คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเลิกจ้าง: การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาและลักษณะงานชั่วคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ข้อ 7 กรณีสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้น นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างต่อเมื่อได้ความด้วยว่าเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงลักษณะงานดังกล่าวไว้ ปัญหาว่าการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลจำหน่ายคดีถูกต้อง โจทก์ขอพิจารณาใหม่มิได้ มีสิทธิฟ้องใหม่เท่านั้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุที่คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 การที่โจทก์ร้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปหรือขอให้ศาลนัดสืบพยานจำเลยต่อไป โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่จงใจขาดนัดก็คือการขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่นั่นเอง คำว่า "ขาดนัดพิจารณา" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 ต้องถือตามมาตรา 197 วรรคสอง ถ้าคู่ความไม่มาศาลในวันสืบพยานโดยมิได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนลงมือสืบพยานมาตรา 197 วรรคสอง ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณาโดยไม่มีข้อที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่ เพราะการขาดนัดโดยจงใจหรือไม่ จะกล่าวอ้างได้เฉพาะเมื่อมีการพิจารณาฝ่ายเดียวและมีการขอให้พิจารณาคดีใหม่เท่านั้น เมื่อโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 197 วรรคสองและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามมาตรา 200 เสร็จสิ้นไปแล้วย่อมไม่มีการพิจารณาฝ่ายเดียวอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียวตามมาตรา 200 วรรคสอง คือฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานงาน แม้เป็นการพ้นจากตำแหน่งโดยผลของกฎหมาย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็น การ กำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงานและเป็น บทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้นส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือ ไม่ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งได้ให้ความหมายของคำว่าการเลิกจ้างไว้ว่า การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 อันหมายถึงการที่ให้นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดที่ระบุไว้ ดังนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ทุกคนพ้นจากตำแหน่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเพราะเกษียณอายุ จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแรงงาน: การโต้เถียงข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลชั้นต้น
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า เงินค่าพาหนะที่โจทก์ได้รับมีจำนวนไม่แน่นอนและจำเลยจ่ายให้ตามจำนวนที่ขอเบิก แต่ไม่เกินเดือนละ 1,800 บาท โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามพยานหลักฐานการจ่ายเงินค่าพาหนะประกอบคำเบิกความของพยานจำเลย เห็นได้ว่าค่าพาหนะที่โจทก์ได้รับมีจำนวนแน่นอนและจำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำจึงเป็นค่าตอบแทนการทำงานนั้น เป็นอุทธรณ์โต้เถียง ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมา ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ป.พ.พ. มาตรา 582 มิใช่กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่กรณีย่อมตกลงกันนอกเหนือจากที่บทกฎหมายมาตราดังกล่าวกำหนดไว้ได้ เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่าระยะเวลาการบอกกล่าวเลิกจ้างหรือการจ่ายเงินทดแทนล่วงหน้ามีกำหนดเวลา 1 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดในข้อตกลงคือเท่ากับ 1 เดือน จะเรียกร้องเอาตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 582 ไม่ได้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวนแล้วฟังว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ผู้โดยสารทำให้ผู้โดยสารได้รับความเสียหาย เป็นเหตุให้บริษัทจำเลยเสียหายและเสียชื่อเสียง โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีสาเหตุมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์นั้น เป็นการโต้เถียง ดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลผูกพันคู่กรณี แม้ผลเจรจาไม่เป็นที่พอใจ การเลิกจ้างระหว่างข้อตกลงมีผลใช้บังคับเป็นการกระทำไม่เป็นธรรม
