พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5450/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ หากไม่ใช่กรณีร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ฝ่าฝืนข้อบังคับ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าการประทับ บัตรบันทึกเวลาแทนผู้อื่นหรือให้ผู้อื่นประทับบัตรบันทึกเวลาแทน เป็นความผิดร้ายแรง จะถูกลงโทษโดยการไล่ออก เป็นระเบียบเกี่ยวกับ การทำงานที่นายจ้างกำหนดเพื่อใช้บังคับแก่ลูกจ้างจึงเป็นข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยได้กระทำขึ้น และมีผลใช้บังคับได้ ตามกฎหมาย แต่จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยกรณีนี้หรือไม่ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โดยหากการฝ่าฝืนข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่หากเป็นกรณีไม่ร้ายแรง ซึ่งจำเลยเคยเตือนลูกจ้างแล้ว และลูกจ้าง ยังกระทำซ้ำคำเตือนอีกจำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเช่นกัน แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะกำหนดให้การฝ่าฝืนเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม แต่ได้ความว่าโจทก์ให้บุคคลอื่นประทับ บัตรบันทึกเวลาแทน เพื่อความสะดวกและมักง่ายของตน หาใช่โดยทุจริต เพื่อโกงค่าแรงงาน ของจำเลยไม่จึงเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับ กรณีไม่ร้ายแรงเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือ มาก่อน และจำเลยได้ไล่โจทก์ออก จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5436/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้กฎหมายเฉพาะจะกำหนดคุณสมบัติพนักงานไว้
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11)ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 บัญญัติว่านายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง กรณีสัญญาจ้างมี กำหนดระยะเวลาการจ้าง แน่นอนและมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการด้วย แต่จำเลยมิได้ให้การ ต่อสู้ถึงลักษณะงานว่าเป็นการจ้างตามที่กำหนดไว้ดังกล่าว แม้จำเลย จะฎีกาว่าเป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนก็เป็นฎีกาที่ ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย การที่พนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ 60 ปี ตามพ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ เป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงาน และให้รัฐวิสาหกิจ ถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น แต่การพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุ ดังกล่าวจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว ถือ ว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างแล้ว เพราะโจทก์ต้องออกจากงาน โดยไม่ได้กระทำผิดตามข้อ 47.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการตรวจรับสินค้าและการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ ทำให้จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องชำระราคาสินค้า
จำเลยทำสัญญาซื้อลูกสูบจากโจทก์ แม้ปรากฏว่าลูกสูบชุดแรกที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยเป็นลูกสูบที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา แต่จำเลยก็ไม่ได้นำสืบว่าโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าลูกสูบดังกล่าวเป็นลูกสูบที่ไม่ถูกต้อง ยังขืนนำมาส่งมอบให้แก่จำเลย ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่า จำเลยมีความสงสัยว่าลูกสูบนั้นไม่ถูกต้องตามสัญญาจึงได้บันทึกในใบส่งของว่า รับลูกสูบไว้เพื่อตรวจสอบ จำเลยจึงมีหน้าที่ตรวจสอบแล้วแจ้งให้โจทก์ทราบว่าถูกต้องตามสัญญาหรือไม่ เพื่อโจทก์จะได้จัดการหามาเปลี่ยนหรือแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อสัญญา จำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบดังกล่าว ต่อมาจำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ว่า บัดนี้ได้เกินกำหนดอายุสัญญาแล้ว โจทก์ไม่ส่งของให้จำเลยอันเป็นการผิดสัญญา โจทก์ได้ยืนยันว่าส่งลูกสูบให้จำเลยแล้ว แทนที่จำเลยจะมีหนังสือชี้แจงต่อโจทก์ว่าสินค้าของโจทก์ที่ส่งไปชุดแรกไม่ถูกต้องอย่างไร จำเลยกลับมีหนังสือเตือนให้โจทก์ส่งของตามสัญญาและให้นำค่าปรับมาชำระ โจทก์จึงยืนยันกลับไปยังจำเลยว่าส่งสินค้าให้จำเลยถูกต้องตามสัญญาแล้ว ต่อมาเพื่อตัดความรำคาญ โจทก์จึงส่งสินค้าลูกสูบอีกชุดหนึ่งให้จำเลย จำเลยรับว่าลูกสูบชุดหลังถูกต้องตามสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์ส่งลูกสูบที่ถูกต้องให้จำเลยล่าช้าเกิดจากความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 48ประกอบระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการบริหารงานด้านพัสดุ พ.ศ.2522 ข้อ 91 โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิปรับโจทก์ และเมื่อจำเลยได้รับลูกสูบชุดหลังไว้ถูกต้องตามสัญญาจำเลยจะต้องชำระราคาสินค้าดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการตรวจรับสินค้าและการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ ทำให้จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาซื้อลูกสูบจากโจทก์ แม้ปรากฏว่าลูกสูบชุดแรกที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยเป็นลูกสูบที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา แต่จำเลยก็ไม่ได้นำสืบว่าโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าลูกสูบดังกล่าวเป็นลูกสูบที่ ไม่ถูกต้อง ยังขืนนำมาส่งมอบให้แก่จำเลย ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่าจำเลยมีความสงสัยว่าลูกสูบนั้นไม่ถูกต้องตามสัญญาจึงได้บันทึก ในใบส่งของว่า รับลูกสูบไว้เพื่อตรวจสอบ จำเลยจึงมีหน้าที่ ตรวจสอบแล้วแจ้งให้โจทก์ทราบว่าถูกต้องตามสัญญาหรือไม่ เพื่อ โจทก์จะได้จัดการหามาเปลี่ยนหรือแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อสัญญา จำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบดังกล่าว ต่อมาจำเลยกลับมีหนังสือ ถึงโจทก์ว่าบัดนี้ได้เกินกำหนดอายุสัญญาแล้ว โจทก์ไม่ส่งของให้ จำเลยอันเป็นการผิดสัญญา โจทก์ได้ยืนยันว่าส่งลูกสูบให้จำเลยแล้ว แทนที่จำเลยจะมีหนังสือชี้แจงต่อโจทก์ว่าสินค้าของโจทก์ที่ส่งไป ชุดแรกไม่ถูกต้องอย่างไร จำเลยกลับมีหนังสือเตือนให้โจทก์ส่งของตาม สัญญาและให้นำค่าปรับมาชำระ โจทก์จึงยืนยันกลับไปยังจำเลยว่า ส่งสินค้าให้จำเลยถูกต้องตามสัญญาแล้ว ต่อมาเพื่อตัดความรำคาญ โจทก์จึงส่งสินค้าลูกสูบอีกชุดหนึ่งให้จำเลย จำเลยรับว่าลูกสูบ ชุดหลังถูกต้องตามสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์ส่งลูกสูบที่ถูกต้อง ให้จำเลยล่าช้าเกิดจากความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย ซึ่งไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 48 ประกอบระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการ บริหารงานด้านพัสดุ พ.