คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5924/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่การงาน: การกระทำร่วมกันของลูกจ้างและผู้บังคับบัญชา การลงโทษทางวินัย
การที่ผู้คัดค้านไม่ได้ไปทำงานคงนั่งล้อมวงดู อ.และส.เล่นหมากรุก กันอยู่ จนเวลา 13 นาฬิกาเศษ น. ผู้จัดการแรงงานสัมพันธ์ของผู้ร้องมาพบทั้งสามคนจึงได้แยกย้ายกันไปทำงานเห็นได้ว่า เมื่อถึงเวลาทำงานแล้ว ผู้คัดค้านและ อ.กับส.มิได้ไปทำงานตามหน้าที่ การไม่ทำงานตามหน้าที่ในเวลาทำงานเช่นนี้เป็นการละทิ้งหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง การที่ อ.และส.ซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องสั่งให้ผู้คัดค้านทำงานละทิ้งหน้าที่ไม่ไปทำงานตามเวลานั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้คัดค้านซึ่งจะต้องทำงานที่จะละทิ้งหน้าที่การงานไปด้วยไม่ ในเมื่อทั้งสามคนร่วมกันไม่ปฏิบัติงานตามเวลาทำงานในหน้าที่ กรณีจึงต้องถือว่าละทิ้งหน้าที่การงานด้วยกัน ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะลงโทษผู้คัดค้านได้ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) เมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้าง ผู้ร้องมีอำนาจที่ร้องขอให้ลงโทษได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 52.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5920/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำทุจริตและการขัดคำสั่งนายจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์เอาใบเตือนไปจากการครอบครองของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโดยมิได้รับอนุญาต เป็นการเอาทรัพย์ของนายจ้างไปโดยพลการอันส่อให้เห็นเจตนาทุจริต และเมื่อจำเลยสั่งให้โจทก์นำใบเตือนมาคืน โจทก์ไม่ยอมนำมาคืนจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จไม่ใช่สิทธิทางกฎหมาย แต่เป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง การจ่ายเงินบำเหน็จหรือไม่อย่างไรเป็นสิทธิของนายจ้าง
เงินบำเหน็จมิใช่เงินที่นายจ้างมีหน้าที่จะต้องจ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การจะจ่ายเงินบำเหน็จหรือไม่อย่างไรเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จะตกลงกันไว้อย่างไรก็ได้ ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จกำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและเงินบำเหน็จ ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับเงินชดเชยอย่างเดียว ดังนี้เป็นการกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จ มิใช่เป็นการกำหนดเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชย สิทธิที่จะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีอยู่อย่างไรก็เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ ไม่กระทบกระเทือนถึงคนอื่นที่มิได้ตกลงด้วย จึงมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายตามส่วน หากเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิด และมิได้ใช้สิทธิลาหยุด
ค่าจ้างหมายความรวมถึงเงินที่จ่ายให้ในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย และถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิด ให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ โดยให้จ่ายเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้นค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเป็นค่าจ้าง ลูกจ้างทำงานมานาน 1 ปี 8 เดือนครึ่ง แล้วถูกเลิกจ้าง โดยมิได้มีความผิด เมื่อยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน ที่มีสิทธิได้รับโดยสำหรับปีแรกเต็มปีจำนวน 6 วันทำงาน และอีก 8 เดือนครึ่งจำนวน 4 วันทำงาน รวมเป็น 10 วันทำงาน เมื่อนายจ้างเลิกจ้างก็ได้จ่ายเงินค่าจ้าง เงินค่าสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินค่าชดเชยให้ครบถ้วนแล้ว คงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยนายจ้าง อ้างว่าลูกจ้างใช้สิทธิลาหยุดด้วยวาจาไปครบถ้วนแล้วซึ่ง ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าในฐานะที่นายจ้างประกอบกิจการโรงพยาบาล ก็น่าจะมีวิธีการจดแจ้งหรือบันทึกเรื่องการลาหยุดไว้ จึงฟังได้ว่า ลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิลาหยุด พฤติการณ์ที่ปรากฏยังไม่เพียงพอว่า นายจ้างจงใจผิดนัดในการจ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จึง ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินเพิ่มเติมของเงินค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน 68,400 บาท และให้ชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15ของเงินค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วันนับแต่วันฟ้อง โดยมิได้มีคำขอให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ในศาลแรงงานกลาง และคำขอนี้ก็มิได้ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5711-5723/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าชดเชย: เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย, การนับอายุการทำงาน, ผู้ผิดนัดและดอกเบี้ย
พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติ หรือมีเหตุต้องพ้นจากตำแหน่ง การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วยเท่านั้น โจทก์ที่ 1 ถึง 12 บกพร่องต่อหน้าที่หรือมีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานอันถือว่าเป็นผู้ไม่สามารถทำงานให้แก่จำเลยได้เต็มเวลา และเป็นการขาดคุณสมบัติ แต่ก็มิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ถึง 12 ออกจากงานจึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมายความว่าเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นการจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานเมื่อออกจากงานของจำเลยตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าชดเชย ถือมิได้ว่าเงินที่จ่ายตามข้อบังคับดังกล่าวเป็นการจ่ายค่าชดเชย แม้จะมีข้อบังคับระบุว่าพนักงานมีสิทธิรับเงินบำเหน็จเพียงอย่างเดียว และถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายก็ไม่มีผลบังคับ อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้ง คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางโดยยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายก็ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง ข้ออ้างว่าไม่เจตนาหาเป็นเหตุให้พ้นความรับผิดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ดื่มสุราขณะทำงาน แม้ดื่มนอกสถานที่ ถือเป็นความผิดร้ายแรง
