คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าทำงานวันหยุด & การปรับค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้าง
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีของลูกจ้างต้องอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) มีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ใช่จะมีขึ้นเมื่อมีการเลิกจ้าง การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนำค่าครองชีพมารวมจ่ายเป็นค่าจ้างอัตราใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2524 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำให้ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานก่อนวันดังกล่าวและยอมรับการกระทำเช่นนั้นของจำเลยต้องเสียสิทธิที่มีอยู่เดิม ส่วนลูกจ้างที่เข้าทำงานหลังวันดังกล่าวก็จะได้รับค่าจ้างในอัตราที่รวมค่าครองชีพเข้าด้วยแล้ว การนำค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5073/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหุ้นส่วนไม่เข้าข่ายโกงเจ้าหนี้ หากไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงชำระหนี้
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มีจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามกับ จ. ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเข้าหุ้นส่วนเดิมโดยให้จำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนผู้จัดการ และถอนเงินลงหุ้นออกไปโดยให้จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน ให้จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มีหนี้สินและไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 1ต้องการเลิกห้างหุ้นส่วน แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้องการดำเนินกิจการต่อ จำเลยที่ 1 กับ จ. กับ จ. จึงถอนหุ้นออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยไม่มีการถอนเงินลงหุ้นไปจริงเพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ไม่มีเงินเหลืออยู่เลย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ถอนหุ้นจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5073/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสัญญาเข้าหุ้นส่วนและการถอนหุ้น ไม่ถือเป็นการโกงเจ้าหนี้เมื่อไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงหนี้
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มีจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามกับ จ. ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเข้าหุ้นส่วนเดิม โดยให้จำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนผู้จัดการ และถอนเงินลงหุ้นออกไป โดยให้จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน ให้จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มีหนี้สินและไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 1 ต้องการเลิกห้างหุ้นส่วน แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้องการดำเนินกิจการต่อ จำเลยที่ 1 กับ จ.จึงถอนหุ้นออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยไม่มีการถอนเงินลงหุ้นไปจริง เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ไม่มีเงินเหลืออยู่เลยดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ถอนหุ้นจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงานและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การยื่นข้อเรียกร้องและการไกล่เกลี่ย
การที่บริษัทนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องซึ่งเป็นสหภาพแรงงาน แล้วผู้ร้องไม่ยอมรับข้อเรียกร้องและไม่ยอมเจรจานั้นถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานอันเป็นการดำเนินการตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานที่จะพิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าวและดำเนินการไกล่เกลี่ย ให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันต่อไปตามมาตรา 22 หากไม่อาจตกลงกันได้บริษัทนายจ้างและผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคท้าย ต่อไป จะใช้สิทธิทางศาลขอให้วินิจฉัยชี้ขาดว่าการยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ เพราะตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลสำหรับกรณีนี้แต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงานและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การยื่นข้อเรียกร้องและการไกล่เกลี่ย
การที่บริษัทนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องซึ่งเป็นสหภาพแรงงาน แล้วผู้ร้องไม่ยอมรับข้อเรียกร้องและไม่ยอมเจรจานั้นถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานอันเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานที่จะพิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าวและดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันต่อไปตามมาตรา 22 หากไม่อาจตกลงกันได้บริษัทนายจ้างและผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคท้าย ต่อไป จะใช้สิทธิทางศาลขอให้วินิจฉัยชี้ขาดว่าการยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ เพราะตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลสำหรับกรณีนี้แต่ประการใดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำวินิจฉัยศาลแรงงานกลาง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เงินเบี้ยเลี้ยงที่โจทก์ได้รับคือเงินประจำตำแหน่ง มิใช่เงินเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อจำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่แผนกอื่นจึงมีอำนาจตัดไม่จ่ายให้ได้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินส่วนนี้เป็นเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ เพื่อให้เห็นว่าการตัดเบี้ยเลี้ยงของโจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมาดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำวินิจฉัยศาลแรงงานกลาง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เงินเบี้ยเลี้ยงที่โจทก์ได้รับคือเงินประจำตำแหน่ง มิใช่เงินเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อจำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่แผนกอื่นจึงมีอำนาจตัดไม่จ่ายให้ได้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินส่วนนี้เป็นเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ เพื่อให้เห็นว่าการตัดเบี้ยเลี้ยงของโจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมาดังกล่าว เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีเแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝึกซ้อมกีฬาของลูกจ้างถือเป็นการทำงาน หากประสบอันตรายระหว่างนั้น นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อประจำสาขาจังหวัดชุมพร เมื่อผู้จัดการสาขาชุมพร อนุญาตให้พนักงานธนาคารฝึกซ้อมกีฬาโดยถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร และตามระเบียบของธนาคารฉบับที่ 21 ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคารยังกำหนดว่าการฝึกซ้อมกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้ถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร โจทก์ประสบอันตรายขณะฝึกซ้อมกีฬา จึงถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์
การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2517เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดเแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงาน-กลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝึกซ้อมกีฬาของลูกจ้างถือเป็นงาน ย่อมได้รับเงินทดแทนหากประสบอันตราย และค่าพาหนะเดินทางเป็นค่ารักษาพยาบาล
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทำหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อประจำสาขาจังหวัดชุมพรเมื่อผู้จัดการสาขาชุมพร อนุญาตให้พนักงานธนาคารฝึกซ้อมกีฬาโดยถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร และตามระเบียบของธนาคารฉบับที่ 21ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคารยังกำหนดว่าการฝึกซ้อมกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้ถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร โจทก์ประสบอันตรายขณะฝึกซ้อมกีฬา จึงถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์ การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่20 พฤศจิกายน 2517 เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาลโจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างขับรถประมาท: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ ไม่ใช่วันจ่ายค่าซ่อม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสาร จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างโดยขับรถด้วยความประมาททำให้รถของโจทก์รถของบุคคลอื่นเสียหายและ ทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่รถของโจทก์ถูกเฉี่ยวชนและชดใช้เงินที่โจทก์ใช้เป็นค่าเสียหายแก่บุคคล อื่นให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากจะเป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดเนื่องจากกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายแล้วยังเป็นฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง เป็นการทำผิดหน้าที่ที่จำเลยจะต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นฟ้องที่ขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองประการแม้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอายุความ 10 ปีแต่เงินค่าซ่อมรถของโจทก์ที่โจทก์เสียไปถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่นั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถให้แก่ผู้รับจ้างซ่อม เมื่อนับแต่วันเกิดเหตุถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
of 89