คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เจริญ นิลเอสงฆ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 961 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังโอนกรรมสิทธิ์ & การเข้าเป็นโจทก์ร่วม: แม้โอนกรรมสิทธิ์หลังฟ้อง อำนาจฟ้องยังอยู่ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ได้
ขณะที่ฟ้องโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งอยู่โดยละเมิดได้ แม้ภายหลังฟ้องแล้วโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ร่วม อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้ว ยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ร่วมก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและโจทก์ร่วม: การโอนสิทธิหลังฟ้องไม่กระทบอำนาจเดิม ผู้รับโอนมีสิทธิเป็นโจทก์ร่วม
ขณะเสนอคำฟ้อง โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวพิพาท จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ภายหลังฟ้องคดีโจทก์จะโอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์ร่วม อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากโจทก์ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังโอนกรรมสิทธิ์ และสิทธิของโจทก์ร่วมในคดีขับไล่
ขณะที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาลโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ได้ แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวให้แก่โจทก์ร่วมอำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไปส่วนโจทก์ร่วมผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้องต่อไป และโจทก์ร่วมสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องไม่สิ้นสุดแม้โอนสิทธิ, โจทก์ร่วมมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ได้
ขณะเสนอคำฟ้อง โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง แม้ภายหลังฟ้องคดีโจทก์จะโอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์ร่วม อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป โจทก์ร่วมเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากโจทก์ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดิน การรื้อถอนกำแพง และสิทธิในการผ่านทางตามประมวลกฎหมายแพ่ง
การที่จำเลยและจำเลยร่วมสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวในที่ดินของจำเลยเอง มิได้ปิดบังหน้าที่ดินของโจทก์หรือเป็นเหตุให้บังแสงสว่างและทางลมหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคาดคิด หรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 มิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้รื้อถอนกำแพงดังกล่าว จำเลยเป็นผู้จัดสรรที่ดินได้กำหนดแผนผังแบ่งแยกที่ดินแต่ละแปลงให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ แม้ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินต่อจากผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง โจทก์ก็สามารถใช้ที่ดินทางทิศใต้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349อันโจทก์จะต้องใช้ค่าทดแทนเพื่อผ่านทาง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากโจทก์หรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าถ้าโจทก์ต้องผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ทางสาธารณะในทางจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิจะได้รับค่าทดแทนจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดนอกประเด็นและเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการก่อสร้างกำแพงบนที่ดินตนเอง และสิทธิในการใช้ทางออกของที่ดินแปลงอื่น
การที่จำเลยและจำเลยร่วมสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวในที่ดินของจำเลยเอง มิได้ปิดบังหน้าที่ดินของโจทก์หรือเป็นเหตุให้บังแสงสว่างและทางลมหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคาดคิด หรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของอสังหา-ริมทรัพย์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 มิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้รื้อถอนกำแพงดังกล่าว
จำเลยเป็นผู้จัดสรรที่ดินได้กำหนดแผนผังแบ่งแยกที่ดินแต่ละแปลงให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ แม้ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินต่อจากผู้อื่นอีกทอดหนึ่งโจทก์ก็สามารถใช้ที่ดินทางทิศใต้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 อันโจทก์จะต้องใช้ค่าทดแทนเพื่อผ่านทาง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากโจทก์หรือไม่แล้ววินิจฉัยว่า ถ้าโจทก์ต้องผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ทางสาธารณะในทางจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิจะได้รับค่าทดแทนจากโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสี่ จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดนอกประเด็นและเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินจัดสรรในการใช้ทางเข้าออก และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ
จำเลยจัดสรรที่ดินแบ่งออกเป็นแปลงย่อยเพื่อจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป ต่อมาโจทก์ได้ซื้อตึกแถวสองชั้นพร้อมที่ดินจัดสรร3 แปลง ต่อจากผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง ที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือตะวันตกและตะวันออกจดที่ดินจัดสรรแปลงอื่น ส่วนทิศใต้หน้าที่ดินของโจทก์เป็นทางกว้าง 8 เมตร ซึ่งสามารถเชื่อมไปสู่ทางสาธารณะด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของที่ดินจัดสรรได้ ต่อมาจำเลยและจำเลยร่วมได้ดัดแปลงที่ดินจัดสรรที่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกเป็นสระว่ายน้ำ และสวนสนุก เพราะไม่มีผู้ซื้อทั้งยังได้ก่อสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวที่ดินดังกล่าวในเขตพื้นที่ดินของจำเลย จนปิดกั้นหน้าที่ดินของโจทก์ด้วย ดังนี้เฉพาะคดีในส่วนของการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวที่ดินดังกล่าวในเขตพื้นที่ดินของจำเลยนั้น เมื่อโจทก์เบิกความเพียงว่าทำให้ตึกแถวของโจทก์อยู่ในมุมทึบมองเห็นไม่ชัดเท่านั้น แสดงว่าการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตหน้าที่ดินแปลงดังกล่าวมิได้ปิดบังหน้าที่ดินของโจทก์ หรือเป็นเหตุให้บังแสงสว่างและทางลม หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติอันจะถือว่า โจทก์เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337โจทก์คงมีสิทธิขอให้จำเลยและจำเลยร่วมรื้อถอนได้เฉพาะในส่วนของการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตที่ปิดกั้นหน้าที่ดินของโจทก์เท่านั้นซึ่งกรณีนี้มิใช่เรื่องที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349อันโจทก์จะต้องใช้ค่าทดแทนเพื่อผ่านทางให้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากเงินบำนาญ การซื้อที่ดินและปลูกสร้างบ้านโดยเงินบำนาญถือเป็นสินสมรส การโอนโดยไม่สุจริตและไม่ได้รับความยินยอม
เงินบำนาญเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้ที่พ้นจากราชการแล้วตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายยังมีชีวิตอยู่จึงเป็นการได้เงินมาในระหว่างสมรส ย่อมถือว่าเงินบำนาญนั้นเป็นสินสมรส เมื่อนำเงินนั้นมาซื้อที่ดินและต่อมาได้ปลูกสร้างบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินในระหว่างสมรส ที่ดินและบ้านจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมบ้านสินสมรสให้จำเลยที่ 2โดยโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสไม่ได้ให้ความยินยอม ราคาที่ขายเป็นราคาถูกมาก และตามพฤติการณ์จำเลยที่ 2 ต้องทราบว่าจำเลยที่ 1กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินพร้อมบ้านโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำนาญระหว่างสมรสเป็นสินสมรส ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อด้วยเงินบำนาญจึงเป็นสินสมรส
เงินบำนาญเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้ที่พ้นจากราชการแล้วตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายยังมีชีวิตอยู่จึงเป็นการได้เงินมาในระหว่างสมรสย่อมถือว่าเงินบำนาญนั้นเป็นสินสมรส การที่จำเลยที่ 1 นำเงินบำนาญมาซื้อที่ดิน และต่อมาได้ปลูกสร้างบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินในระหว่างสมรสเช่นนี้ที่ดินและบ้านจึงเป็นสินสมรสตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1474(1)ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หาใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเอกสารหลักฐานในคดีแพ่ง การโต้แย้งข้อเท็จจริง และการปฏิเสธข้อกล่าวหา
การที่โจทก์นำสืบถึงหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารที่โจทก์ได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องนั้น เป็นการนำสืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่พิพาท เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นไว้แล้ว แม้จะไม่ให้การปฏิเสธเอกสารดังกล่าวจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารนั้นหาได้ไม่จำเลยย่อมนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ เพราะเป็นการนำสืบโต้เถียงในประเด็นเดียวกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การไม่และกรณีนี้ก็มิใช่เรื่องการคัดค้านการนำเอกสารมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125
of 97