พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4789/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าชดเชยหลังคดีเดิมพิพาทถึงการเลิกจ้างและการกลับเข้าทำงาน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยและเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ขออนุญาตจากศาลแรงงานกลางก่อน เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา52 ขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้าง ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยให้การว่า โจทก์มิได้เป็นกรรมการลูกจ้าง แม้โจทก์จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้าง ก็เป็นการแต่งตั้งที่ มิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518ขอให้ยกฟ้อง ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะเลิกจ้างหรือไม่ และจำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างย้อนหลังแก่โจทก์ หรือไม่แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นข้อแรกเพียงข้อเดียวว่า โจทก์ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างจากสหภาพแรงงาน ต. จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ต้องขออนุญาตศาลแรงงาน พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ ไม่มีความผิดและไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ขอให้บังคับจำเลยจ่าย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เช่นนี้คดีก่อนโจทก์ฟ้อง ขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยโดยผิดกฎหมาย ซึ่งมีความหมาย ชัดแจ้งอยู่ในตัวว่า โจทก์ยังมีสภาพไม่ขาดจากการเป็นลูกจ้าง ของจำเลย ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้อง โดยอาศัยเหตุจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด จึงมิใช่ฟ้อง โดยอาศัยเหตุและมีคำขอให้บังคับจำเลยเป็นอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ทั้งคำขอให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวในคดีนี้ก็ไม่อาจ ขอรวมกันมาในคดีก่อนได้เพราะเป็นการขัดแย้งกันกับฟ้อง ฟ้องของโจทก์ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากล้มละลาย: ลูกจ้างมีสิทธิรับค่าชดเชยแม้ขาดคุณสมบัติ
ตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9 และมาตรา 11 เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว โจทก์จะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ได้เพราะขาดคุณสมบัติ แต่จำเลยจะต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์พ้นจากตำแหน่ง ไปด้วย การที่โจทก์ออกจากงานเพราะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกจากงาน โดยผลของกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 จำเลยจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามข้อบังคับของจำเลย เงินสงเคราะห์เป็นเงินที่จ่ายเพื่อ ช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานที่ออกจากงาน มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การจ่ายแตกต่างไปจากการจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่อาจถือได้ว่าเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน โจทก์ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยนับแต่วันออกจากงานทันที เมื่อจำเลยไม่ชำระ ให้แก่โจทก์ก็ได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่นั้น จึงต้องเสีย ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานที่ล้มละลาย: จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย แม้เป็นการสิ้นสุดสภาพการจ้างโดยผลของกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และ มาตรา 11 เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว โจทก์จะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ได้ เพราะขาดคุณสมบัติก็ตาม ตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแต่จำเลยจะต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งไปด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ออกจากงานเพราะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จึงถือว่าเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกจากงานโดยผลของกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ต้องเป็นการกระทำเพื่อผู้อื่น มิใช่เพื่อตนเองหรือผู้ร่วมกระทำ
การเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไป เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 จะต้องเป็นกรณีที่เป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นแต่หากเป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้กระทำเองหรือร่วมกันกระทำเพื่อผู้ใดในบรรดาผู้ร่วมกระทำด้วยกันแล้วก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การที่จำเลยกับ ส. และพวกอีกคนหนึ่งร่วมกันดักฉุดผู้เสียหายเพื่อสำเร็จความใคร่ของส. และเพื่อการอนาจารผู้เสียหายเป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อ ส. ซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน หาใช่เป็นกรณีร่วมกันพาไปให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นไม่จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น มาตรา 283 อาญา ต้องเป็นการจัดหา ล่อ หรือชักพา เพื่อผู้อื่น ไม่ใช่เพื่อตนเอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283ปรากฏว่าจำเลยกับนาย ส.กับพวกอีกคนหนึ่งนำรถยนต์ไปรอดักฉุดผู้เสียหายและผู้เสียหายออกจากหอพักเพื่อจะไปซื้อของ และเมื่อขึ้นไปบนรถแล้วนาย ส. ใช้อาวุธปืนขู่บังคับไม่ให้ผู้เสียหายร้อง และได้พาไปกักขังไว้ที่บ้านหลังหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยกับนายส.เป็นตัวการร่วมกระทำผิดด้วยกัน แม้การพาผู้เสียหายไปนั้นเพื่อสำเร็จความใคร่ของนายส.และเพื่อการอนาจารผู้เสียหายก็ตาม การกระทำของจำเลยก็หาเป็นความผิดตามมาตรา 283 ตามฟ้องไม่ เพราะความผิดตามมาตรา 283 นั้น ต้องเป็นกรณีที่เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ถ้าเป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้กระทำนั้นเอง หรือร่วมกันกระทำเพื่อผู้ใดในบรรดาผู้ร่วมกระทำด้วยกันแล้วก็หาเป็นความผิดตามมาตรานี้ไม่เมื่อจำเลยและนายส.กับพวกร่วมกันพาผู้เสียหายไปเพื่อสำเร็จความใคร่ของนายส.ไม่ได้ร่วมกันพาไปเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่นใด จึงจะแยกการกระทำที่ประกอบร่วมกันนี้ให้ตกเป็นความผิดแก่จำเลยว่าพาผู้เสียหายไปเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นไม่ใช่ของตนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานค้ามนุษย์: เจตนาเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น vs. ของตนเอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ปรากฏว่าจำเลยกับนาย ส.กับพวกอีกคนหนึ่งนำรถยนต์ไปรอดักฉุดผู้เสียหายขณะผู้เสียหายออกจากหอพักเพื่อจะไปซื้อของ และเมื่อขึ้นไปบนรถแล้วนาย ส.ใช้อาวุธปืนขู่บังคับไม่ให้ผู้เสียหายร้อง และได้พาไปกักขังไว้ที่บ้านหลังหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยกับนาย ส.เป็นตัวการร่วมกระทำผิดด้วยกัน แม้การพาผู้เสียหายไปนั้นเพื่อสำเร็จความใคร่ของนาย ส. และเพื่อการอนาจารผู้เสียหายก็ตาม การกระทำของจำเลยก็หาเป็นความผิดตามมาตรา 283 ตามฟ้องไม่ เพราะความผิดตามมาตรา 283 นั้น ต้องเป็นกรณีที่เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ถ้าเป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้กระทำนั้นเอง หรือร่วมกันกระทำเพื่อผู้ใดในบรรดาผู้ร่วมกระทำด้วยกันแล้วก็หาเป็นความผิดตามมาตรานี้ไม่ เมื่อจำเลยและนาย ส.กับพวกร่วมกันพาผู้เสียหายไปเพื่อสำเร็จความใคร่ของนาย ส.ไม่ได้ร่วมกันพาไปเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่นใด จึงจะแยกการกระทำที่ประกอบร่วมกันนี้ให้ตกเป็นความผิดแก่จำเลยว่าพาผู้เสียหายไปเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นไม่ใช่ของตนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4342/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดอายุความค่าจ้าง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เนื่องจากไม่ได้โต้แย้งประเด็นคำพิพากษาเดิม
คู่ความท้ากันให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า การคิดอายุความฟ้องเรื่องค่าจ้างต้องคิดอายุความตามความเห็นของโจทก์ หรือของจำเลยที่ 1 ถ้าต้องคิดตามความเห็นของโจทก์จำเลยยอมจ่ายเงินให้แก่โจทก์ ถ้าต้องคิดตามความเห็นของจำเลยที่ 1 ให้พิพากษายกฟ้องศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า การคิดอายุความจะต้องคิดตามความเห็นของจำเลยที่ 1 จึงพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเนื่องจากการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์อายุความในการฟ้องร้องได้สะดุดหยุดอยู่ ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์หาได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ละทิ้งหน้าที่แม้ยังไม่เกิดความเสียหายร้ายแรง ก็ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบกรณีร้ายแรงได้
การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไป 1 วัน จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่ไม่ใช่พิจารณาเพียงเฉพาะตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าได้ระบุไว้ให้ถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่ หรือการที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปนั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแล้วอย่างไรหรือไม่ แต่จะต้องพิจารณาถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ประกอบด้วย โจทก์มีหน้าที่ควบคุมหม้อกำเนิดไอน้ำ หากเครื่องหม้อกำเนิดไอน้ำเกิดขัดข้องขึ้นและไม่มีผู้ใดปิดเครื่อง อาจทำให้พลังไอน้ำที่อยู่ในเครื่องดัน ให้ หม้อน้ำระเบิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของจำเลยและชีวิตของลูกจ้างอื่นของจำเลยได้ การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปนั้นจึงอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะไม่ได้ระบุว่าการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่และการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตและฝ่าฝืนระเบียบ แม้ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น หากมีโอกาสเกิดอันตรายร้ายแรงได้
โจทก์มีหน้าที่ควบคุมหม้อกำเนิดไอน้ำ หากเครื่องของหม้อกำเนิดไอน้ำเกิดขัดข้องขึ้น และไม่มีผู้ใดปิดเครื่องอาจทำให้พลังไอน้ำที่อยู่ในเครื่องดันให้หม้อน้ำระเบิด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของจำเลยและชีวิตของลูกจ้างอื่นของจำเลยได้ เห็นได้ว่าการที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปนั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นได้ ฉะนั้นแม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จะไม่ได้ระบุว่าการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่และการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ยังไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273-4274/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: การถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานปลอมเอกสาร เมื่อคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ปลอมเอกสาร ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ว่าจำเลยได้ปลอมเอกสารหรือไม่ ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏผลของคดีในส่วนอาญาว่าเป็นประการใด ศาลจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวน
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏผลของคดีในส่วนอาญาว่าเป็นประการใด ศาลจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวน