คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะจากการทำงาน: การคำนวณระยะเวลาจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สูญเสียอวัยวะหนังศีรษะใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ยังสูญเสียอวัยวะบริเวณดั้ง จมูกและโหนกแก้มทั้งสองข้างด้วย จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยสูญเสียอวัยวะหนังศีรษะ ใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง อันเป็นการสูญเสียอวัยวะตามประเภทที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับที่ 2) ข้อ 1(16) ถือเป็นการสูญเสียอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (1) ถึง (15)ซึ่งให้มีระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทน 4 ปี 6 เดือน ตามที่คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีมติ การจ่ายค่าทดแทนจึงต้องจ่ายให้เป็นรายเดือนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน มิใช่จ่ายค่าทดแทนจากการที่โจทก์ต้องสูญเสียอวัยวะในแต่ละส่วนของร่างกาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิโดยเอกสารหลักฐานและการเช่าซื้อที่ดิน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)มิได้กำหนดว่าคำตักเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นระยะเวลานานเกินสมควรอันจะถือว่าคำตักเตือนนั้นสิ้นผลที่ไม่อาจถือได้ว่ามีการตักเตือน แต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำตักเตือนจะมีผลอยู่ตลอดไป การพิจารณาว่าระยะเวลาเนิ่นนานหรือไม่เพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์เป็นแต่ละกรณีถึงเหตุและความหนักเบาของการกระทำความผิดตลอดจนความเสียหายที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดแก่นายจ้างว่ามีเพียงใด การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถรับส่งพนักงานของจำเลยได้กระทำผิดครั้งแรกโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้โจทก์ขับรถไปส่งคนเจ็บและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วต่อมาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้ขับรถไปส่งพนักงานจ่ายเงินอีก ซึ่งมิใช่เป็นความผิดเล็กน้อย อันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ ซึ่งเมื่อนับแต่ที่จำเลยได้ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือเนื่องจากการกระทำผิดครั้งแรกเมื่อวันที่ 21มีนาคม 2532 จนถึงวันที่โจทก์กระทำผิดครั้งหลังเมื่อวันที่ 7มีนาคม 2533 เป็นเวลาไม่เนิ่นนาน ทั้งไม่ปรากฏว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ได้ปรับปรุงตน ไม่ได้กระทำผิดโดยที่ได้สำนึกและเชื่อฟังคำตักเตือนดังกล่าว คำตักเตือนของจำเลยจึงยังมีผลอยู่การกระทำผิดของโจทก์ครั้งหลัง จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน นายจ้างไม่จ่ายค่าล่วงเวลาตามกำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำเลยที่สั่งให้ โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่ ก. เนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพราะการกระทำความผิดอาญาไม่ แม้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ไม่ใช่มูลเหตุเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง ในคดีนี้ คดีนี้จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ในการพิพากษาคดีศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา คำร้องทั้งสามฉบับของ ก. กล่าวหาว่าโจทก์เลิกจ้าง ก.ซึ่งเป็นลูกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้คำร้องสองฉบับแรกจะไม่ระบุว่าโจทก์ได้เลิกจ้าง ก. เพราะเหตุที่ ก.ทำคำร้องและให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่ก็ได้ระบุเหตุดังกล่าวในคำร้องกล่าวหาเพิ่มเติมฉบับที่สาม ซึ่งชอบที่ ก. จะกระทำได้ เมื่อจำเลยได้รับคำร้องดังกล่าวแล้วก็ย่อมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่จะนำบทบัญญัติในเรื่องแก้ไขคำฟ้อง คำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180,187 มาใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างและการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์: ศาลไม่จำต้องยึดข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่ ก. เนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพราะการกระทำความผิดอาญาไม่ แม้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ไม่ใช่มูลเหตุเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ คดีนี้จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา คำร้องทั้งสามฉบับของ ก. กล่าวหาว่าโจทก์เลิกจ้าง ก.ซึ่งเป็นลูกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้คำร้องสองฉบับแรกจะไม่ระบุว่าโจทก์ได้เลิกจ้าง ก. เพราะเหตุที่ ก. ทำคำร้องและให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่ก็ได้ระบุเหตุดังกล่าวในคำร้องกล่าวหาเพิ่มเติมฉบับที่สาม ซึ่งชอบที่ ก. จะกระทำได้ เมื่อจำเลยได้รับคำร้องดังกล่าวแล้วก็ย่อมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่จะนำบทบัญญัติในเรื่องแก้ไขคำฟ้อง คำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180,187 มาใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับและคำสั่งโยกย้ายพนักงาน มิใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากไม่กระทบสิทธิประโยชน์เดิม
