พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากและผลกระทบจากการทำลายทรัพย์สิน: ศาลไม่อาจบังคับขับไล่เมื่อบ้านถูกเพลิงไหม้จนไม่สามารถใช้การได้
จำเลยขายฝากบ้านพิพาทไว้แก่โจทก์แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลง กันไว้ แต่ เมื่อบ้านพิพาทถูก เพลิงไหม้หมดไปแล้วจึงไม่มีบ้านที่จะให้ศาลขับไล่จำเลยและบริวารออกไปตาม ที่โจทก์ขอได้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายฝากบ้านพิพาทซึ่ง ปลูกอยู่ในที่ดินของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้แก่โจทก์ แต่ตาม คำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้ สิทธิการเช่า ที่ดินดังกล่าว การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยได้ โอนสิทธิการเช่า ที่ดินซึ่ง บ้านพิพาทปลูกอยู่ให้แก่บุตรจำเลยอันเป็นการกระทำโดย ไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการครอบครองของโจทก์นั้น เป็นการฎีกานอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากการกระทำของลูกจ้าง: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ หรือวันที่จ่ายค่าเสียหาย?
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่ง เป็นลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์และของบุคคลอื่นเสียหาย สำหรับค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงนับเริ่มตั้งแต่นั้น มิใช่นับเริ่มแต่ วันที่โจทก์ใช้ ค่าซ่อมรถของโจทก์ แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้ จนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนเงินที่โจทก์ใช้ให้แก่บริษัทประกันภัยเป็นค่าเสียหายจากการที่จำเลยขับรถชนรถที่บริษัทดังกล่าวรับประกันภัยเสียหาย ซึ่งโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยผู้เป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้ เงินให้แก่บริษัทดังกล่าวไป ดังนั้นอายุความในกรณีนี้ จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ เงินค่าเสียหายให้แก่บริษัทประกันภัยอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่พ้นกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากอุบัติเหตุทางจราจร: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุหรือวันที่ชำระค่าเสียหาย
กำหนดอายุความตามกฎหมายนั้น ต้องเริ่มนับแต่ขณะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์และของบุคคลอื่นเสียหาย อันเป็นสิทธิเรียกร้องจากการที่ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ดังนี้ ค่าเสียหายในส่วนค่าซ่อมรถของโจทก์เองที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างซ่อมเป็นค่าเสียหายที่โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงนับเริ่มแต่นั้นมิใช่เริ่มแต่วันที่โจทก์ใช้ค่าซ่อมรถให้ผู้รับจ้างซ่อม ฉะนั้นแม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม แต่นับตั้งแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงขาดอายุความ สำหรับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ในฐานนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ให้แก่บุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไปแล้ว โจทก์ก็ชอบจะให้รับการชดใช้จากจำเลยได้นับแต่วันที่โจทก์ชดใช้ให้บุคคลอื่น ดังนั้น อายุความกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าว อันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิดในทางการจ้าง เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ หรือวันที่จ่ายค่าเสียหายให้บุคคลที่สาม
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่ง เป็นลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์และของบุคคลอื่นเสียหาย สำหรับค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้ นับแต่วันเกิดเหตุซึ่ง เป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงนับเริ่มตั้งแต่ นั้น มิใช่นับเริ่มแต่ วันที่โจทก์ใช้ ค่าซ่อมรถของโจทก์ แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะได้ ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ยอมรับสภาพตาม สิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้จนถึง วันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนเงินที่โจทก์ใช้ ให้แก่บริษัทประกันภัยเป็นค่าเสียหายจากการที่จำเลยขับรถชนรถที่บริษัทดังกล่าวรับประกันภัยเสียหาย ซึ่ง โจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยผู้เป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยได้ กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นโจทก์ชอบที่จะได้ รับชดใช้จากจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้ เงินให้แก่บริษัทดังกล่าวไป ดังนั้นอายุความในกรณีนี้ จึงต้อง เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ เงินค่าเสียหายให้แก่บริษัทประกันภัยอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่พ้นกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์นอกประเด็นและข้อตกลงสภาพการจ้าง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องข้อตกลงสภาพการจ้างที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง
การที่โจทก์อุทธรณ์ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ที่จำเลยทำกับสหภาพแรงงาน โดยโจทก์มิได้บรรยายเป็นข้อหาไว้ในฟ้อง แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงนี้ และศาลแรงงานกลางรับวินิจฉัยให้ก็ตามก็เป็นเรื่องนอกประเด็น ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์นอกประเด็น & การกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครเลื่อนตำแหน่งไม่ขัดต่อระเบียบลาของพนักงาน
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายเป็นข้อหาไว้ในคำฟ้อง แม้ชั้นพิจารณาจำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และศาลแรงงานกลางรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180 ว่าด้วยการลาของพนักงานธนาคารออมสิน กล่าวถึงสิทธิของพนักงานธนาคารออมสินที่มีเวลาทำงานในธนาคารออมสินเป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้วมีสิทธิลาป่วย ลากิจโดยได้รับเงินเดือนเต็มหรือกึ่งหนึ่งหรือไม่ได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งมีจำนวนกี่วัน โดยระเบียบมิได้กล่าวถึงเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้มีระดับสูงขึ้น การที่จำเลยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งโดย กำหนดว่าต้องมีวันลาไม่เกิน 54 วัน ภายใน 3 ปีนับถึงวันปิดรับสมัคร จึงไม่กระทบถึงสิทธิของพนักงานจำเลย และไม่ฝ่าฝืนระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180 ว่าด้วยการลาของพนักงานธนาคารออมสิน กล่าวถึงสิทธิของพนักงานธนาคารออมสินที่มีเวลาทำงานในธนาคารออมสินเป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้วมีสิทธิลาป่วย ลากิจโดยได้รับเงินเดือนเต็มหรือกึ่งหนึ่งหรือไม่ได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งมีจำนวนกี่วัน โดยระเบียบมิได้กล่าวถึงเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้มีระดับสูงขึ้น การที่จำเลยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งโดย กำหนดว่าต้องมีวันลาไม่เกิน 54 วัน ภายใน 3 ปีนับถึงวันปิดรับสมัคร จึงไม่กระทบถึงสิทธิของพนักงานจำเลย และไม่ฝ่าฝืนระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครเลื่อนตำแหน่งโดยอิงวันลา ไม่ขัดต่อระเบียบและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายเป็นข้อหาไว้ในคำฟ้องแม้ชั้นพิจารณาจำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและ ศาลแรงงานกลาง รับวินิจฉัยให้ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย ระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 180 ว่าด้วยการลาของพนักงานธนาคารออมสิน กล่าวถึงสิทธิของพนักงานธนาคารออมสินที่มีเวลาทำงานในธนาคาร ออมสิน เป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้วมีสิทธิลาป่วย ลากิจโดยได้รับเงินเดือนเต็มหรือกึ่งหนึ่งหรือไม่ได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งมีจำนวนกี่วัน โดย ระเบียบมิได้กล่าวถึงเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้มีระดับสูงขึ้น การที่จำเลยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งโดย กำหนดว่าต้องมีวันลาไม่เกิน 54 วัน ภายใน 3 ปีนับถึงวันปิดรับสมัคร จึงไม่กระทบถึงสิทธิของพนักงานจำเลย และไม่ฝ่าฝืนระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 180.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลสมควรในการเลิกจ้าง และการสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์มาทำงานสายบ่อยครั้ง และบางครั้งหลังจากพักเที่ยง โจทก์กลับมาทำงานช้าหรือไม่กลับมาทำงานอีก ดังนี้เป็นเรื่องที่ลูกจ้าง ไม่มาทำงานให้แก่นายจ้างตามเวลาที่ นายจ้างกำหนด อันถือว่ามีเหตุสมควรที่ นายจ้างจะเลิกจ้างได้ การที่ จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินบำเหน็จเป็นประกันหนี้ต้องไม่กระทบสิทธิลูกจ้างหากลูกจ้างมิได้ประมาทเลินเล่อ
โจทก์ยินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักเงินบำเหน็จของโจทก์ไว้บางส่วนเป็นประกันหนี้ของ ส. ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์ถูกจำเลยกล่าวหาว่าจะต้องร่วมรับผิดกับ ส. ต่อมาเมื่อความปรากฏว่าโจทก์มิได้ประมาทเลินเล่อและบกพร่องต่อหน้าที่ในอันจะต้องร่วมรับผิดในการกระทำของ ส. ต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จของโจทก์ต่อไป โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้ แต่การที่จำเลยหักเงินบำเหน็จดังกล่าว ก็โดยความยินยอมของโจทก์ ดังนี้แม้โจทก์จะได้ทวงถามให้จำเลยคืนเงินบำเหน็จที่จำเลยพักไว้และการที่จำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จคืนให้โจทก์ ก็จะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ได้ จำเลยไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเงินบำเหน็จที่หักไว้ต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2305/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมและการครอบครองแยกส่วนสัด ศาลอนุญาตแบ่งแยกที่ดินได้ตามส่วนที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์
แม้ตามโฉนด ที่ดินจะมีชื่อโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแต่เมื่อโจทก์จำเลยต่างแยกกันครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว ก็ชอบที่จะแบ่งที่ดินบริเวณที่โจทก์ครอบครองนั้นให้แก่โจทก์ได้.