คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3161/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-ภารจำยอม: ศาลฎีกาวินิจฉัยแผนที่ประกอบคำฟ้องชัดเจนเพียงพอ ไม่เคลือบคลุม และสิทธิภารจำยอมเกิดจากอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยเปิดทางเดินซึ่ง ผ่านที่ดินจำเลยเนื่องจากทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและทางภารจำยอม โดย บรรยายถึง ความเป็นมาและสภาพของที่ดินโจทก์จำเลยว่ามีอาณาเขตติดต่อ กันและติดต่อ กับที่ดินแปลงอื่นอย่างไร มีทางใช้ เข้าออกที่ดินของโจทก์ที่ใด บ้าง และกล่าวถึง เหตุผลที่ทางพิพาทตก เป็นภารจำยอมและทางจำเป็นอย่างไร กับแนบแผนที่สังเขปมาท้ายฟ้อง ซึ่ง แผนที่ดังกล่าวได้ระบายสีพร้อมทั้งมีบันทึกและเครื่องหมายบอกรายละเอียดเกี่ยวกับแนวเขตที่ดินโจทก์จำเลยกับทางพิพาท และเครื่องหมายแสดงทิศไว้ด้วยซึ่ง เมื่อดู ประกอบกันแล้ว สามารถเข้าใจได้ แจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา โดยเฉพาะ จำเลยซึ่ง มีที่ดินอยู่ติด กับที่ดินของโจทก์ จะต้อง เข้าใจได้ เป็นอย่างดีฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เดิน ผ่านทางพิพาทเกินกว่า 10 ปี ด้วย ความสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาที่จะใช้ เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ตลอด มา โจทก์จึงได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาท โดย อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วย มาตรา 1382.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3161/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมโดยอายุความและการครอบครองเพื่อประโยชน์ใช้สอย กรณีทางพิพาทที่ใช้ต่อเนื่องกว่า 10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นและทางภารจำยอม โดยบรรยายถึงความเป็นมาและสภาพที่ดินโจทก์จำเลยว่ามีอาณาเขตติดต่อกันและติดต่อกับที่ดินแปลงอื่นอย่างไร มีทางใช้เข้าออกที่ดินของโจทก์ที่ใดบ้าง และกล่าวถึงเหตุผลที่ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมและทางจำเป็นอย่างไร กับแนบแผนที่สังเขปมาท้ายฟ้องโดยแผนที่ดังกล่าวได้ระบายสีพร้อมทั้งมีบันทึกและเครื่องหมายบอกรายละเอียดเกี่ยวกับแนวเขตที่ดินโจทก์จำเลยกับทางพิพาทและเครื่องหมายแสดงทิศไว้ด้วย ซึ่งเมื่อดูประกอบกันแล้วสามารถเข้าใจได้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยเฉพาะจำเลยซึ่งมีที่ดินอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์จะต้องเข้าใจได้เป็นอย่างดี ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เดินผ่านทางพิพาทเกินกว่า 10 ปี ด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาที่จะใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ตลอดมาโจทก์จึงได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3161/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องภารจำยอมและทางจำเป็น: ฟ้องไม่เคลือบคลุมเมื่อมีแผนที่ประกอบชัดเจน และอายุความภารจำยอม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยเปิดทางเดินซึ่งผ่านที่ดินจำเลยเนื่องจากทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและทางภารจำยอม โดยบรรยายถึงความเป็นมาและสภาพของที่ดินโจทก์จำเลยว่ามีอาณาเขตติดต่อกันและติดต่อกับที่ดินแปลงอื่นอย่างไร มีทางใช้เข้าออกที่ดินของโจทก์ที่ใดบ้าง และกล่าวถึงเหตุผลที่ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมและทางจำเป็นอย่างไร กับแนบแผนที่สังเขปมาท้ายฟ้อง ซึ่งแผนที่ดังกล่าวได้ระบายสีพร้อมทั้งมีบันทึกและเครื่องหมายบอกรายละเอียดเกี่ยวกับแนวเขตที่ดินโจทก์จำเลยกับทางพิพาท และเครื่องหมายแสดงทิศไว้ด้วย ซึ่งเมื่อดูประกอบกันแล้ว สามารถเข้าใจได้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา โดยเฉพาะจำเลยซึ่งมีที่ดินอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ จะต้องเข้าใจได้เป็นอย่างดีฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เดินผ่านทางพิพาทเกินกว่า 10 ปี ด้วยความสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาที่จะใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ตลอด มา โจทก์จึงได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาท โดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถาน: สิทธิครอบครองที่ดินและขอบเขตพื้นที่บ้าน
โจทก์ร่วมอาศัยปลูกบ้านอยู่บนที่ดินของ ป. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้อาศัยย่อมมีสิทธิครอบครองในบ้านของตน แต่หามีสิทธิครอบครองที่ดินของ ป. ด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อฟังไม่ได้ว่าบริเวณที่จำเลยเข้ามายืนอยู่เป็นบริเวณบ้านของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานของโจทก์ร่วม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสหภาพแรงงาน: คณะกรรมการชุดเดิมหมดวาระ ย่อมไม่มีอำนาจดำเนินการแทนสหภาพ
ตามข้อบังคับของสหภาพแรงงานฯ โจทก์มิได้มีข้อกำหนดให้คณะกรรมการสหภาพฯ ทำหน้าที่รักษาการต่อไปภายหลังสิ้นสุดวาระการดำรง ตำแหน่งลง คณะกรรมการสหภาพฯ จึงต้องสิ้นสุดสภาพการเป็นกรรมการนับแต่วันครบวาระการดำรง ตำแหน่งเป็นต้นไป และไม่มีอำนาจลงมติปลดสมาชิกภาพของผู้แทนสมาชิกใด ๆ อีก ประกอบกับข้อบังคับของสหภาพฯ กำหนดว่าการประชุมใหญ่คือการประชุมซึ่งผู้แทนสมาชิกทุกคนตามทะเบียนมีสิทธิเข้าประชุมได้ ฉะนั้นการที่คณะกรรมการซึ่งสิ้นสุดวาระการดำรง ตำแหน่งดังกล่าว ได้ลงมติปลดสมาชิกภาพของผู้แทนสมาชิก 15 คน และจัดประชุมใหญ่ โดยไม่ยอมให้ผู้แทนที่ถูกปลดเหล่านี้เข้าประชุมด้วย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสหภาพฯ การเลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ในวันดังกล่าวต้องเสียไปไม่มีผลใช้บังคับ และคณะกรรมการสหภาพฯ ชุด ที่ได้รับเลือกในวันดังกล่าวซึ่งมี ส. ได้รับเลือกตั้งด้วยนั้น จึงมิได้มีฐานะเป็นกรรมการสหภาพฯ ดังนี้ การที่คณะกรรมการชุด นี้ได้ลงมติให้ ส. เป็นผู้แทนโจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลทำให้สหภาพฯ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อได้ลงลายมือชื่อกำกับชื่อผู้มีสิทธิรับเงินคนเดิมที่จำเลยที่ 1 