คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความที่ถูกถอนชื่อลงนาม ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
ส. เคยเป็นทนายความของจำเลยแต่ถูกถอนจากการแต่งตั้งแล้วเมื่อ ส. มาลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่ได้รับแต่งตั้ง ถือว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ ส. เคยทำหน้าที่ทนายความแทนจำเลยการที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องอุทธรณ์จึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เข้าข่ายบกพร่องหน้าที่แต่ไม่ร้ายแรงเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ และสิทธิในการได้รับเงินสะสม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์อันเป็นการลดตำแหน่งลงต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนและงดจ่ายเงินโบนัส มีคำสั่งพักงานแล้วมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำ ความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยรับโจทก์ กลับ เข้า ทำงานตามเดิม ให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง คือเงินเดือน เงินค่าเลี้ยงชีพ และ ค่าเช่าบ้านย้อนหลังนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่า จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานเงินที่จำเลยมีคำสั่งลดขั้นเงินเดือน เงินโบนัสที่งดจ่าย เงินสะสมในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือน ที่จำเลยยังไม่ได้จ่ายให้โจทก์ในปี 2528,2529 และ 2530 ถึงวัน เลิกจ้างพร้อมดอกเบี้ย หรือให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยมิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยแจ้งชัดถึงเรื่องเงินสะสมว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่จ่ายเงินสะสมให้โจทก์และจำเลยไม่ได้ให้การถึงระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินสะสมของพนักงาน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์ หรือไม่ จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเงินสะสมนับแต่วันเลิกจ้าง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินสะสมเมื่อใด ศาลฎีกาให้ คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า พ. ได้รับอนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารจำเลย สาขารังสิตก่อนที่โจทก์จะย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขารังสิต ขณะที่โจทก์ย้ายมานั้น พ. ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้วจำนวน 1,304,382 บาท และหลังจากนั้น ผู้จัดการภาคกลาง 2 ก็ได้อนุมัติให้ พ. กู้เงินอีก 3,500,000 บาทส่วน การ ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. กู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน2,100,000 บาทนั้นเป็นกรณีที่ลูกค้าขอโอนภาระหนี้มาจากธนาคารจำเลย สาขาห้วยขวางโดยการอนุมัติของผู้จัดการภาคกลาง 2 โจทก์มิได้เป็นผู้อนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกเช่นเดียวกัน จำเลยอุทธรณ์ ว่า โจทก์อนุมัติให้ พ. และและห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ซึ่งมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่แล้วเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าวงเงิน ตามสัญญา อันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่า อำนาจของโจทก์ เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลาง รับฟังมา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ควบคุมดูแลให้ลูกค้า 2 รายดังกล่าว นำเงินชำระหนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีให้อยู่ ภายในวงเงินตามสัญญานั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้อนุมัติให้ลูกค้า 2 ราย ดังกล่าว กู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงิน เกิน บัญชี เกินกว่า อำนาจดังนั้น แม้จะมีการควบคุมดูแลให้มีการ นำ เงิน ชำระหนี้ เพื่อ ลด จำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ใช่ว่า จะทำให้ลูกค้ามีเงินมาชำระหนี้ได้เสมอไป โจทก์เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ในการอำนวยสินเชื่อให้แก่ ลูกค้าของธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อซ้ำซ้อนและอนุมัติในการรับซื้อ เช็ค ที่ มิใช่เป็นเช็คทางการค้าให้แก่ลูกหนี้ของธนาคาร แต่ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตและทำให้เกิดความเสียหาย แก่ จำเลย แต่อย่างใดการกระทำของโจทก์แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่ เป็นกรณีร้ายแรง โจทก์ลงชื่อในรายงานการตรวจและประเมินราคาหลักทรัพย์ ที่ นำมาเป็นหลักประกันในการอนุมัติสินเชื่อโดยไม่ได้ไปตรวจดู หลักทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลแรงงานฟังว่า ผู้ช่วยผู้จัดการ สาขา ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาสินเชื่อเป็นผู้ไป ตรวจ สภาพ หลักทรัพย์ และ เป็นผู้ทำรายงานตามทางเคยปฏิบัติกันมา และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการตรวจหลักทรัพย์โดยมิชอบ ประการใด การที่โจทก์ทำการดังกล่าว แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่ เป็นกรณีร้ายแรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การลดตำแหน่ง และการจ่ายเงินสะสม: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์อันเป็นการลดตำแหน่งลง ต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนและงดจ่ายเงินโบนัส มีคำสั่งพักงานแล้วมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม ให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง คือเงินเดือน เงินค่าเลี้ยงชีพ และค่าเช่าบ้านย้อนหลังนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เงินที่จำเลยมีคำสั่งลดขั้นเงินเดือน เงินโบนัสที่งดจ่าย เงินสะสมในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนที่จำเลยยังไม่ได้จ่ายให้โจทก์ในปี 2528,2529 และ 2530 ถึงวันเลิกจ้างพร้อมดอกเบี้ย หรือให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ย จำเลยมิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยแจ้งชัดถึงเรื่องเงินสะสมว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่จ่ายเงินสะสมให้โจทก์และจำเลยไม่ได้ให้การถึงระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินสะสมของพนักงาน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์หรือไม่ จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