จำเลยที่ 15 เป็นลูกจ้างโจทก์ ทำหน้าที่ขับรถเครนยกของหนักต้องใช้ความระมัดระวัง เมื่อจำเลยที่ 15 ดื่มสุราในเวลาทำงานแม้เป็นการดื่มนอกที่ทำงาน แต่ได้กลับเข้าทำงานในลักษณะมึนเมาสุราถ้าจำเลยที่ 15 เข้าปฏิบัติหน้าที่ขับรถเครนก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้การกระทำของจำเลยที่ 15จึงเป็นความผิดกรณีร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดความเสียหายขึ้นก่อน ดังนี้ โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 15 ได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: ดื่มสุราขณะทำงานและเข้าปฏิบัติหน้าที่เสี่ยง
จำเลยมีหน้าที่ขับเครนยกของหนัก ต้องใช้ความระมัดระวังเมื่อจำเลยดื่มสุราในเวลาทำงาน แม้ได้ดื่มนอกที่ทำงาน แต่ได้กลับเข้าทำงานในลักษณะมึนเมาสุรา ถ้าจำเลยเข้าปฏิบัติหน้าขับรถเครน ก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรณีร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดความเสียหายขึ้นก่อน โจทก์จึงมีสิทธิเลิกจ้างจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 (3)
แม้โจทก์ไม่ได้ลงโทษเลิกจ้าง ส.ด้วย ก็เป็นดุลพินิจในการลงโทษของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างซึ่งหน้าที่ในความรับผิดของลูกจ้างแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน การไม่ลงโทษเลิกจ้าง ส.จึงไม่อาจถือเป็นเหตุที่จะถือว่าการเลิกจ้างจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121แต่อย่างใด
การกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดกรณีร้ายแรง เข้าเกณฑ์ที่โจทก์จะลงโทษเลิกจ้างได้ การเลิกจ้างของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของรถเช่าซื้อ, ความรับผิดทางละเมิด, และการแบ่งความรับผิดจากหลายฝ่าย
แม้โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่นายมังกรขับ แต่ถ้าโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อ การครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวเป็นการครอบครองโดยมีเจตนาจะเป็นเจ้าของ และตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมรถยนต์คันดังกล่าวให้คงสภาพใช้การได้ดีตลอดเวลาหากมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบรรยายตามความเข้าใจของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ก.เป็นผู้เสียหาย และตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 รัฐเป็นผู้เสียหาย คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลย โจทก์ในคดีนี้ไม่ใช่ผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญานั้น ในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแต่เป็นกรณีที่ต้องฟังข้อเท็จจริงกันใหม่จากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบกันมาในสำนวนคดีนี้ ความเสียหายของโจทก์มิได้เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว กล่าวคือเกิดจากการขับรถยนต์โดยประมาทของ ม.จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์เป็นอย่างมากด้วย พิเคราะห์พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้วไม่สมควรที่จะให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายทั้งหมดของโจทก์. (วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2534)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ และอำนาจฟ้องคดี
แม้โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ถูกชน แต่ถ้าโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อ การครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวเป็นการครอบครองโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ และตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมรถยนต์คันดังกล่าวให้คงสภาพใช้การได้ดีตลอดเวลาหากมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าวได้รับความเสียหายย่อมถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบรรยายตามความเข้าใจของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ สำนวนคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 300 ซึ่ง ก. เป็นผู้เสียหาย และตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งรัฐเป็นผู้เสียหายสำหรับโจทก์ในคดีนี้ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญานั้นในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในสำนวนคดีอาญาดังกล่าว แต่เป็นกรณีที่ต้องฟังข้อเท็จจริงกันใหม่จากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบกันในสำนวนคดีนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างปิดงานขาดอายุความ ย่อมทำให้สิทธิรับเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าหายไปด้วย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยในระหว่างที่จำเลยปิดงานและโจทก์ไม่ได้ทำงานตามปกติค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกนี้ไม่ใช่เงินเดือนค้างจ่ายที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แต่เป็นสินจ้างคนงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) มีอายุความ2 ปี ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสองนั้น ต้องมีสิทธิได้รับค่าจ้างที่ค้างชำระด้วยจึงจะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มเมื่อค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยขาดอายุความ สิทธิในการรับเงินเพิ่มย่อมหมดไปด้วย
of 89