คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาการรับเหมาช่วงและการเพิกถอนมอบอำนาจ ไม่เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญารับเหมาก่อสร้างชุมสายเคลื่อนที่กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์เป็นผู้ก่อสร้างชุมสายดังกล่าวจนเสร็จ แต่โจทก์ก็เป็นเพียงผู้รับงานก่อสร้างมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่งเท่านั้น จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะคู่สัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยตรง แม้จำเลยที่ 1 จะได้ทำหนังสือมอบให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อและรับเงินค่าก่อสร้างจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แล้วต่อมาจำเลยที่ 1 เพิกถอนใบมอบอำนาจที่ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าก่อสร้างจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 รับเงินนั้นไปจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้เท่านั้น ส่วนที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าต่อมาโจทก์สืบทราบว่า จำเลยทั้งห้าได้สมคบกันโดยเจตนาทุจริตเป็นเรื่องที่บรรยายเพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงไม่ทำให้คดีผิดสัญญาทางแพ่งกลับกลายเป็นคดีอาญา การกระทำของจำเลยทั้งห้าตามฟ้องโจทก์ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยวิธีจับสลาก: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยาน
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยวิธีจับสลากเพื่อคัดเลือกพนักงานที่ต้องพ้นหน้าที่ไป มิใช่เนื่องจากมีพนักงานมากเกินความจำเป็น แต่มีสาเหตุเนื่องจากจำเลยไม่พอใจสามีโจทก์ที่เป็นที่ปรึกษาสหภาพแรงงานปากกาไพล๊อต จึงเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยอุทธรณ์ว่า ในการวินิจฉัยประเด็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาตามข้อต่อสู้ของจำเลยก่อนว่ามีเหตุผลในการเลิกจ้างโจทก์อย่างไรหรือไม่ แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยข้อกล่าวอ้างของโจทก์ก่อน และวินิจฉัยแต่เพียงคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานเอกสารของโจทก์เท่านั้น ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยว่า การจับสลากนั้นจำเลยใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์อย่างไรหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ขัดต่อข้อเท็จจริง และเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ปรากฏจากคำเบิกความของพยานฝ่ายใด และปรากฏจากคำเบิกความของพยานจำเลยว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ ข้อเท็จจริงจึงสรุปได้เป็นยุติว่า จำเลยจำเป็นต้นลดจำนวนพนักงานในหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน ซึ่งเป็นเหตุผลที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ด้วยวิธีจับสลากนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากที่ดินครบแปลง สิทธิไถ่ขาดอายุ ความได้มาของที่ดินชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินทั้งแปลงแก่จำเลย แล้วไม่ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด แม้เนื้อที่ที่ดินที่แท้จริงจะมากกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดิน จำเลยก็ย่อมได้ที่ดินพิพาทส่วนที่เกินกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบ ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นลาภมิควรได้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่ใช้สิทธิไถ่ ที่ดินตกเป็นของจำเลยโดยชอบธรรม ไม่เป็นลาภมิควรได้
โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินทั้งแปลงแก่จำเลย แล้วไม่ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดแม้เนื้อที่ที่ดินที่แท้จริงจะมากกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดิน จำเลยก็ย่อมได้ที่ดินพิพาทส่วนที่เกินกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบ ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นลาภมิควรได้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรงต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี แม้มีระเบียบห้ามครอบครองโพยสลาก
แม้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะระบุว่าการมีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง แต่การกระทำใด ๆ ที่ถือว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ซึ่งนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้น จะต้องเป็นไปตามลักษณะแห่งการกระทำเป็นเรื่อง ๆ ไป โจทก์เพียงแต่มีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลย โดยไม่ได้เล่นการพนันสลากกินรวบภายในอาณาเขตโรงงานดังกล่าวด้วย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง ต้องพิจารณาพฤติการณ์การกระทำเป็นรายกรณี แม้มีข้อห้ามในระเบียบ
