พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คที่ระบุเงื่อนไขพิเศษ และผลของการไม่แจ้งการโอนต่อผู้สั่งจ่าย
เช็ค พิพาทจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายระบุชื่อ จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับเงินโดย ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ"ออก และด้านหน้าบนซ้าย ของเช็ค มีตราประทับเป็นภาษาอังกฤษว่า"เอ/ซีเพอี้โอนลี่" แสดงว่าเปลี่ยนมือไม่ได้ จำเลยที่ 3 จะต้องนำเข้าบัญชีของตน จำเลยที่ 3 จะโอนเช็ค พิพาทให้โจทก์ได้ แต่ โดยรูปการและด้วย ผลอย่างการโอนหนี้สามัญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 917วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 989 และการโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 306 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็ค พิพาทตาม สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลโดย มิให้โอนกันอย่างการโอนสามัญ ดังนี้โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ การโอนเช็คต้องเป็นหนังสือ การแจ้งการโอนสำคัญต่อการบังคับใช้สิทธิ
เช็คที่ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และด้านหน้าบนซ้ายของเช็คมีตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า "เอ/ซี เปยี่ โอนลี่" (A/C PAYER ONLY) เป็นเช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ ผู้รับเงินจะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจะโอนให้ผู้อื่นได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังที่มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 บัญญัติไว้ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น ดังนั้นแม้จำเลยที่ 3 ผู้ทรงเช็คพิพาทจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็คพิพาท และศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนเช็คพิพาทในคดีดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายทราบเป็นหนังสือ หรือจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนเช็คพิพาท โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย เอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นผู้เขียนข้อความทำนองเปลี่ยนมือไม่ได้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ การโอนต้องทำเป็นหนังสือ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิไล่เบี้ยหากไม่แจ้งการโอน
เช็คที่ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และด้านหน้าบนซ้ายของเช็คมีตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า "เอซีเปยี่โอนลี่"(A/CPAYERONLY) เป็นเช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ ผู้รับเงินจะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจะโอนให้ผู้อื่นได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306วรรคหนึ่ง ดังที่มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 บัญญัติไว้ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น ดังนั้นแม้จำเลยที่ 3 ผู้ทรงเช็คพิพาทจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็คพิพาท และศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนเช็คพิพาทในคดีดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายทราบเป็นหนังสือ หรือจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนเช็คพิพาท โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย เอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นผู้เขียนข้อความทำนองเปลี่ยนมือไม่ได้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ การโอนเช็คต้องทำตามรูปแบบการโอนสามัญและแจ้งลูกหนี้จึงมีผลผูกพัน
เช็คที่ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และด้านหน้าบนซ้ายของเช็คมีตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า "เอ/ซีเปยี่โอนลี่"(A/CPAYEEONLY) เป็นเช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ ผู้รับเงินจะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจะโอนให้ผู้อื่นได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังที่มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989บัญญัติไว้ ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3ผู้ทรงเช็คพิพาทจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็คพิพาท และศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนเช็คพิพาทในคดีดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายทราบเป็นหนังสือ หรือจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นผู้เขียนข้อความทำนองเปลี่ยนมือไม่ได้ดังกล่าว จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วมในการจำนำทรัพย์สิน: ความรับผิดจำกัดเฉพาะวงเงินจำนำ
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะ ผู้จำนำ ยอม รับผิดในฐานะ ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 นั้น หมายความเพียงว่าจำเลยที่ 2จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่ จำเลยที่ 2 จะต้อง รับผิดในหนี้นอกเหนือจากราคาทรัพย์ที่จำนำก็ต่อ เมื่อมีข้อสัญญาแสดงฐานะ ว่าเป็นผู้ค้ำประกันโดย ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำ: สัญญาจำนำจำกัดความรับผิดตามวงเงินประกัน ไม่ขยายไปถึงหนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำหุ้นในสัญญาจำนำ: ผู้จำนำรับผิดเฉพาะวงเงินจำนำ ไม่ใช่หนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ
การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ
จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.
การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ
จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องเงินทดรองจ่าย และการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
กรณีตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตน จากตัวการ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้อง ใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การซื้อ ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มีวัตถุประสงค์เก็ง กำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อ ผู้ซื้อดังนั้น การโอนหุ้นในกรณีนี้จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำซ้อน: คดีที่ฟ้องก่อนยังไม่ถึงที่สุด ห้ามฟ้องคดีใหม่ที่มีประเด็นและคู่ความเดียวกัน
โจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกับคดีนี้ และโจทก์ฟ้องคดีนี้ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 16 ถึงที่ 20ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อน เมื่อโจทก์คดีนี้กับโจทก์ในคดีก่อนเป็นบุคคลคนเดียวกัน ทั้งจำเลยที่ 8ถึงที่ 20 ในคดีนี้ก็เป็นคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 ในคดีก่อนการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 ถึงที่ 20 เป็นคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อนซึ่งยังไม่ถึงที่สุด ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173วรรคสอง(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์และการแบ่งแยกที่ดินร่วมกัน
จำเลยต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างเหตุแต่เพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ส่วนในเรื่องคำขอบังคับไม่ชัดแจ้งเคลือบคลุม จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ก่อนฟ้องโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทราบว่าจะขอทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมแบ่งแยก ข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับ ล. มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับ ล. ทำสัญญาแบ่งที่ดินกันและโจทก์เข้าครอบครองที่ดินตามข้อตกลงในสัญญาเป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นเวลา10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382
ก่อนฟ้องโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทราบว่าจะขอทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมแบ่งแยก ข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับ ล. มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับ ล. ทำสัญญาแบ่งที่ดินกันและโจทก์เข้าครอบครองที่ดินตามข้อตกลงในสัญญาเป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นเวลา10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382