางค์ คือลา โค และโว แต่ทั้งสามพยางค์นั้นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ยกเว้นเสียงโวเท่านั้นที่เป็นพยางค์สุดท้ายเช่นเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยมีข้อแตกต่างกันมาก ไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนหรือคล้ายกันถึงขนาดทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวเรื่องการปิดทับราคาและจำหน่ายสินค้าเกินราคาควบคุม
การที่จำเลยปิดราคา 55 บาท ลงบนกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นซึ่งเป็นสินค้าควบคุมทับราคาควบคุม 52 บาท ให้ไม่ปรากฏ อันเป็นความผิดฐานปิดทับราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุมให้ไม่ปรากฏก็เพราะจำเลยมีจุดประสงค์ที่จะจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นดังกล่าวในราคากระป๋องละ 55 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาควบคุม อันเป็นความผิดฐานจำหน่ายสินค้าให้สูงกว่าราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุม ดังนั้น เมื่อจำเลยจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นกระป๋องนั้นในราคา 55 บาท ก็เป็นการกระทำที่ทำให้จำเลยบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียวกันและต่อเนื่องกัน ทั้งเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528 ฉบับเดียวกัน และมีบทลงโทษตามกฎหมายบทเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวและผิดกฎหมายบทเดียว ความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528น้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยได้จำหน่ายไปมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียว การปิดทับราคาควบคุมสินค้าและจำหน่ายราคาสูงกว่า มีเจตนาต่อเนื่องกัน
การที่จำเลยปิดราคา 55 บาท ลงบนกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นซึ่งเป็นสินค้าควบคุมทับราคาควบคุม 52 บาท ให้ไม่ปรากฏ อันเป็นความผิดฐานปิดทับราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุมให้ไม่ปรากฏก็เพราะจำเลยมีจุดประสงค์ที่จะจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นดังกล่าวในราคากระป๋องละ 55 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาควบคุม อันเป็นความผิดฐานจำหน่ายสินค้าให้สูงกว่าราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุม ดังนั้นเมื่อจำเลยจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นกระป๋องนั้นในราคา 55 บาทก็เป็นการกระทำที่ทำให้จำเลยบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียวกันและต่อเนื่องกันทั้งเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528 ฉบับเดียวกัน และมีบทลงโทษตามกฎหมายบทเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวและผิดกฎหมายบทเดียว ความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88พ.ศ. 2528 น้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยได้จำหน่ายไปมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียว: ปิดทับราคาควบคุมสินค้าเพื่อจำหน่ายราคาสูงกว่า เป็นความผิดฐานฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมราคาสินค้า
การที่จำเลยปิดราคา 55 บาท ลงบนกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นซึ่งเป็นสินค้าควบคุมทับราคาควบคุม 52 บาท ให้ไม่ปรากฏ อันเป็นความผิดฐานปิดทับราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุมให้ไม่ปรากฏ ก็เพราะจำเลยมีจุดประสงค์ที่จะจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นดังกล่าวในราคากระป๋องละ 55 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาควบคุม อันเป็นความผิดฐานจำหน่ายสินค้าให้สูงกว่าราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุม ดังนั้น เมื่อจำเลยจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นกระป๋องนั้นในราคา 55 บาท ก็เป็นการกระทำที่ทำให้จำเลยบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียวกันและต่อเนื่องกันทั้งเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528 ฉบับเดียวกัน และมีบทลงโทษตามกฎหมายบทเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวและผิดกฎหมายบทเดียว
ความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528 น้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยได้จำหน่ายไปมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายบทเดียว กรณีปิดทับราคาควบคุมสินค้าและจำหน่ายเกินราคา ศาลไม่เห็นพ้องกับการริบของกลาง
การที่จำเลยปิดทับราคาที่พิมพ์ไว้ตาม กฎหมายที่สินค้าควบคุมเพื่อไม่ให้ราคาที่พิมพ์ไว้ปรากฏ และจำหน่ายสินค้าควบคุมนั้นไปตาม ราคาที่ปิดทับซึ่ง สูงกว่าราคาควบคุม เป็นการกระทำโดย มีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียว กันและต่อเนื่องกัน ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายฉบับ เดียว กัน มีบท ลงโทษบทเดียว กัน เป็นความผิดกรรมเดียวและผิดกฎหมายบทเดียว น้ำมันหล่อลื่นอันเป็นสินค้าควบคุมที่จำเลยจำหน่ายไปเกินกว่าราคาควบคุมมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33(1) เพราะความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการกลางตาม มาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดฯ ปัญหาเรื่องริบของกลางเป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้.
of 98