แม้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะระบุว่าการมีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลยถือ เป็นความผิดกรณีร้ายแรง แต่ การกระทำใด ๆที่ถือ ว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ซึ่ง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้น จะต้อง เป็นไปตาม ลักษณะแห่งการกระทำเป็นเรื่อง ๆ ไป โจทก์เพียงแต่ มีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลย โดย ไม่ได้เล่นการพนันสลากกินรวบภายในอาณาเขตโรงงานดังกล่าวด้วย จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน: การพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่
ส. เป็นลูกจ้างของโจทก์มีตำแหน่งเป็นคนการ มีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมบนขบวนรถไฟสายหนองคาย-กรุงเทพ ตั้งแต่รถไฟออกจากสถานีหนองคาย ในเวลา19 นาฬิกา ถึงเวลา 23 นาฬิกา หลังจากนั้นจนถึงเวลา 4.30 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นเป็นเวลาพักผ่อน ส. จะนอนที่รถทำการพนักงานรักษารถ และเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ 4.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง การที่ ส. ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงต้องเดินทางไปกับขบวนรถไฟ การพักผ่อนบนขบวนรถไฟก็เพื่อให้ส.ได้ปฏิบัติงานต่อหลังจากพักผ่อนแล้วจึงเป็นหน้าที่ของส.ที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟ ฉะนั้น การที่ ส. พลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่พักผ่อนบนรถไฟ จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ตามความหมายของคำว่า "ประสบอันตราย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงานในขบวนรถไฟ: การคุ้มครองแรงงาน
ผู้ตายมีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมในขบวนรถไฟ โดยผู้ตายจะต้องเดิน ทางไปกับขบวนรถไฟด้วย การที่ให้ผู้ตายพักผ่อนหลังจากทำงานตั้งแต่เวลา 23 นาฬิกา จนถึงเวลา 4.30 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นก็เพื่อให้ผู้ตายได้มีเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้วจะได้เริ่มปฏิบัติงานต่อจนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ตายที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟนั้นเพื่อเริ่มปฏิบัติงานต่อไป ดังนั้น การที่ผู้ตายปิดประตูรถแล้วพลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่ผู้ตายพักผ่อนหลังจากที่ได้ ทำงานมาแล้ว จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายจากการทำงาน: ลูกจ้างประสบอันตรายขณะพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นอันตรายจากการทำงาน
ผู้ตายมีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมในขบวนรถไฟ โดย ผู้ตายจะต้องเดิน ทางไปกับขบวนรถไฟด้วย การที่ให้ผู้ตายพักผ่อนหลังจากทำงานตั้งแต่ เวลา 23 นาฬิกา จนถึง เวลา4.30 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นก็เพื่อให้ผู้ตายได้ มีเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้วจะได้ เริ่มปฏิบัติงานต่อ จนถึง เวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง ซึ่ง เป็นหน้าที่ของผู้ตายที่จะต้อง อยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟนั้นเพื่อเริ่มปฏิบัติงานต่อ ไป ดัง นั้น การที่ผู้ตายปิดประตูรถแล้วพลัดตก จากขบวนรถไฟจนถึง แก่ความตายในช่วงเวลาที่ผู้ตายพักผ่อนหลังจากที่ได้ ทำงานมาแล้ว จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201-3205/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล และมีผลเมื่อศาลมีคำพิพากษา การคำนวณค่าชดเชยต้องรวมค่าครองชีพ
นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วนายจ้างจะต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่ง คดีนี้หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างแต่ โจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าเมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ยังคงมีนิติสัมพันธ์อยู่กับจำเลยอย่างเดิมจนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา ต้องถือว่าการเลิกจ้างมีผลนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลาง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำรายเดือนจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในอัตราเดิมนับแต่วันที่จำเลยหยุดดำเนินกิจการตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้แปรรูปองค์การจำเลยจนถึงวันที่มีคำพิพากษาศาลฎีกา อันเป็นช่ วงเวลาที่โจทก์ไม่ได้ทำงานโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์และจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จโดยจะต้องนำค่าครองชีพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างมารวมเป็นฐานคำนวณให้แก่โจทก์ด้วย
of 89