ข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 23 ว่าด้วยการจัดระเบียบการบริหารงาน ข้อ 33 กำหนดว่า "การกำหนดอัตราตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างของ อ.ม.ท. ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายข้อบังคับนี้" และบัญชีอัตราตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างของ อ.ม.ท. มีรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดหน่วยงานและจำนวนพนักงานในแต่ละหน่วยงานว่ามีจำนวนเท่าใดอยู่ในระดับใดบ้างเท่าใด เช่นนี้ข้อบังคับของจำเลยข้อนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งหน่วยงานโดยกำหนดอัตรากำลัง และระดับในแต่ละหน่วยงานอันมีลักษณะเป็นวิธีการบริหารงานบุคคลในหน่วยงานเท่านั้นไม่มีลักษณะที่เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมิได้มีลักษณะที่เป็นเงื่อนไขในการทำงาน กำหนดวันเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการการเลิกจ้าง การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้าง การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคสามและมาตรา 11 จึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขได้เพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารงานบุคคลตามฐานะแห่งกิจการของจำเลยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องแจ้งข้อเรียกร้องหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์จากตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการบริหารระดับ 9 ไปรักษาการตำแหน่งหัวหน้าผู้ตรวจสอบภายใน ระดับ 9 เช่นเดิมมิใช่เป็นการลดระดับโจทก์และโจทก์ได้รับเงินเดือน ผลประโยชน์และสวัสดิการเท่าเดิม เช่นนี้เป็นการใช้ดุลพินิจ กำหนดบุคคลในตำแหน่งงานที่เหมาะสม มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างส่วนที่อ้างว่าการโยกย้ายโจทก์ไปทำให้โจทก์ต้องสูญเสียสิทธิในการใช้รถยนต์อันเป็นสวัสดิการเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ข้อนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ตามความเหมาะสม แม้ตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์จะไม่มีรถยนต์ประจำตำแหน่งก็ตามไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เท่ากับศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า รถยนต์ที่โจทก์มีสิทธิได้รับอยู่ก่อนนั้นมิใช่เป็นสวัสดิการ ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่ารถยนต์ที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นสวัสดิการ จึงเป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อบังคับธนาคารฯ ไม่ตัดสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ข้อบังคับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฉบับที่ 29ว่าด้วยเงินบำเหน็จ กำหนดเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จมีสาระสำคัญว่า พนักงานที่ทำงานมาแล้วตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป จึงจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ แม้พนักงานได้ลาออกหรือถึงแก่ความตายก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ซึ่งแตกต่างจากเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกำหนดว่าลูกจ้างที่มีอายุงาน120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว ถ้า ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แต่ถ้า ลูกจ้างลาออกหรือตาย ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เมื่อเลิกจ้างจึงไม่ใช่ค่าชดเชย แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะกำหนดให้ถือว่าการจ่ายเงินบำเหน็จเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อบังคับดังกล่าวย่อมไม่มีผลยกเลิกค่าชดเชยตามกฎหมายแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างลูกจ้างรายวันเมื่อถูกจับกุม: ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างช่วงถูกควบคุมตัว
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยถูกตำรวจจับกุมตัวและควบคุมตัวไว้จนกระทั่งถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ แม้ว่าจำเลยจะเป็นผู้แจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับโจทก์ก็ตาม จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นให้โจทก์ เพราะโจทก์จะได้รับค่าจ้างเฉพาะในวันที่โจทก์มาทำงานให้แก่จำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างลูกจ้างรายวัน กรณีไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากถูกจับกุมจากการแจ้งความของนายจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยจะได้รับค่าจ้างซึ่งเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานเป็นรายวันเฉพาะในวันที่จำเลยมาทำงานให้แก่โจทก์เท่านั้น หากวันใดโจทก์ไม่มาทำงานก็จะไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์ไม่ได้มาทำงานให้แก่จำเลยเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและควบคุมตัวไว้สอบสวนจนถึงวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ แม้จำเลยจะเป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยและโจทก์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัวไว้ โจทก์จึงมาทำงานให้แก่จำเลยไม่ได้ ก็ไม่ใช่เป็นเหตุที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความที่ถูกถอนออกไปลงชื่อ ศาลมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
ส. เคยเป็นทนายความของจำเลย แต่ถูกถอนออกไปแล้ว เมื่อส. ลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่ได้รับแต่งตั้ง ถือว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ ส. เคยทำหน้าที่ทนายความแทนจำเลย การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องอุทธรณ์จึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความที่ถูกถอนชื่อลงนาม ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
ส. เคยเป็นทนายความของจำเลยแต่ถูกถอนจากการแต่งตั้งแล้วเมื่อ ส. มาลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่ได้รับแต่งตั้ง ถือว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ ส. เคยทำหน้าที่ทนายความแทนจำเลยการที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องอุทธรณ์จึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
of 89