คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าหุ้นสหกรณ์: สิทธิเรียกร้องของสมาชิก vs. อำนาจบังคับคดีเจ้าหนี้
ระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นระเบียบบริหารงานภายในระหว่างสมาชิกเอง ตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ฯ มาตรา 4 ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกเช่นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมีอำนาจอายัดเงินค่าหุ้นในสหกรณ์ของจำเลย การไต่สวนคำร้อง (ในชั้นบังคับคดี) เป็นดุลพินิจของศาลว่าคำร้องฉบับใดมีความจำเป็นจะต้องไต่สวนพยานหลักฐานของผู้ร้องหรือไม่ หากศาลเห็นว่าแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของผู้ร้อง ตามคำร้อง ก็ไม่เป็นเหตุที่ผู้ร้องจะยกขึ้นมากล่าวอ้างได้ ศาลจึงไม่มีความจำเป็นต้องไต่สวนอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3561/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายจ้างชอบด้วยกฎหมาย แม้ใช้คำว่า 'ขอร้อง' หากวิญญูชนเข้าใจได้ว่าเป็นคำสั่ง
ที่หัวกระดาษเอกสารที่มีถึงโจทก์ มีเครื่องหมายและชื่อบริษัทจำเลยพร้อมที่อยู่และวันเดือนปีที่ทำขึ้น ต่อจากนั้นมีข้อความว่า"ถึงคุณอัจฉรา ปั้นน้อย พนักงานบัญชี เรื่องให้ตอกบัตรบันทึกเวลาทำงาน หนังสือฉบับนี้เป็นการขอร้องให้คุณบันทึก เวลาทำงานของคุณที่บริษัทออยล์เท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยใช้เครื่องบันทึกเวลาลงในบัตรทั้งเวลาเริ่มทำงานและเวลาเลิกงาน ขอให้รับบัตรตอกเวลาดังกล่าวได้ที่หัวหน้าของคุณ ลงชื่อ น.รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ" แม้เอกสารดังกล่าวใช้คำว่าขอร้อง แต่โดยสภาพและเนื้อความของเอกสารทั้งฉบับ วิญญูชนที่พบเห็นย่อมทราบดีว่า น.รองประธานฝ่ายปฏิบัติการและกรรมการของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา และถือได้ว่าเป็นนายจ้างของโจทก์ ต้องการที่จะสั่งให้โจทก์ตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานตามข้อบังคับของจำเลยเพียงแต่น. ใช้ถ้อยคำสุภาพเป็นภาษาอังกฤษซึ่งแปลเป็นไทยว่า ขอร้องอันเป็นรูปแบบหนึ่งของการสั่งให้ทำนั่นเอง ดังนั้น เอกสารดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุร้ายแรง การฝ่าฝืนคำสั่งที่ไม่กระทบความเสียหายร้ายแรงไม่ใช่เหตุเลิกจ้าง
แม้ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นประการใดและอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหรือไม่เพียงใด จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในกรณีร้ายแรง และมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายโดยตรง นายจ้างจึงไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง อ้างว่ากระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการกระทำยังไม่เป็นความผิดร้ายแรงจึงไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้ อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่าแม้มิใช่กรณีร้ายแรง ศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่นอกเหนือไปจากข้ออ้างที่ยกขึ้นเป็นเหตุตามคำร้องเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีของผู้รับจำนองเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ไว้ขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระหนี้ และต่อมาโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้วนั้น กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อไปและไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดีหรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 วรรคท้าย ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองและได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ต่อศาลแรงงานกลางซึ่งได้ออกหมายบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ไว้ไม่มีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ: จำเลยต้องรับผิดชอบความผิดพลาดจากการแจ้งวันนัดสืบพยานที่ไม่ถูกต้องแก่ทนายความใหม่
