พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่เนื่องจากจำเลยไม่นำพยานมาสืบพยาน ทำให้คำร้องไม่ได้รับการพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยโดยอ้างเหตุว่า คำร้องของจำเลยมิได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้จำเลยจะฎีกาคัดค้านในประเด็นดังกล่าวขึ้นมา แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเพราะเห็นว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบด้วย และคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยเหตุผลแล้วเช่นนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้ศาลฎีกาหยิบยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยขึ้นไต่สวนต่อไปตามข้อฎีกาของจำเลยได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่เนื่องจากจำเลยไม่นำสืบพยาน แม้คำร้องไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นสั่งงดการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเพราะจำเลยไม่มีพยานมาสืบซึ่งเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยเหตุผลแล้วแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยโดยอ้างเหตุว่า คำร้อง ของ จำเลยมิได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคสองด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้ศาลหยิบยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยขึ้นไต่สวนต่อไปได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่เนื่องจากจำเลยไม่นำพยานมาสืบพยาน และการยกคำร้องเนื่องจากเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย โดยอ้างเหตุว่า คำร้องของจำเลยมิได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้จำเลยจะฎีกาคัดค้านในประเด็นดังกล่าวขึ้นมา แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเพราะเห็นว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบด้วย และคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยเหตุผลแล้ว เช่นนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้ศาลฎีกาหยิบยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยขึ้นไต่สวนต่อไปตามข้อฎีกาของจำเลยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4621/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าหุ้นสหกรณ์: ข้อบังคับภายในไม่ผูกพันเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ตามข้อบังคับของสหกรณ์ผู้ร้อง จำเลยมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นต่อเมื่อได้มีการคืนหุ้นแก่จำเลย ซึ่งจะมีได้ 2 กรณี คือเมื่อจำเลยขาดจากสมาชิกภาพสหกรณ์ผู้ร้อง และเมื่อสหกรณ์ชำระบัญชีแล้วมีเงินเหลือคืนแก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ขาดจากสมาชิกภาพสหกรณ์ผู้ร้อง และสหกรณ์ผู้ร้องยังไม่เลิก สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นของจำเลยที่มีต่อผู้ร้องยังไม่เกิดขึ้น แต่ข้อบังคับของผู้ร้องมิใช่กฎหมาย เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจัดวางระเบียบบริหารงานภายในของผู้ร้องข้อบังคับของผู้ร้องจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ศาลย่อมอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยต่อผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์นอกประเด็นต้องห้ามตามมาตรา 225 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีตกลงประเด็นเฉพาะ
โจทก์จำเลยตกลงท้ากันเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จริงหรือไม่ และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จริงจำเลยจึงเป็นฝ่ายแพ้คดี แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจาก ถ. สัญญาเช่าดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทยังไม่ครบระยะเวลาตามสัญญา โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จึงเป็นการซื้อโดยไม่สุจริต ทำให้จำเลยเสียเปรียบโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. ตามประเด็นที่ตกลงกัน จึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องนอกประเด็น ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นนอกคู่ความ อุทธรณ์ต้องห้ามตามมาตรา 225 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์จำเลยตกลงท้ากันเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จริงหรือไม่ และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จริงจำเลยจึงเป็นฝ่ายแพ้คดี แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจาก ถ. สัญญาเช่าดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทยังไม่ครบระยะเวลาตามสัญญา โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จึงเป็นการซื้อโดยไม่สุจริต ทำให้จำเลยเสียเปรียบโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. ตามประเด็นที่ตกลงกัน จึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องนอกประเด็น ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่เกิดจากการถูกฉ้อฉล ศาลเพิกถอนได้
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลเพราะถูกโจทก์หลอกว่าเป็นการทำเรื่องถอนฟ้อง โดยโจทก์จะเอาเงินจากจำเลยเพียง 140,000 บาท แต่ความจริงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยชำระหนี้โจทก์เป็นเงินกว่า 270,000 บาท เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะถูกโจทก์ฉ้อฉล จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของทายาทหลังผู้เสียภาษีถึงแก่ความตาย และอายุความของหนี้ภาษี
โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรและเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. และ จ. จำเลยให้การแต่เพียงว่าไม่ทราบ ไม่รับรอง เท่ากับจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธจึงไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย โจทก์ไม่ต้องนำสืบตามข้ออ้างดังกล่าว เมื่อ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่กรรม จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เป็นผู้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 แจ้งไปยังจำเลยว่าเป็นบุตรของ ก. และ จ. ถึงแก่กรรมแล้วจำเลยจึงแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปยังโจทก์ทุกคนซึ่งเป็นทายาทของ ก.และ จ. แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทุกคนเป็นทายาทของ ก. และ จ. ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรของ ก. ซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การฟ้องคดีมรดกตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม หมายความถึงการกล่าวหรือเสนอข้อหาต่อศาลเพื่อบังคับเอาแก่กองมรดกเท่านั้นหาได้มีความหมายถึงการประเมินหรือแจ้งจำนวนภาษีอากรให้โจทก์ชำระของเจ้าพนักงานประเมินด้วยไม่ แม้การประเมินภาษีอากรจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ได้ประเมินและแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องก็ตามแต่การมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้อง มีความหมายเพียงเพื่อผลในการตั้งสิทธิเรียกร้องเท่านั้น หาใช่การฟ้องคดีไม่ ในกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายก่อนได้รับแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 18 และ84 ทวิ ประสงค์ให้ผู้จัดการมรดก ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อมูลหนี้ค่าภาษีอากรหลังจากที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายแล้ว มิได้มุ่งประสงค์ให้กองมรดกของผู้ต้องเสียภาษีซึ่งถึงแก่ความตายรับผิดชอบ ดังนั้นความรับผิดชอบในมูลหนี้ค่าภาษีอากรของผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกจึงตกอยู่ในหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 มีอายุความ 10 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรกรณีผู้เสียภาษีถึงแก่ความตาย การประเมินภาษีและการฟ้องคดีมรดก
โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก.ผู้ต้องเสียภาษีอากรและเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. และ จ. จำเลยให้การแต่เพียงว่าไม่ทราบ ไม่รับรอง เท่ากับจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย โจทก์ไม่ต้องนำสืบตามข้ออ้างดังกล่าว เมื่อ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่กรรม จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เป็นผู้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จ.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 แจ้งไปยังจำเลยว่าเป็นบุตรของ ก. และจ. ซึ่งถึงแก่กรรมแล้ว จำเลยจึงแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปยังโจทก์ทุกคนซึ่งเป็นทายาทของ ก. และ จ. แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทุกคนเป็นทายาทของ ก. และ จ. มีหน้าที่และความรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรของ ก. ซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การฟ้องคดีมรดกตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755 วรรคสอง หมายความถึงการกล่าวหรือเสนอข้อหาต่อศาลเพื่อบังคับเอาแก่กองมรดกเท่านั้น หาได้มีความหมายถึงการประเมินหรือแจ้งจำนวนภาษีอากรให้โจทก์ชำระของเจ้าพนักงานประเมินด้วยไม่แม้การประเมินภาษีอากรจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง นับแต่วันที่ได้ประเมินและแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องก็ตาม แต่การมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องมีความหมายเพียงเพื่อผลในการตั้งสิทธิเรียกร้องเท่านั้น หาใช่การฟ้องคดีไม่ ในกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายก่อนได้รับแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 18 และ84 ทวิ ประสงค์ให้ผู้จัดการมรดก ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อมูลหนี้ค่าภาษีอากรหลังจากที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายแล้ว มิได้มุ่งประสงค์ให้กองมรดกของผู้ต้องเสียภาษีซึ่งถึงแก่ความตายรับผิดชอบ ดังนั้นความรับผิดชอบในมูลหนี้ค่าภาษีอากรของผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก จึงตกอยู่ในหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 มีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของทายาทหลังผู้เสียภาษีถึงแก่กรรม และอายุความของหนี้ภาษี
โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรและเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. และ จ. จำเลยให้การแต่เพียงว่าไม่ทราบ ไม่รับรอง เท่ากับจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย โจทก์ไม่ต้องนำสืบตามข้ออ้างดังกล่าว
เมื่อ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่กรรม จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เป็นผู้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 แจ้งไปยังจำเลยว่าเป็นบุตรของ ก. และ จ. ถึงแก่กรรมแล้วจำเลยจึงแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปยังโจทก์ทุกคนซึ่งเป็นทายาทของ ก. และ จ. แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทุกคนเป็นทายาทของ ก. และ จ. ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรของ ก. ซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
การฟ้องคดีมรดกตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม หมายความถึงการกล่าวหรือเสนอข้อหาต่อศาลเพื่อบังคับเอาแก่กองมรดกเท่านั้นหาได้มีความหมายถึงการประเมินหรือแจ้งจำนวนภาษีอากรให้โจทก์ชำระของเจ้าพนักงานประเมินด้วยไม่ แม้การประเมินภาษีอากรจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ได้ประเมินและแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องก็ตามแต่การมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้อง มีความหมายเพียงเพื่อผลในการตั้งสิทธิเรียกร้องเท่านั้น หาใช่การฟ้องคดีไม่
ในกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายก่อนได้รับแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 18 และ 84 ทวิ ประสงค์ให้ผู้จัดการมรดก ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อมูลหนี้ค่าภาษีอากรหลังจากที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายแล้ว มิได้มุ่งประสงค์ให้กองมรดกของผู้ต้องเสียภาษีซึ่งถึงแก่ความตายรับผิดชอบ ดังนั้นความรับผิดชอบในมูลหนี้ค่าภาษีอากรของผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกจึงตกอยู่ในหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 มีอายุความ 10 ปี
เมื่อ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่กรรม จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เป็นผู้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 แจ้งไปยังจำเลยว่าเป็นบุตรของ ก. และ จ. ถึงแก่กรรมแล้วจำเลยจึงแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปยังโจทก์ทุกคนซึ่งเป็นทายาทของ ก. และ จ. แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทุกคนเป็นทายาทของ ก. และ จ. ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรของ ก. ซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
การฟ้องคดีมรดกตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม หมายความถึงการกล่าวหรือเสนอข้อหาต่อศาลเพื่อบังคับเอาแก่กองมรดกเท่านั้นหาได้มีความหมายถึงการประเมินหรือแจ้งจำนวนภาษีอากรให้โจทก์ชำระของเจ้าพนักงานประเมินด้วยไม่ แม้การประเมินภาษีอากรจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ได้ประเมินและแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องก็ตามแต่การมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้อง มีความหมายเพียงเพื่อผลในการตั้งสิทธิเรียกร้องเท่านั้น หาใช่การฟ้องคดีไม่
ในกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายก่อนได้รับแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 18 และ 84 ทวิ ประสงค์ให้ผู้จัดการมรดก ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อมูลหนี้ค่าภาษีอากรหลังจากที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายแล้ว มิได้มุ่งประสงค์ให้กองมรดกของผู้ต้องเสียภาษีซึ่งถึงแก่ความตายรับผิดชอบ ดังนั้นความรับผิดชอบในมูลหนี้ค่าภาษีอากรของผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกจึงตกอยู่ในหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 มีอายุความ 10 ปี