คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปิ่นทิพย์ สุจริตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4053/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาห้ามประกอบการค้า: การระบุวิธีการบังคับคดีเป็นสำคัญ
การดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น นอกจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 248 บัญญัติไว้แล้วยังอาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น คำพิพากษาในคดีอาญาที่ห้ามมิให้จำเลยประกอบการค้าเลี้ยงสุกรในเขตเทศบาลอีกต่อไปจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้น แม้ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 ได้ โจทก์ก็ยังอาจขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้ คำร้อง ของ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีระบุแต่เพียงว่า ขอศาลได้โปรดออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้นหาได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าจะบังคับคดีแก่จำเลยด้วยวิธีการอย่างไร คำร้อง ของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275(3) ชอบที่จะยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4053/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาอาญา: วิธีการและหลักเกณฑ์การระบุวิธีการบังคับคดี
การดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น นอกจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 บัญญัติไว้แล้วยังอาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น คำพิพากษาในคดีอาญาที่ห้ามมิให้จำเลยประกอบการค้าเลี้ยงสุกรในเขตเทศบาลอีกต่อไปจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้น แม้ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 ได้ โจทก์ก็ยังอาจขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้
คำร้อง ของ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีระบุแต่เพียงว่า ขอศาลได้โปรดออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้นหาได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าจะบังคับคดีแก่จำเลยด้วยวิธีการอย่างไรคำร้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 275(3) ชอบที่จะยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียน การพิสูจน์เจตนาและขอบเขตความรับผิดของจำเลยต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้า พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2521 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีคือพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 เพราะมูลกรณีแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ยังไม่ใช้บังคับ
กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517, 2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียน การพิสูจน์เจตนาและการอนุญาตโดยปริยาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้า พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2521 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีคือพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 เพราะมูลกรณีแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ยังไม่ใช้บังคับ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่ จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517,2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบภาษี, การหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว, และการเครดิตภาษีต่างรอบระยะเวลาบัญชี
ในการตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินไม่ยอมรับพิจารณาเอกสารบางฉบับที่โจทก์ส่งเนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบภาษีของโจทก์ และใช้เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่น ๆ มาพิจารณาประกอบการประเมินภาษีของโจทก์ ย่อมมีสิทธิทำได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
บัญชีกระแสรายวันที่เสียดอกเบี้ยซึ่งเบิกเกินบัญชีใช้ชื่อเจ้าของบัญชีว่า พ. หาได้ใช้ชื่อห้างโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีไม่ทั้งโจทก์มิได้แสดงรายการเสียดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ในงบกำไรขาดทุนของโจทก์ จึงถือได้ว่า การเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวเป็นการกระทำของ พ. ในฐานะส่วนตัว ดอกเบี้ยที่เสียไปดังกล่าวไม่อาจนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ เพราะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 ที่โจทก์อ้างว่าชำระเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ไม่อาจนำมาเครดิตภาษีกับภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528 ที่ถูกประเมินในคดีนี้ เพราะเป็นการเครดิตภาษีต่างรอบระยะเวลาบัญชีกัน เป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 69 ทวิ และโจทก์ไม่อาจขอหักกลบลบหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์สำหรับการประเมินภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 แต่ประการใด ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการตรวจสอบภาษีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวหรือไม่ผลเป็นประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การหักลดหย่อน และการเครดิตภาษี: การพิจารณาเอกสารหลักฐาน และรอบระยะเวลาบัญชี
ในการตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินไม่ยอมรับพิจารณาเอกสารบางฉบับที่โจทก์ส่งเนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบภาษีของโจทก์ และใช้เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่น ๆ มาพิจารณาประกอบการประเมินภาษีของโจทก์ ย่อมมีสิทธิทำได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร บัญชีกระแสรายวันที่เสียดอกเบี้ยซึ่งเบิกเกินบัญชีใช้ชื่อเจ้าของบัญชีว่า พ. หาได้ใช้ชื่อห้างโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีไม่ทั้งโจทก์มิได้แสดงรายการเสียดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ในงบกำไรขาดทุนของโจทก์ จึงถือได้ว่า การเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวเป็นการกระทำของ พ. ในฐานะส่วนตัว ดอกเบี้ยที่เสียไปดังกล่าวไม่อาจนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้เพราะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 ที่โจทก์อ้างว่าชำระเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ไม่อาจนำมาเครดิตภาษีกับภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528 ที่ถูกประเมินในคดีนี้ เพราะเป็นการเครดิตภาษีต่างรอบระยะเวลาบัญชีกัน เป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 69 ทวิ และโจทก์ไม่อาจขอหักกลบลบหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์สำหรับการประเมินภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 แต่ประการใดทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการตรวจสอบภาษีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวหรือไม่ผลเป็นประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบภาษี, การหักลดหย่อนรายจ่ายส่วนตัว, และการเครดิตภาษีต่างรอบบัญชี ศาลยืนตามประเมิน
ในการตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินไม่ยอมรับพิจารณาเอกสารบางฉบับที่โจทก์ส่งเนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบภาษีของโจทก์ และใช้เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่น ๆ มาพิจารณาประกอบการประเมินภาษีของโจทก์ ย่อมมีสิทธิทำได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร บัญชีกระแสรายวันที่เสียดอกเบี้ยซึ่งเบิกเกินบัญชีใช้ชื่อเจ้าของบัญชีว่า พ. หาได้ใช้ชื่อห้างโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีไม่ทั้งโจทก์มิได้แสดงรายการเสียดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ในงบกำไรขาดทุนของโจทก์ จึงถือได้ว่า การเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวเป็นการกระทำของ พ. ในฐานะส่วนตัว ดอกเบี้ยที่เสียไปดังกล่าวไม่อาจนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ เพราะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 ที่โจทก์อ้างว่าชำระเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ไม่อาจนำมาเครดิตภาษีกับภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528 ที่ถูกประเมินในคดีนี้ เพราะเป็นการเครดิตภาษีต่างรอบระยะเวลาบัญชีกัน เป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 69 ทวิ และโจทก์ไม่อาจขอหักกลบลบหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์สำหรับการประเมินภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 แต่ประการใด ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการตรวจสอบภาษีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวหรือไม่ผลเป็นประการใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำสุราและมีสุราไว้ในครอบครองถือเป็นกรรมเดียวกัน ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยกระทำผิดฐานทำสุรากลั่น ทำสุราแช่ กับมีสุรากลั่นและมีสุราแช่โดยไม่ได้รับอนุญาตในวันเวลาเดียวกัน แสดงว่าจำเลยทำสุราและมีสุราทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ของกลางในคราวเดียวกัน ตาม พ.ร.บ.สุราฯ ที่แก้ไขแล้ว มาตรา 5 บัญญัติห้ามการทำสุราซึ่งหมายถึงสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในมาตราเดียวกัน ในคราวเดียวกัน การทำสุรากลั่นและทำสุราแช่ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน และมาตรา 32 ก็บัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่ทำขึ้นฝ่าฝืนมาตรา 5 ซึ่งหมายความถึงสุรากลั่นและสุราแช่ การมีสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในครอบครอง จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกันอีกกรรมหนึ่ง.
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 1 ปีและปรับไม่เกิน 10,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3763/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทเลินเล่อของหัวหน้าแผนกการเงิน และขอบเขตความรับผิดนอกเหนือจากที่ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงินของโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นรับเงินไว้แทนโจทก์แล้วไม่ส่งให้โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้เงินคืนโจทก์เมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยอื่นรับเงินไว้แล้วไม่ส่งให้โจทก์ดังฟ้อง เพียงแต่จำเลยที่ 1ประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยอื่นเอาเงินของโจทก์ไป ซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุละเมิดดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นไม่ได้เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3763/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินคืนจากลูกจ้างที่ยักยอกทรัพย์สิน การประมาทเลินเล่อ และขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงินของโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นรับเงินไว้แทนโจทก์แล้วไม่ส่งให้โจทก์ ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้เงินคืนโจทก์ เป็นการฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดอันจะอยู่ในอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยอื่นรับเงินไว้แล้วไม่ส่งให้โจทก์ดังโจทก์ฟ้อง เพียงแต่จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยอื่นเอาเงินของโจทก์ไป ซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุละเมิดดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นไม่ได้เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
of 98