คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุและสิทธิค่าชดเชย ระเบียบบริษัทมิใช่กำหนดระยะเวลาจ้าง
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การที่จำเลยมีระเบียบว่าด้วยการออกจากงานกรณีสูงอายุ ว่า พนักงานหรือลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้วให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ซึ่งเป็นปีที่ผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานจำเลย เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ที่ว่าพนักงานของรัฐวิสาหกิจจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ หากอายุเกินก็ขาดคุณสมบัติ ต้องพ้นจากตำแหน่งหาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่ เพราะจำเลยอาจเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากโจทก์ขาดคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการแต่งตั้ง และการถอนตำแหน่งหรือโจทก์จะสมัครใจลาออกก่อนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็อาจทำได้การจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน กรณีไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงลักษณะงานว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ให้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจ้างเป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ ดัง ระบุในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายจำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถามและต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เงินบำนาญที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ จัดอยู่ในประเภทเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสามของระเบียบ ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานข้อ 3(3) ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การคิดคำนวณไว้ตามข้อ 12ว่า ผู้มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หาร ด้วยห้าสิบ หากมีเวลาทำงานไม่ถึงยี่สิบห้าปีให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หาร ด้วยห้าสิบห้าซึ่งมีหลักเกณฑ์และการคิดคำนวณแตกต่างไปจากค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แล้ว โจทก์ทั้งสิบสี่จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยส่วนหนึ่งนั้นเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือนไป จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยเพื่อสงเคราะห์พนักงานและทายาท ส่วนเงินบำนาญนั้นเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณอันแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำนาญจึงมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้น แม้จะมากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยมิได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเอง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232-6234/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้าง และการจ่ายค่าชดเชยโดยพิจารณาจากพฤติการณ์ที่แท้จริง
การจะพิจารณาว่าโจทก์เป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอนหรือไม่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ กับจำเลยปฏิบัติต่อกันประกอบด้วย มิใช่พิจารณาเฉพาะข้อความในเอกสารสัญญาจ้างเท่านั้น แม้สัญญาจ้างจะมีกำหนดระยะเวลาไว้ แต่โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกันโดยโจทก์บางคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลานาน มีการทำสัญญาจ้างหลายครั้งหลายหน มีการทำย้อนหลัง โจทก์จำเลยมิได้ถือตามสัญญาจ้างอย่างจริงจัง จำเลยมีเจตนาจ้างโจทก์ไว้เป็นประจำแสดงว่าโจทก์มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
การเล่นการพนันแม้จะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ในสภาพที่โจทก์ต้องประจำอยู่ในเรือเดินทะเลตลอดเวลา การเล่นการพนันระหว่างเพื่อนพนักงานด้วยกันเป็นบางครั้งบางคราวโดยจำเลยมิได้เสียงานทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นการพนันประเภทใด ได้เสียกันมากน้อยเท่าใดและมิได้เล่นเป็นอาจิณ ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3)
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้พนักงานเฉพาะที่อยู่บนเรือทุกคนโดยกำหนดจำนวนไว้แต่ละคน แต่มิได้จ่ายเหมาเป็นเงินให้โดยตรง พนักงานจะได้รับเงินส่วนแบ่งเฉพาะกรณีที่ใช้เป็นค่าอาหารไม่หมดเท่านั้น โดยนำส่วนที่เหลือมาเฉลี่ยกันทุกคน แม้พนักงานคนใดจะไม่ได้รับประทานอาหารก็จะมิได้รับค่าอาหารเต็มจำนวนที่กำหนดไว้ให้แต่ละคน คงได้รับเฉพาะส่วนเฉลี่ยสำหรับเงินที่เหลือจากค่าอาหารเช่นเดียวกับพนักงานอื่นที่รับประทานอาหาร แต่หากจ่ายเป็นค่าอาหารหมดก็ไม่ได้รับเงินนั้น เงินค่าอาหารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ แต่เป็นสวัสดิการเฉพาะกรณีที่พนักงานอยู่บนเรือเท่านั้น ค่าอาหารจึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพิจารณารวมกันได้
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา177 วรรคสาม การที่จำเลยจะฟ้องแย้งเข้ามาในคดีที่ถูกฟ้องนั้นเรื่องที่ฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณารวมกันได้เพื่อจะได้พิจารณาไปเสียคราวเดียวกัน โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดในสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยให้การว่า ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยโดยไม่ทำหน้าที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าปรับและขาดกำไรไปอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินอันเป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานของจำเลยได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่นนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยนั้นมาจากสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำผิดสัญญาในการทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ต่อกันทำให้จำเลยเสียหายจนไม่อาจจ่ายค่าจ้างได้ตามกำหนดเวลาก็เป็นข้ออ้างที่เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกันกับที่จำเลยยกขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่สามารถพิจารณารวมกันไปได้ศาลชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม การที่จำเลยจะฟ้องแย้งเข้ามาในคดีที่ถูกฟ้องนั้น เรื่องที่ฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณารวมกันได้ เพื่อจะได้พิจารณาไปเสียคราวเดียวกัน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดในสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยให้การว่า ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยโดยไม่ทำหน้าที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าปรับและขาดกำไรไปอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินอันเป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานของจำเลยได้ขอให้โจทก์ ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่นนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของ จำเลยนั้นมาจากสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำผิดสัญญาในการทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ต่อกันทำให้จำเลยเสียหาย จนไม่อาจจ่ายค่าจ้างได้ตามกำหนดเวลาก็เป็นข้ออ้างที่เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกันกับที่จำเลยยกขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่สามารถพิจารณารวมกันไปได้ศาลชอบที่จะรับฟ้องแย้งของ จำเลยไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างเดิมเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว หากนายจ้างลดค่าจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ43,000 บาท แต่ต่อมาโจทก์ได้รับค่าจ้างไม่ครบจำนวนดังกล่าวเพราะการกระทำของจำเลยที่ผิดสัญญาจ้าง การคำนวณค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องนำค่าจ้างเดือนละ 43,000 บาท มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ และเมื่อจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบ43,000 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นค่าเสียหาย ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างชดใช้แทนโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา เมื่อคดี มีข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างครบถ้วนศาลแรงงานกลางย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างเดิมเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว กรณีจำเลยลดค่าจ้าง และศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ43,000 บาท แต่ต่อมาโจทก์ได้รับค่าจ้างไม่ครบจำนวนดังกล่าวเพราะการกระทำของจำเลยที่ผิดสัญญาจ้าง การคำนวณค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องนำค่าจ้างเดือนละ 43,000 บาท มาเป็น เกณฑ์ในการคำนวณ และเมื่อจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบ43,000 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นค่าเสียหาย ที่ ศาลแรงงานกลางกำหนดให้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างชดใช้แทนโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา เมื่อคดี มี ข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างครบถ้วนศาลแรงงานกลางย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022-6023/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่ระเบียบ
กรณีจะถือว่าการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ของการฝ่าฝืนคำสั่งและผลที่เกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนนั้นว่าเป็นเรื่องร้ายแรงหรือไม่เป็นหลัก มิใช่ว่าระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกำหนดไว้อย่างไรก็ต้องถือตามนั้นเสมอไป การที่จำเลยมีคำสั่งให้ครูอาจารย์ที่ได้ยื่นใบสมัครงานไว้ยังหน่วยงานหรือองค์การอื่น ซึ่งถือว่ามีเจตนาเปลี่ยนงานให้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โรงเรียนทราบโดยแจ้งต่อผู้อำนวยการนั้น เป็นคำสั่งที่มิใช่เกี่ยวกับการทำงานในหน้าที่โดยตรงอันจะถือได้ว่าถ้าฝ่าฝืนแล้วจะเกิดความเสียหายแก่งานในหน้าที่ของลูกจ้างจำเลยโดยตรง แต่เป็นคำสั่งที่จำเลยเห็นว่าลูกจ้างควรปฏิบัติในระหว่างที่เป็นลูกจ้างนายจ้างกันอยู่ การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นกรณีร้ายแรงตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) กำหนดไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5934-5935/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายแต่ละคน แม้มีการถอนฟ้องคดีไปแล้วโดยผู้เสียหายอื่น
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 หมายความว่า ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายคนหนึ่งได้ยื่นฟ้องไว้แล้วถอนฟ้องคดีนั้นไปจากศาล ย่อมตัดสิทธิผู้เสียหายคนนั้นที่จะฟ้องคดีอาญาในข้อหาเดียวกันนั้นอีกเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิผู้เสียหายคนอื่นที่จะฟ้องคดีอาญาในข้อหาเดียวกันนั้นอีกไม่ เพราะสิทธิในการดำเนินคดีอาญาที่ตนเป็นผู้เสียหายย่อมเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เสียหายแต่ละคน ทั้งมาตรานี้มิได้บัญญัติตัดสิทธิผู้เสียหายแต่ละคนในกรณีที่มีผู้เสียหายหลายคนไว้โดยชัดแจ้ง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่มิได้ถอนฟ้องจึงมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5870/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดีพนัน: ความผิดต้องตรงกับบัญชี ก. พ.ร.บ.การพนัน และผลผูกพันบุคคลภายนอก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกที่หลบหนีได้บังอาจร่วมกันเล่นการพนันรัสเซี่ยนพูล(ผีลาย) ซึ่งเป็นการพนันตามบัญชี ก.อันดับที่ 18 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยมิได้มีพระราชกฤษฎีกาอนุญาตให้เล่นได้ ซึ่งประเภทของการพนันที่โจทก์ระบุมาในฟ้องไม่ใช่บิลเลียดรู หรือตีผี ดังที่ระบุไว้ในบัญชี ก. อันดับที่ 18 ดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จึงมิใช่การกระทำที่พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ และศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วว่าทรัพย์สินของกลางเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นการพนันให้ริบก็ตาม คำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันผู้ร้อง และกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อการกระทำของจำเลยที่โจทก์กล่าวในฟ้องมิใช่การกระทำที่เป็นความผิด ทรัพย์สินของกลางที่เจ้าพนักงานยึดซึ่งผู้ร้องขอคืนจึงมิใช่อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นการพนันที่มาตรา 10วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจริบได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วยหรือไม่.
of 89