พบผลลัพธ์ทั้งหมด 961 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสามารถของโจทก์ร่วมผู้เยาว์และการแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการยุติธรรมอาญา
ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ต้องกระทำโดยผู้แทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3,5 และ 6 การที่ผู้เสียหายซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยลงชื่อแต่งตั้งทนายความด้วยตนเองแต่ลำพังเพื่อให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณานั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 56 วรรคสี่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6 และ 15 เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์มิได้เป็นผู้ฎีกาขึ้นมาและคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมมีอายุเกินกว่า 20 ปี บรรลุนิติภาวะแล้วจึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องสั่งให้แก้ไขในข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: หลักฐานใบขนสินค้าขาออกของศุลกากรฮ่องกงมีน้ำหนักเพียงพอ แม้เป็นสำเนา
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 หาใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ แต่เป็นระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นนั้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้นแต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม การที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนหรือหมายเรียกพยานหรือให้จำเลยหรือพยานนำบัญชีพยานหลักฐานมาแสดง ภายในกำหนด 5 ปี ก็หาทำให้การประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เอกสารสำเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผู้ส่งออกยื่นต่อศุลกากรเมืองฮ่องกงเป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับ เป็นเอกสารของทางราชการเมืองฮ่องกงซึ่งผู้ส่งสินค้าออกยื่นเอกสารดังกล่าวแจ้งการส่งออกต่อทางราชการเมืองฮ่องกง ว. รองกงสุลใหญ่ฝ่ายศุลกากรประจำเมืองฮ่องกงเป็นผู้ติดต่อขอรับเอกสารมาจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง ส่งมาให้กองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ซึ่งต้นฉบับอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกงแม้จะเป็นเอกสารลับของทางราชการเมืองฮ่องกงก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟัง ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นและเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวประกอบพยานบุคคลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5430/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้มีคดีอาญาที่เกี่ยวข้องแต่ไม่กระทบการวินิจฉัย
เกี่ยวกับมูลเหตุคดีนี้จำเลยถูกโจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีอาญาข้อหาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและสำแดงราคาสินค้าอันเป็นเท็จ แต่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลย แต่คดีนี้มิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เฉพาะอย่างยิ่งคดีส่วนอาญาก็มิได้มีการฟ้องคดีต่อศาล จึงไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ การวินิจฉัยพยานหลักฐานคดีนี้ย่อมเป็นไปตามที่คู่ความนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5427/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และอายุความในการเรียกร้องค่าภาษี
โจทก์ฟ้องโดยบรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาสรุปได้ว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทนาฬิกาเข้ามาในราชอาณาจักร และจำเลยได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยสำแดงราคาสินค้าที่นำเข้า อากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลไว้ในเอกสารดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องโดยได้ระบุถึงประเภทของสินค้าที่นำเข้าและจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระด้วยแล้ว ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาแท้จริงของสินค้าที่จำเลยซื้อมาและต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด เป็นเหตุให้การชำระภาษีอากรไม่ครบถ้วนจึงประเมินราคาสินค้าใหม่และให้จำเลยเสียภาษีอากรเพิ่มเติมแต่จำเลยไม่ชำระ จึงฟ้องคดีขอให้บังคับจำเลยชำระภาษีอากรดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วจึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ส่วนโจทก์ที่ 1 ทราบราคาสินค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อมาได้อย่างไร และในท้องตลาดที่ใด ราคาเท่าใดเปรียบเทียบราคาดังกล่าวจากเอกสารอะไรนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ต้นฉบับเอกสารอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง เป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ได้ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม(มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5330/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยพาหนะพนักงานไม่ได้รับการยกเว้นภาษี, เงินเกินอัตราเป็นเงินได้พึงประเมิน
พนักงานของโจทก์ได้นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินชดเชยให้ ซึ่งคำนวณมาจากข้อมูลค่าเสื่อมราคารถยนต์ ค่าดอกเบี้ยเช่าซื้อ ค่าภาษีประจำปี ค่าประกันภัย ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆดังนี้ การจ่ายเงินของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายแก่พนักงานของโจทก์ หาใช่จำนวนเงินที่พนักงานของโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าพาหนะไปในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้วเบิกคืนจากโจทก์โดยไม่เหลือเป็นประโยชน์แก่ตน ฉะนั้นเงินได้ดังกล่าวที่พนักงานโจทก์ได้รับไปจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (1)
จำนวนเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายที่เกินอัตรากิโลเมตรละ90 สตางค์ ซึ่งจำเลยนำเอาระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 มาเทียบเคียงนั้น ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และนำส่งตามมาตรา 52 จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54
จำนวนเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายที่เกินอัตรากิโลเมตรละ90 สตางค์ ซึ่งจำเลยนำเอาระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 มาเทียบเคียงนั้น ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และนำส่งตามมาตรา 52 จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5330/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชยค่าพาหนะส่วนตัวของพนักงานไม่ได้รับยกเว้นภาษี หากไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปโดยสุจริตและเบิกคืนทั้งหมด
เงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายแก่พนักงานที่นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้แก่โจทก์ ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) เพราะมิใช่จำนวนเงินที่พนักงานได้จ่ายเป็นค่าพาหนะไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นตามความเป็นจริงแล้วเบิกคืนจากโจทก์ตามจำนวนที่ถูกต้องตรงกันไม่เหลือเป็นประโยชน์แก่พนักงาน อย่างไรก็ดี เงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกิโลเมตรละ 90 สตางค์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(2) โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 และ 52เฉพาะเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายส่วนที่เกินกิโลเมตรละ 90 สตางค์เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ โจทก์จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5330/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยพาหนะส่วนตัวของพนักงาน: การพิจารณาว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายภาษีอากร
พนักงานของโจทก์ได้นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินชดเชยให้ ซึ่งคำนวณมาจากข้อมูลค่าเสื่อมราคารถยนต์ ค่าดอกเบี้ยเช่าซื้อ ค่าภาษีประจำปี ค่าประกันภัยค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ การจ่ายเงินของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายแก่พนักงานของโจทก์ หาใช่จำนวนเงินที่พนักงานของโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าพาหนะไปในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้วเบิกคืนจากโจทก์โดยไม่เหลือเป็นประโยชน์แก่ตน ฉะนั้นเงินได้ดังกล่าวที่พนักงานโจทก์ได้รับไปจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42(1) จำนวนเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายที่เกินอัตรากิโลเมตรละ90 สตางค์ ซึ่งจำเลยนำเอาระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526มาเทียบเคียงนั้น ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50และนำส่งตามมาตรา 52 จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรขาเข้าเพิ่มเติมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียภาษีมีสิทธิเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลพร้อมเงินเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติตามที่ได้ประเมินจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง เงินประกันค่าอากรขาเข้าที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแทนจำเลยให้แก่โจทก์นั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การฟ้องแย้งเรียกค่าอากรขาเข้าคืนจึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ ไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้น 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 การที่จำเลยเรียกคืนเงินอากรขาเข้าที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแทนจำเลยไปตามที่โจทก์ประเมินและแจ้งให้ชำระเพิ่มนั้น มิใช่กรณีใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงก่อนนำของออกไปจากอารักขาของศุลกากร ซึ่งสิทธิเรียกร้องจะสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสุดท้าย แต่เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมินและแจ้งให้จำเลยชำระค่าอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากนำของออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว และธนาคารผู้ค้ำประกันได้ชำระแทนจำเลย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่) และการนับอายุความนั้นให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปอายุความสิทธิเรียกร้องเงินค่าอากรขาเข้าคืนของจำเลยจึงเริ่มนับแต่วันที่ 7 เมษายน 2532 ที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินให้แก่โจทก์ จำเลยนำคดีมาฟ้องแย้งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2535ยังไม่พ้น 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ และจำเลยมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าอากรขาเข้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เรียกเก็บไปในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสุดท้าย โดยไม่ต้องพิจารณาว่าจำเลยได้ทวงถามและโจทก์ผิดนัดหรือไม่ แต่จำเลยขอดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงให้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4831/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางประกันค่าภาษีอากรเพื่อนำของเข้าโดยรีบด่วน การชำระภาษีโดยธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน และการไม่มีหนี้ภาษีคงเหลือ
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากรและรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 40 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4831/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางหนังสือค้ำประกันธนาคารเพื่อประกันค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร โดยมีเงื่อนไขการปฏิบัติตามพิธีการศุลกากร
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากร และรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากร และรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร