คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสวัสดิการบุตรไม่ถือเป็นค่าจ้าง: ศาลยืนตามเดิม ค่าจ้างต้องเป็นการตอบแทนการทำงานปกติ
การที่จำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างนำบุตรเข้ามาเรียนในโรงเรียนของจำเลยโดย ไม่เก็บค่าเล่าเรียน เป็นเพียงการให้สวัสดิการแก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานเช่นเดียว กับค่าจ้าง จึงไม่เป็นค่าจ้างที่จำเลยจะนำมารวมคำนวณเป็นค่าจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ตาม กฎหมายว่าด้วยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสวัสดิการบุตรไม่ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน แม้จะช่วยคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างนำบุตรเข้ามาเรียนในโรงเรียนของจำเลยโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน เป็นเพียงการให้สวัสดิการแก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง จึงไม่เป็นค่าจ้างที่จำเลยจะนำมารวมคำนวณเป็นค่าจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ตามกฎหมายว่าด้วยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างแม้ไม่มีงานมอบหมาย ศาลตัดสินเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ตามสถานที่ที่จำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงาน เดิมโจทก์ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงแรมในกรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัดนครปฐม แต่โจทก์ไม่ไป ขอทำงานในกรุงเทพมหานคร เพราะภริยาโจทก์ป่วยเป็นคนพิการเดินไม่ได้ แม้หลังจากที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุรา จังหวัดนครปฐม ตามคำสั่งของจำเลยและโจทก์ไม่มีหน้าที่ใดที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่บริษัทจำเลยโจทก์ก็ยังมีหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ต้องทำงานให้แก่จำเลย คือต้องมาที่บริษัทจำเลยเพื่อรับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ให้แก่จำเลย ซึ่งหากไม่มา จำเลยก็ไม่อาจมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยได้ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่มาที่บริษัทจำเลยเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างและการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงานตามที่นายจ้างสั่ง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่ง พนักงานรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ตาม สถานที่ที่จำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานเดิม โจทก์ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงแรมในกรุงเทพมหานคร ต่อ มาจำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัด นครปฐม แต่ โจทก์ไม่ไปขอทำงานใน กรุงเทพมหานคร เพราะภริยาโจทก์ป่วยเป็นคนพิการเดิน ไม่ได้ แม้หลังจากที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัด นครปฐม ตาม คำสั่งของจำเลยและโจทก์ไม่มีหน้าที่ใด ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่บริษัทจำเลยโจทก์ก็ยังมีหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ต้อง ทำงานให้แก่จำเลย คือต้อง มาที่บริษัทจำเลยเพื่อรับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ให้แก่จำเลย ซึ่ง หากไม่มาจำเลยก็ไม่อาจมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยได้ ดังนั้นการที่โจทก์ไม่มาที่บริษัทจำเลยเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อ กันจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี การแก้ไขคำพิพากษาเกินคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ให้คำนิยามของคำว่า "เจ็บป่วย" ไว้เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ฟ้องเรียกเงินทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แต่ฟ้องเรียกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงไม่จำต้องนำหลักฐานกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัย
แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์โดยคำนวณถูกต้องตาม สิทธิที่โจทก์พึงได้รับก็ตาม แต่เมื่อเกินคำขอบังคับของโจทก์แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาโดยตรง ศาลฎีกาก็เห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่ารักษาพยาบาลและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน ศาลฎีกาเน้นการพิจารณาตามข้อตกลงและคำขอของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ให้คำนิยามของคำว่า "เจ็บป่วย" ไว้เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน เมื่อโจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างไม่ได้ฟ้องเรียกเงินทดแทนจากจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้าง แต่ ฟ้องเรียกเงินค่ารักษาพยาบาลตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงไม่จำต้องนำหลักฐานกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัย แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์โดย คำนวณถูกต้องตาม สิทธิที่โจทก์พึงได้ รับก็ตาม แต่ เมื่อเกินคำขอบังคับของโจทก์แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาโดยตรง ศาลฎีกาก็เห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, ค่ารักษาพยาบาล และการคำนวณวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2คำว่า "เจ็บป่วย" หมายความว่า ลูกจ้างเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือโรคซึ่งเกิดจากการทำงานตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวให้คำนิยามของคำว่า"เจ็บป่วย" ไว้เช่นนั้นก็เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ฉะนั้นเมื่อคดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินทดแทนจากจำเลย แต่เรียกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเมื่อจำเลยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า กรณีลูกจ้างป่วยไม่ว่าเนื่องจากการทำงานหรือไม่จำเลยก็จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ จำเลยต้องจ่ายตามข้อตกลงเช่นว่านั้น ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของจำเลยถึงหลักกฎหมายที่ว่า การเจ็บป่วยของโจทก์เกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินประกันการทำงานเมื่อเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่ได้อ้างสิทธิริบตามระเบียบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิด ขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมหรือให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้โดยมิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์ให้แจ้งชัดถึงเรื่องเงินประกันว่า เพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ และจำเลยก็ไม่ได้ให้การถึงระเบียบว่าด้วยเงินประกันและผู้ค้ำประกันของพนักงานดังนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิริบเงินประกันที่โจทก์วางไว้ตามระเบียบของจำเลยหรือไม่ ฉะนั้นการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิริบเงินประกันตามระเบียบของจำเลย จึงเป็นการมิชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: ค่าชดเชย, วันหยุดพักผ่อน, และการผิดนัดชำระหนี้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46และข้อ 47 มิได้บัญญัติว่าให้ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่เลิกจ้างก่อนเกษียณอายุ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ที่ นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ดังนี้หาเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวไม่ เงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของการประปาส่วนภูมิภาคจำเลยว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์มีหลักเกณฑ์การคำนวณและการจ่ายแตกต่างจากค่าชดเชย จึงเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชย การที่จำเลยจ่ายสงเคราะห์แก่โจทก์จะถือเป็นการจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ ข้อบังคับดังกล่าวที่กำหนดให้ถือว่าการจ่ายเงินสงเคราะห์เป็นการจ่ายค่าชดเชยจึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังนี้ข้อกำหนดดังกล่าวไม่มีผลบังคับ การหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะหยุดหรือไม่หยุดก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ใช้สิทธิลาหยุดประจำปีในช่วงใดและโจทก์ก็มิได้ลาหยุดทั้งโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ดังนี้ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อเลิกจ้างและข้อ 46 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างเช่นกัน ดังนั้นการที่จำเลยมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยแก่โจทก์ในวันที่เลิกจ้าง จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นมาดังนี้ จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขายฝากแล้วไม่ไถ่คืน แต่บ้านถูกไฟไหม้หมด ทำให้ไม่มีทรัพย์สินที่จะบังคับคดีได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นสิทธิการเช่าที่ดินที่นอกเหนือจากคำฟ้อง
จำเลยขายฝากบ้านพิพาทไว้แก่โจทก์แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ แต่เมื่อบ้านพิพาทถูกเพลิงไหม้หมดไปแล้ว จึงไม่มีบ้านที่จะให้ศาลขับไล่จำเลยและบริวารออกไปตามที่โจทก์ขอได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายฝากบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้แก่โจทก์ แต่ตามคำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้สิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวการที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินซึ่ง บ้านพิพาทปลูกอยู่ให้แก่บุตรจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการครอบครองของโจทก์นั้น เป็นการฎีกานอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 89