ขีดฆ่าออกและลงลายมือชื่อกำกับชื่อที่พิมพ์หรือเขียนแทนลงไปใหม่ กับได้ลงลายมือชื่อสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจ่ายเงินในคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรตามที่จำเลยที่ 1 นำเสนอ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกสามารถทุจริตและนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชาได้ลดขั้นตอนการตรวจสอบ ให้จำเลยที่ 1 เสนอคำขอต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยตรงไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นอันเป็นการเสี่ยงต่อการทุจริตแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล คำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบ ไม่จัดให้มีการตรวจสอบเป็นขั้นตอนตามลำดับชั้นว่าการขีดฆ่าและเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิรับเงินตามพันธบัตรรัฐบาลนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และทางพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเพื่อให้ศาลเห็นว่ามีขั้นตอนในการตรวจสอบมากมาย แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้ตรวจสอบเลยและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและได้เซ็นชื่อตามที่จำเลยที่ 1 กากบาทไว้ให้เซ็นเท่านั้น เช่นนี้แม้ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขอคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของผู้ใช้ไฟฟ้าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็อาจจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปโดยถูกต้องและสุจริต การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3ได้ลงลายมือชื่อดังกล่าวก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะมีระเบียบการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อด้วยความประมาทเลินเล่อแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ให้ตรงกับข้อกล่าวหาตามคำฟ้องและตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมา ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษาความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้บังคับบัญชาในการอนุมัติการจ่ายเงินพันธบัตรโดยไม่มีเอกสารมอบอำนาจ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อได้ลงลายมือชื่อกำกับชื่อผู้มีสิทธิรับเงินคนเดิมที่จำเลยที่ 1 ขีดฆ่าออกและลงลายมือชื่อกำกับชื่อที่พิมพ์หรือเขียนแทนลงไปใหม่ กับได้ลงลายมือชื่อสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจ่ายเงินในคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรตามที่จำเลยที่ 1 นำเสนอ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกสามารถทุจริตและนำเงินไปเป็นประโยชนส่วนตัวได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชาได้ลดขั้นตอนการตรวจสอบ ให้จำเลยที่ 1 เสนอคำขอต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยตรงไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น อันเป็นการเสี่ยงต่อการทุจริตแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล คำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบ ไม่จัดให้มีการตรวจสอบเป็นขั้นตอนตามลำดับชั้นว่าการขีดฆ่าและเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิรับเงินตามพันธบัตรรัฐบาลนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่จำเลยที่ 2ที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และทางพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเพื่อให้ศาลเห็นว่ามีขั้นตอนในการตรวจสอบมากมาย แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้ตรวจสอบเลย และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและได้เซ็นชื่อตามที่จำเลยที่ 1 กากบาทไว้ให้เซ็นเท่านั้น เช่นนี้ แม้ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขอคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของผู้ใช้ไฟฟ้า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็อาจจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปโดยถูกต้องและสุจริตการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อดังกล่าวก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบว่าถูกต้องแล้วดังนั้น ไม่ว่าจะมีระเบียบการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อด้วยความประมาทเลินเล่อแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรับผิดของของจำเลยที่ 2ที่ 3 ให้ตรงกับข้อกล่าวหาตามคำฟ้องและตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมา ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษาความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์แล้ว
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์โดย อ้างว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 50 บาท ถือได้ ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ ไม่เกินเดือน ละ 5,000 บาท เมื่อจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของสามีจำเลยซึ่ง มีที่ดินติดต่อ กับที่ดินของโจทก์ มิได้กล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วย กรรมสิทธิ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินและการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากคดีต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 50 บาท ถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท เมื่อจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของสามีจำเลยซึ่ง มีที่ดินติดต่อกับที่ดินของโจทก์ มิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไล่ออกจากราชการเป็นอำนาจฝ่ายบริหาร ศาลไม่มีอำนาจเพิกถอน
นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจยืนตามมติของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจซึ่งเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของกรมตำรวจที่ให้ไล่โจทก์ทั้งสองออกจากราชการและคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเป็นที่สุดแล้ว ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ไล่โจทก์ทั้งสองออกจากราชการได้.
of 89