โจทก์ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเงินสะสมนับแต่วันเลิกจ้าง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินสะสมเมื่อใด ศาลฎีกาให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า พ.ได้รับอนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารจำเลย สาขารังสิต ก่อนที่โจทก์จะย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขารังสิต ขณะที่โจทก์ย้ายมานั้น พ.ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้วจำนวน 1,304,382 บาท และหลังจากนั้นผู้จัดการภาคกลาง 2ก็ได้อนุมัติให้ พ.กู้เงินอีก 3,500,000 บาท ส่วนการให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.กู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 2,100,000 บาทนั้น เป็นกรณีที่ลูกค้าขอโอนภาระหนี้มาจากธนาคารจำเลยสาขาห้วยขวางโดยการอนุมัติของผู้จัดการภาคกลาง 2 โจทก์มิได้เป็นผู้อนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกเช่นเดียวกันจำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์อนุมัติให้ พ.และห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ซึ่งมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่แล้วเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าวงเงินตามสัญญา อันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าอำนาจของโจทก์ เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มารา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ควบคุมดูแลให้ลูกค้า 2 รายดังกล่าวนำเงินชำระหนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีให้อยู่ภายในวงเงินตามสัญญานั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้อนุมัติให้ลูกค้า 2 รายดังกล่าวกู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าอำนาจ ดังนั้น แม้จะมีการควบคุมดูแลให้มีการนำเงินชำระหนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ใช่ว่าจะทำให้ลูกค้ามีเงินมาชำระหนี้ได้เสมอไป
โจทก์เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ในการอำนวยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าของธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อซ้ำซ้อนและอนุมัติในการรับซื้อเช็คที่มิใช่เป็นเช็คทางการค้าให้แก่ลูกหนี้ของธนาคารแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตและทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยแต่อย่างใดการกระทำของโจทก์แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่เป็นกรณีร้ายแรง
โจทก์ลงชื่อในรายงานการตรวจและประเมินราคาหลักทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันในการอนุมัติสินเชื่อโดยไม่ได้ไปตรวจดูหลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลแรงงานฟังว่าผู้ช่วยผู้จัดการสาขาซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาสินเชื่อเป็นผู้ไปตรวจสภาพหลักทรัพย์และเป็นผู้ทำรายงานตามทางเคยปฏิบัติกันมา และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการตรวจหลักทรัพย์โดยมิชอบประการใด การที่โจทก์ทำการดังกล่าว แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่เป็นกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ไม่ถือเป็นค่าจ้างต่ำกว่าขั้นต่ำ
โจทก์และลูกจ้างอื่นแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลย มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคนคนละ 330 บาทต่อเดือน โดยให้ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือเงินเดือนปกติ และให้รวมเข้ากับค่าจ้างหรือเงินเดือนที่จะได้รับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2533เป็นต้นไป ค่าครองชีพจึงไม่ได้แยกต่างหากจากค่าจ้าง เมื่อค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายเดือนละ 330 บาท เท่ากับวันละ 13.75 บาทนำมารวมกับค่าจ้างปกติที่จำเลยจ่ายให้โจทก์วันละ 70 บาทแล้วจะเป็นค่าจ้างวันละ 83.75 บาท ในขณะที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายในวันดังกล่าววันละ 74 บาท จำเลยจึงไม่ได้จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือต่ำกว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การรวมค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง และการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยตกลงให้คงสภาพการจ้างเดิม ไว้ทั้งหมด ซึ่งสภาพการจ้างเดิมจำเลยมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 5 บาทการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 5 บาทเป็นการกล่าวอ้างสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม ที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอาข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม ขึ้นวินิจฉัยจึงตรงประเด็นข้อพิพาท มิใช่นอกประเด็น โจทก์และจำเลยได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กำหนดให้นำค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างมารวมเป็นค่าจ้างปกติด้วยค่าครองชีพจึงไม่ได้แยกต่างหากจากค่าจ้าง เมื่อนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างปกติที่จำเลยจ่ายให้โจทก์แล้ว มีจำนวนสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยจึงไม่ได้จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรือต่ำกว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมฉบับหลังมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรก ผู้ไม่มีส่วนได้เสียไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
อ. ทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านทั้งสองกับผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก เมื่อพินัยกรรมฉบับหลังสมบูรณ์ย่อมมีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกที่ตั้งผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ทั้งผู้ร้องที่ 2 มิได้เป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ อ. ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 3 วรรคสอง บัญญัติว่าบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ดังนั้น การที่โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ จึงไม่ใช่เป็นการออกจากงานตามความในมาตรา 33 ทวิแห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์เป็นอันพ้นจากตำแหน่ง แต่เป็นกรณีออกจากงานตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518มาตรา 9,11 ที่ว่าพนักงานของ รัฐวิสาหกิจจะต้องมีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ หากอายุเกินก็ขาดคุณสมบัติต้องพ้นจากตำแหน่งไปเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา 11 ที่บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความหมายว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้ว ก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงานดังนั้น เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุเข้าข่ายการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน สิทธิค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างจะต้องดำเนินการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ย จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมีวัตถุประสงค์ในทางสงเคราะห์พนักงานและทายาท เงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำเหน็จเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณทำนองเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญของข้าราชการซึ่งต่างจากวิธีคำนวณค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์กับเงินบำเหน็จจึงไม่ใช่ค่าชดเชย แม้มากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์เรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก จำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนได้ในช่วงใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10จึงอ้างไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเองเมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายพนักงานรัฐวิสาหกิจหลังการจัดตั้งใหม่ จำเลยมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการรับเข้าทำงาน
ตาม พ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยมิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้จำเลยรับช่วงโอนกิจการและหนี้สินของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดมาเป็นของจำเลย คงมีบทบัญญัติกำหนดให้จำเลยพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับเป็นพนักงานของจำเลยตามที่เห็นสมควร ฉะนั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ดุลพินิจ ในการรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดมาเป็นพนักงานของจำเลยตามที่จำเลยเห็นสมควร ดังนี้โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้โจทก์จะมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยใช้ดุลพินิจ รับโจทก์เข้าทำงานแล้วการที่โจทก์มิได้แสดงความจำนงขอเข้าทำงานกับจำเลย และจำเลยมิได้พิจารณารับโจทก์เข้าเป็นพนักงานโจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างจำเลยแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานและเรียกค่าจ้างระหว่างพักงานจากจำเลยในฐานะนายจ้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับพนักงานหลังการจัดตั้งองค์การใหม่: ดุลพินิจนายจ้าง และสิทธิลูกจ้าง
พระราชกฤษฎีกา ษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยมิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้จำเลยรับช่วงโอนกิจการและหนี้สินของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด มาเป็นของจำเลย คงมีบทบัญญัติกำหนดให้จำเลยพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับเป็นพนักงานของจำเลยตามที่เห็นสมควร ตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ดุลพินิจในการรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด มาเป็นพนักงานของจำเลยตามที่จำเลยเห็นสมควร ดังนี้ โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ โจทก์จะมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยใช้ดุลพินิจรับโจทก์เข้าทำงานแล้วการที่โจทก์มิได้แสดงความจำนงขอเข้าทำงานกับจำเลย และจำเลยมิได้พิจารณารับโจทก์เข้าเป็นพนักงาน โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างจำเลยแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและเรียกค่าจ้างระหว่างพักงานจากจำเลยในฐานะนายจ้างได้
of 89