เมื่อมีการยื่นข้อเรียกร้องและมีการเจรจาตกลงกันแล้ว ไม่ว่าผลการเจรจาจะตกลงกันเป็นประการใด คู่กรณีทั้งสองฝ่ายย่อมจะต้องถือปฏิบัติไปตามที่ได้ตกลงกัน การที่โจทก์เลิกจ้าง อ. กับพวกลูกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นยังมีผลใช้บังคับ ย่อมเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉิน: การรักษาในโรงพยาบาลเอกชนภายใต้ข้อบังคับองค์การเหมืองแร่
ข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ในทะเลจำเลยว่าด้วยเงิน ช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลและเงินช่วยเหลือในการคลอดบุตรระบุว่า ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยไม่สามารถไปสถานพยาบาลขององค์การเหมืองแร่ในทะเลหรือสถานพยาบาลของส่วนราชการได้ทันท่วงที ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาลของเอกชนก็ได้ ได้ความว่า บ. มารดาโจทก์มีอายุ 83 ปีแล้วมีโรคประจำตัวคือเบาหวานและความดันโลหิตสูง เกิดมีอาการไข้ไม่ค่อยจะรู้สึกตัวและอาเจียนติดต่อกัน 4 ครั้งโดยเฉียบพลันในเวลาดึก ถ้าปล่อยให้มีอาการไข้สูงและอาเจียนมากกว่านี้โดยไม่ได้รับการรักษาโดยทันที อาจเกิดอันตรายถึงชีวิต เช่นนี้อาการเจ็บป่วยของ บ. เป็นกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยไม่สามารถไปสถานพยาบาลขององค์การเหมืองแร่ในทะเลหรือสถานพยาบาลส่วนราชการได้ทันท่วงที จึงเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลเอกชนตามข้อบังคับดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง และการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยาน
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเท่ากับศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่า คำสั่งของจำเลยซึ่งลงนามโดยหัวหน้ากองอำนาจการผู้รับมอบอำนาจเป็นคำสั่งที่ถูกต้อง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องจึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เมาสุราเข้าทำงานในโรงงาน ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า ห้ามพนักงานดื่มหรือเสพสุราในขณะปฏิบัติงานหรือในบริเวณโรงงานหรือบริษัทโดยมิได้รับอนุญาตจากฝ่ายบริหารเป็นอันขาดผู้ใดฝ่าฝืนถือเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมีความมุ่งหมายที่จะห้ามมิให้พนักงานมึนเมาสุราในขณะปฏิบัติงาน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของจำเลยและผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของจำเลย การที่โจทก์ออกไปดื่มสุราข้างนอกบริษัทแล้วเมาสุรากลับเข้าไปทำงานในโรงงานหรือบริษัท ย่อมถือได้ว่าโจทก์เมาสุราในขณะปฏิบัติงานนั่นเองอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวและเมื่อลักษณะงานของโจทก์เป็นงานขับรถเครน ยกของหนักซึ่งโจทก์ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง ทั้งเคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับเครนทำให้พนักงานของจำเลยได้รับบาดเจ็บสาหัสการกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เมาสุราขณะปฏิบัติงาน ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดว่า "ห้ามพนักงานดื่ม หรือเสพสุราเครื่องดอง ของเมา หรือยาเสพติดใด ๆ ในขณะปฏิบัติงานหรือในบริเวณโรงงานหรือบริษัท... โดยมิได้รับอนุญาตจากฝ่ายบริหารเป็นอันขาด ผู้ใดฝ่าฝืนถือเป็นความผิด" นั้น มีความมุ่งหมายที่จะห้ามมิให้พนักงานมึนเมาสุราในขณะปฏิบัติงานเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของนายจ้างและผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของนายจ้าง ดังนั้น การที่ลูกจ้างออกไปดื่ม สุราหรือเครื่องดอง ของเมาข้างนอกบริษัทและเมาสุรากลับเข้าไปทำงานในโรงงานหรือบริษัทย่อมถือได้ว่าลูกจ้างเมาสุราในขณะปฏิบัติงาน เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าว งานขับรถเครน ยกของหนักที่ลูกจ้างทำต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงและเคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับเครน ทำให้พนักงานได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างเมาสุราเข้ามาปฏิบัติงานซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) นายจ้างย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ทั้งมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 เมื่อการกระทำของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างย่อมมีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำที่เป็นธุรกิจจัดหางาน
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบธุรกิจจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตโจทก์ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการอันเป็นการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหางาน เช่น หนังสือติดต่อกับผู้ว่าจ้างในต่างประเทศหรือตัวแทน หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง.
of 89