ศ. 2522ข้อ 91 โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่าย ผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิปรับโจทก์และเมื่อจำเลยได้รับลูกสูบ ชุดหลังไว้ถูกต้องตามสัญญาจำเลยจะต้องชำระราคาสินค้าดังกล่าว ให้โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ย แก่โจทก์นับแต่วันผิดนัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการตรวจรับสินค้าทำให้จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องชำระเงินค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ส่งมอบสินค้าให้กรมจำเลยก่อนครบกำหนดตามสัญญา จำเลยยอมรับสินค้าไว้เพื่อทำการตรวจสอบ แต่มิได้แจ้งผลการตรวจสอบให้โจทก์ทราบตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ซึ่งบัญญัติไว้สอดคล้องกับระเบียบจำเลยว่าด้วยการบริหารงานด้านพัสดุ ที่ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ที่ซื้อทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด หากผู้ขายส่งพัสดุ ไม่ถูกต้องตามสัญญา ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ รีบรายงานผู้ซื้อเพื่อแจ้งให้ผู้ขายทราบใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ตรวจพบ แต่จำเลยหาได้ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวนั้นไม่การที่โจทก์ส่งมอบสินค้าที่ถูกต้องตามสัญญาล่าช้าเกินกำหนดอายุสัญญาจึงเกิดจากความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของจำเลยเอง จะถือว่าโจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลยล่าช้าและผิดสัญญาหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิปรับโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290-5293/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานลูกจ้างเก่าเมื่อโอนมาทำงานการไฟฟ้านครหลวงตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 53 ที่บัญญัติว่า"นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้ข้าราชการและลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล ซึ่งต้องออกจากราชการเพราะการยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวง กรมโยธาเทศบาลและลูกจ้างของการไฟฟ้ากรุงเทพ กระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นพนักงาน โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มเท่าที่ได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน และให้คณะกรรมการกำหนดอัตราเงินเดือนพนักงานดังกล่าว ซึ่งจำเป็นจะต้องบรรจุโดยให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่รับอยู่เดิม ทั้งนี้ให้เสร็จภายในหกสิบวัน"นั้น เป็นการกำหนดให้ลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล โอนมาเป็นพนักงานของการไฟฟ้านครหลวงตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้และมิได้ระบุถึงลูกจ้างประเภทใด จึงต้องหมายถึงลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงทุกประเภทแม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของกองไฟฟ้าหลวง ก็มีฐานะเป็นลูกจ้างตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 โจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย ส่วนการที่จำเลยจะดำเนินการเกี่ยวกับวิธีบรรจุโจทก์อย่างไรและเมื่อใดนั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ถูกต้องตามวิธีการของจำเลยเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทกฎหมายดังกล่าวเสียไป
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่โจทก์เรียก เป็นค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีมาก่อนวันที่ 7 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็น วัน ที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่า "ทั้งสอง ฝ่าย ตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวง" หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ ซึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามจำนวนที่ตกลงกัน และโจทก์ ได้ตกลงไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากจำเลย อีก กรณีจึงเป็นที่เห็นได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด ที่มีข้อพิพาทกัน อยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของ สัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด
++ คดีแดงที่ 4800 - 5216/2534
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2534มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2534มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องระงับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดที่เกิดขึ้นก่อนทำสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม2534 มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้(1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4789/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: เหตุเลิกจ้างเดียวกัน แต่ขอค่าชดเชยเพิ่มเติมได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างโดยผิดกฎหมายของ จำเลยซึ่งมีความหมายชัดแจ้งอยู่ในตัวว่าโจทก์ยังมีสภาพไม่ขาด จากการเป็นลูกจ้างของจำเลย ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด จึงมิใช่ฟ้องโดยอาศัยเหตุและมีคำขอให้บังคับจำเลยเป็นอย่างเดียวกัน กับคดีก่อน ทั้งคำขอให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าว ในคดีนี้ก็ไม่อาจขอรวมกันมาในคดีก่อนได้ เพราะเป็นการขัดแย้งกันกับ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ.