พบผลลัพธ์ทั้งหมด 976 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งเมื่อสารบัญจดทะเบียนไม่ได้ระบุ
โจทก์และจำเลยทั้งหกทำบันทึกข้อตกลงขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4แบ่งแยกที่ดินออกไป และโจทก์ยอมรับส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกโดยยอมรับว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 เช่นนี้ การรังวัดแบ่งแยกที่ดินย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนที่เหลือ เมื่อสารบัญจดทะเบียนมิได้ระบุเนื้อที่ดินส่วนของโจทก์ไว้เป็นพิเศษ จึงต้องสันนิษฐานว่าโจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 มีส่วนคนละเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดก่อนศาลมีคำสั่งชี้ขาดเรื่องรวม/แยกทรัพย์สินเป็นโมฆะ
ในชั้นบังคับคดี จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแยกขายที่ดินทีละแปลง โดยอ้างว่าการขายที่ดินบางแปลงอาจจะได้เงินมาพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากขายรวมกันทุกแปลงแล้วจำเลยที่ 1จะเสียหายมาก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนให้ยกคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาดอันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะเลื่อนการขายทอดตลาดไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งชี้ขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 วรรคสอง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยื่นคำร้องขอ ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดได้ตามมาตรา 296 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: เมื่อมีคดีเพิกถอนการประเมินภาษีแล้ว โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องบังคับชำระภาษี
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของจำเลยนั้น ศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์ หรือไม่ อย่างไรก็ได้ เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดจะถือว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีแก่โจทก์ตามที่มีการประเมินหาได้ไม่คดีนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมินดังกล่าว อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับชำระภาษีค้าง เมื่อคดีเพิกถอนการประเมินยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของจำเลยนั้น ศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์หรือไม่ อย่างไรก็ได้ เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด จะถือว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีแก่โจทก์ตามที่มีการประเมินหาได้ไม่ คดีนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมินดังกล่าว
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: คดีเพิกถอนการประเมินภาษีค้างพิจารณา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเก็บภาษี
โจทก์โดยเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระภาษีให้โจทก์จำนวนหนึ่ง จำเลยทั้งสองได้ยื่นฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวแล้ว ซึ่งศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์หรือไม่ อย่างไรก็ได้เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด จึงฟังว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ค่าภาษีโจทก์ตามที่มีการประเมินไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมิน อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากมิได้แจ้งประเมินผู้ถูกประเมินโดยตรง หรือมีข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน การประเมินนั้นไม่ชอบ
ถึงแม้โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จะเป็นสามีภริยากัน และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี แต่การประเมินตาม มาตรา 20 นั้นจะต้องมีการออกหมายเรียกผู้ถูกประเมินมาทำการไต่สวนก่อนตามมาตรา 19การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์ที่ 1 มาไต่สวนเพียงผู้เดียว จะถือเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ด้วยไม่ได้ดังนี้เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์ที่ 2 ชำระภาษีเพิ่ม การประเมินโดยอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และมาตรา 49จะต้องเป็นกรณีที่ผู้ถูกประเมินมีเงินได้พึงประเมินเกินกว่าที่ได้ยื่นรายการไว้ เมื่อโจทก์ที่ 1 และภริยามิได้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนในแต่ละปีภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยอ้างจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ดังนี้ เจ้าพนักงานของจำเลยจึงไม่อาจประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มโดยอาศัยเหตุดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และอายุความในคดีละเมิด
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 โจทก์ที่ 1 เป็นคู่ความและโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวจึงจำต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาด้วยเมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่า เหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของโจทก์ที่ 1แต่ฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท คดีนี้เป็นคดีแพ่งศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา กล่าวคือต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท
โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันแต่แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาเป็นจำนวนชัดเจน และโจทก์ที่ 3 เรียกร้องค่าเสียหายมาไม่เกินสองหมื่นบาทย่อมอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 คงอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ที่ 3 มิได้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก เมื่อโจทก์ที่ 3 ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องถือว่าคดีเฉพาะของโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันแต่แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาเป็นจำนวนชัดเจน และโจทก์ที่ 3 เรียกร้องค่าเสียหายมาไม่เกินสองหมื่นบาทย่อมอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 คงอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ที่ 3 มิได้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก เมื่อโจทก์ที่ 3 ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องถือว่าคดีเฉพาะของโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องยึดข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา และอายุความคดีแพ่ง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 โจทก์ที่ 1 เป็นคู่ความและโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวจึงจำต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาด้วยเมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของโจทก์ที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท คดีนี้เป็นคดีแพ่งศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา กล่าวคือต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันแต่แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาเป็นจำนวนชัดเจน และโจทก์ที่ 3 เรียกร้องค่าเสียหายมาไม่เกินสองหมื่นบาทย่อมอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 คงอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์ที่ 3 มิได้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก เมื่อโจทก์ที่ 3ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องถือว่าคดีเฉพาะของโจทก์ที่ 3ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรากำไรมาตรฐานและการประเมินสินค้าชำรุด เสื่อมสภาพ การยินยอมของโจทก์มีผลผูกพัน
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในนามของโจทก์ ผู้ขายส่งสินค้ามาให้ในนามของโจทก์ การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เปิดในนามของโจทก์ มิได้ระบุว่ากระทำในนามของบริษัท ท. ทั้งการยื่นใบขนสินค้าต่อกรมศุลกากรก็กระทำในนามของโจทก์ เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ธนาคารตามเลตเตอร์ออฟเครดิตลงบัญชีว่าบริษัทท. เป็นลูกหนี้และเมื่อบริษัท ท. จ่ายเงินให้โจทก์ ก็บันทึกลดยอดหนี้ดังกล่าวลงพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในนามของโจทก์เอง แล้วโอนขายสินค้าดังกล่าวให้กับบริษัท ท. หาใช่เป็นการสั่งซื้อสินค้าแทนบริษัท ท. ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จากอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรจึงเป็นการชอบเพราะโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีการโอนหรือขายให้บริษัท ท.หรือมีการขายสินค้าชนิดเดียวกันให้แก่บุคคลอื่น จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบเพื่อคิดคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ โจทก์มอบอำนาจให้ จ. เพื่อให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานประเมินเมื่อ จ. ให้การยอมรับผิดและยอมรับว่า เมื่อบริษัทโจทก์ตรวจนับสินค้าคงเหลือไม่ตรงกับบัญชี บริษัทโจทก์ได้ปรับปรุงรายการเหล่านั้นเป็นสินค้าชำรุด และเสื่อมราคาและลงบัญชีซื้อเป็นต้นทุนขายไว้แล้วทั้งสิ้น แต่ยังมิได้ลงบัญชีขาย การที่เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าซึ่งโจทก์ไม่ได้ลงบัญชีขายไว้เป็นยอดขายโดยใช้ราคาเฉลี่ยหรือราคาปกติของการขายสินค้าของโจทก์แต่ละประเภทสินค้าในปีนั้น ๆ เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จึงชอบ โจทก์ฎีกาคัดค้านว่า จำเลยประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระโดยมิชอบแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยประเมินไม่ชอบอย่างไรทั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงแต่ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรากำไรมาตรฐานและการประเมินสินค้าชำรุดเสียหายเป็นยอดขาย
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อและในนามของโจทก์เอง มิได้สั่งแทนบริษัท ท. แล้วโจทก์โอนขายสินค้าดังกล่าวให้บริษัท ท. เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีการโอนหรือขายสินค้าดังกล่าวและโจทก์ไม่เคยขายสินค้าชนิดเดียวกันนี้ให้แก่ผู้อื่น การที่จำเลยคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จากอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้าตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรจึงชอบแล้ว บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ จ. มาให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานประเมินแทนโจทก์โดยโจทก์ยอมรับผิดชอบต่อการกระทำใด ๆของ จ. เสมือนหนึ่งโจทก์ได้กระทำการนั้น ๆ เอง เมื่อ จ.ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่าได้ตรวจพบว่าบริษัทโจทก์ลงบัญชีคุมสินค้าว่ามีสินค้าชำรุดและเสื่อมราคาเป็นจำนวนมาก และบริษัทได้ตัดบัญชีสินค้าเหล่านั้นออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือโดยมิได้ลงบัญชีขาย จ. ยอมรับผิดและยอมให้เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าซึ่งไม่ได้ลงบัญชีขายไว้เป็นยอดขายของบริษัทโดยใช้ราคาเฉลี่ยหรือราคาปกติของการขายสินค้าของบริษัทแต่ละประเภทสินค้าในปีนั้น ๆเป็นเกณฑ์คำนวณ ต้องถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยประเมินสินค้าที่โจทก์อ้างว่าชำรุดเสียหายเป็นสินค้าที่โจทก์จำหน่ายไป จำเลยจึงมีอำนาจประเมินเช่นนั้นได้โดยชอบ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยไม่ชอบอย่างไร ฟ้องโจทก์คัดค้านเฉพาะการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ทั้งโจทก์มิได้คัดค้านในเรื่องการประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดเพียงแต่ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าโดยโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับภาษีการค้า.