คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
การที่พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 บัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนด คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของพนักงาน และเป็นบทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น ส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง ที่แก้ไขแล้ว เมื่อจำเลยให้โจทก์ พ้น จากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุ อันเป็นการให้ออกจากงานโดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามข้อ 47 จึงเป็นการเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุเป็นการออกจากงานตามกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ ถึงลักษณะงานว่าได้จ้างโจทก์เป็นครั้งคราว เป็นการจรเป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ อันจะถือเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ แม้ศาลวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาที่อ้างกฎกระทรวงผิดฉบับ ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
การที่โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาถูกต้อง แต่อ้างกฎกระทรวงฉบับที่ถูกยกเลิกมาในคำขอท้ายฟ้องนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างกฎกระทรวงผิดฉบับไปเท่านั้นกฎกระทรวงฉบับต่าง ๆ มิใช่มาตราในกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมโดยพิมพ์ลายนิ้วมือ พยานต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรม เพื่อให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์
อ.ทำพินัยกรรมโดยพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าค. และ ล.พร้อมกัน ส่วน บ. ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมภายหลัง เมื่อ ค.และ ล. ลงลายมือชื่อในฐานะพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ อ.ในขณะที่ทำพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงมีพยานครบ 2 คน มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจรจาต่อรองของสหภาพแรงงาน: มติอนุมัติข้อเรียกร้องครอบคลุมการทำข้อตกลงสภาพการจ้าง
เมื่อข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานและรายชื่อผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาได้กระทำขึ้นโดยได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกของสหภาพแรงงานแล้ว ผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาดังกล่าวย่อมมีอำนาจบริบูรณ์ในการเจรจาและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับนายจ้างได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่นั้นอีก มติของที่ประชุมใหญ่เช่นนี้ย่อมมีผลเป็นการอนุมัติให้สหภาพแรงงานรับข้อเรียกร้องและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องนั้นได้ด้วย ดังนั้น เมื่อต่อมาผู้แทนลูกจ้างได้เจรจาตกลงกับนายจ้าง และมีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันขึ้น กรณีย่อมถือได้ว่าผู้แทนลูกจ้างได้กระทำภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่นั้นแล้วหาจำเป็นจะต้องได้รับอนุมัติเป็นการเฉพาะอีกไม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 103(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงาน: มติที่ประชุมใหญ่ให้สิทธิเจรจาและทำข้อตกลงสภาพการจ้างโดยไม่ต้องอนุมัติซ้ำ
เมื่อข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานและรายชื่อผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาได้กระทำขึ้นโดยได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกของสหภาพแรงงานแล้ว ผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาดังกล่าวย่อมมีอำนาจบริบูรณ์ในการเจรจาและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับนายจ้างได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่นั้นอีกมติของที่ประชุมใหญ่เช่นนี้ย่อมมีผลเป็นการอนุมัติให้สหภาพแรงงานรับข้อเรียกร้องและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องนั้นได้ด้วย ดังนั้น เมื่อต่อมาผู้แทนลูกจ้างได้เจรจาตกลงกับนายจ้าง และมีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันขึ้น กรณีย่อมถือได้ว่าผู้แทนลูกจ้างได้กระทำภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่นั้นแล้ว หาจำเป็นจะต้องได้รับอนุมัติเป็นการเฉพาะอีกไม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 103(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างที่สหภาพแรงงานทำโดยได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว ย่อมมีผลผูกพันและมีผลบังคับใช้ได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้าง กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของนายจ้าง ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม เรื่องเงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดเงินโบนัสและสวัสดิการของโจทก์และลูกจ้างอื่นที่เป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 การทำข้อตกลงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกิจการอันกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของสมาชิกเป็นส่วนรวม จะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสหภาพแรงงาน ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 103(2)จำเลยที่ 1 แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยที่ 2 วันรุ่งขึ้นจำเลยที่ 2ได้แจ้งข้อเรียกร้องสวนทางต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ตั้งผู้แทนลูกจ้างรวม 7 คน ในการเจรจาตามข้อเรียกร้องของจำเลยที่ 1และเมื่อจำเลยที่ 2 แจ้งข้อเรียกร้องสวนทาง จำเลยที่ 2 ก็แต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างชุดเดิม เป็นผู้แทนในการเจรจาเช่นเดียวกันโดยได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาของจำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจบริบูรณ์ในการเจรจาและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่อีก และมติที่ประชุมใหญ่ของจำเลยที่ 2 ที่อนุมัติให้จำเลยที่ 2 แจ้งข้อเรียกร้อง ย่อมมีผลเป็นการอนุมัติให้จำเลยที่ 2 รับข้อเรียกร้องและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องนั้นด้วย และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้นำข้อเรียกร้องของทั้งสองฝ่ายมารวมเจรจาเข้าด้วยกัน แล้วเจรจาตกลงโดยทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อตกลงดังกล่าวจึงได้กระทำขึ้นตามข้อเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่ด้วย ถือว่าผู้แทนของจำเลยที่ 2 กระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีแล้วข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและการพิสูจน์การชำระหนี้จริง การได้รับเช็คคืนไม่ได้แสดงการชำระหนี้
จำเลยทำสัญญาซื้อสินค้าจากโจทก์โดยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ไว้แม้ว่าต่อมาจำเลยจะได้เช็คดังกล่าวคืนมาจากโจทก์ ก็มิใช่หลักฐานที่แสดงว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คนั้นแล้ว เป็นแต่เพียงจำเลย ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับ ไปแล้วเท่านั้น เมื่อคู่ความยังโต้เถียงกันอยู่ในประเด็นดังกล่าว ศาลจึงต้องรับฟังพยานหลักฐานของคู่ความต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชย vs. เงินทุนเลี้ยงชีพ: การจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพตามระเบียบธนาคารออมสินไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานนั้นเป็นไปตามระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินข้อ 3(3)ซึ่งมีหลักเกณฑ์ และการคิดคำนวณแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่าย จำเลยย่อมผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยการเลิกจ้าง: เงินทุนเลี้ยงชีพไม่ถือเป็นค่าชดเชย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสามนั้น เป็นไปตามระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 3(3)ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การคิดคำนวณไว้ตามข้อ 12 ของระเบียบฉบับเดียวกันว่า ผู้มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หารด้วยห้าสิบ หากมีเวลาทำงานไม่ถึงยี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หารด้วยห้าสิบ หลักเกณฑ์และการคิดคำนวณดังกล่าวแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายจำเลยย่อมผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะหลายส่วนจากอุบัติเหตุจากการทำงาน
โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ต้องสูญเสียอวัยวะหลายส่วนของร่างกาย คือ หนังศีรษะ ใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นการสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกายนายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือนโดยจ่ายตามประเภทการสูญเสียอวัยวะที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับที่ 2) ข้อ 1(16) อันเป็นการสูญเสียอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (1) ถึง (15)มีกำหนดระยะเวลาการจ่ายตามที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือคณะกรรมการที่ปรึกษาพนักงานเงินทดแทนกำหนดรวมกัน แต่ไม่เกินสิบปีคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีมติให้กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์รวม 4 ปี 6 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเป็นรายเดือนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือนตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ใช่จ่ายตามที่โจทก์ต้องสูญเสียอวัยวะในแต่ละส่วนของร่างกายแยกเป็นส่วน ๆ ไป.
of 89