ค. ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดชี้สองสถาน ศาลกำหนดวันนัดสืบพยานและ ค. ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว แม้จำเลยไม่ได้มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดสืบพยานแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่า หลังจากศาลทำการชี้สองสถานแล้วจำเลยได้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความคนใหม่ จำเลยบอกกำหนดนัดสืบพยานแก่ ว.ผิดพลาดเป็นเหตุให้ว. มาศาลไม่ทันตามกำหนดนัดนั้นเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง แม้จะไต่สวนได้ความตามคำร้องก็ถือว่าเป็นการขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ ศาลจึงยกคำร้องได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด/สัญญาจ้างแรงงาน: นับแต่วันเกิดเหตุ/จ่ายค่าเสียหาย/รับสภาพหนี้ และผลกระทบต่อการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ไปในทางการที่จ้าง โดยขับรถด้วยความประมาททำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย การบรรยายฟ้องดังกล่าวโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ค่าซ่อมรถยนต์โดยสารคันที่จำเลยขับ และค่าซ่อมกำแพงอู่รถของโจทก์ซึ่งเกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยตรง โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงนับเริ่มตั้งแต่นั้น มิใช่นับเริ่มแต่วันที่โจทก์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์โดยสารและกำแพงอู่รถของโจทก์ที่เสียหายให้บริษัทผู้รับจ้างซ่อม ค่าซ่อมเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงและค่าซ่อมรถของบุคคลภายนอก ซึ่งจำเลยกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกสองรายและโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกสองรายไม่พร้อมกัน อายุความฟ้องร้องซึ่งมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 ย่อมเริ่มต้นนับไม่พร้อมกัน โดยนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้เงินแก่บุคคลภายนอกไปอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ภายในกำหนดอายุความ จำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้วเริ่มต้นนับใหม่ตั้งแต่วันนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแรงงาน: การรับฟังพยานหลักฐาน, อำนาจฟ้อง, และการเลิกจ้าง
ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์เพราะโจทก์และพยานไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงถือว่า โจทก์ไม่มีพยานมาสืบ เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอสืบพยานโจทก์โดย อ้าง ว่าโจทก์ไม่จงใจขาดนัด ศาลแรงงานทำการไต่สวนตามคำร้องขอ ของโจทก์แล้ว ก็ได้ความว่าเหตุที่โจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าว เพราะทนายโจทก์เข้าใจผิดเกี่ยวกับวันนัด ซึ่งถือว่าเป็นความผิดพลาด ของโจทก์เอง เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานไม่สืบพยานโจทก์เพิ่มเติม ตาม คำขอของโจทก์และได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตามพยานหลักฐานที่ ปรากฏ ใน สำนวนจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบ หาขัดต่อ บทบัญญัติ ของพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ คำเบิกความของพยานที่ยังไม่ได้ตอบคำถามค้านของคู่ความอีกฝ่ายและพยานเอกสารที่คู่ความฝ่ายนั้นอ้างส่งศาลพร้อมกับคำเบิกความ ของพยานนั้น ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง การสืบพยานในคดีแรงงานนั้น ศาลเป็นผู้มีอำนาจซักถามพยานตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง จึงไม่มี กระบวนพิจารณา เกี่ยวกับการถามค้านพยานในวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ดังนั้น หากจำเลยประสงค์จะซักถามพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปแล้ว บางส่วน ก็อาจจะขออนุญาตจากศาลได้ แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลแรงงาน มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบในวันนัดสืบพยานโจทก์ต่อมา จำเลยหา ได้แถลงขอซักถามพยานโจทก์ดังกล่าวต่อไปไม่ แสดงว่าจำเลย ไม่ติดใจซักถามพยานโจทก์ปากดังกล่าวอีกต่อไปคำเบิกความของพยาน โจทก์ปากดังกล่าวย่อมสมบูรณ์และ ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า โจทก์ได้เลิกจ้างจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ก็เบิกความรับว่าโจทก์ได้เลิกจ้างจำเลยที่ 1 แล้วแต่ศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ยังไม่ได้เลิกจ้าง จำเลย ที่ 1 เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวน ไม่ชอบ ด้วย วิธีพิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณา พิพากษาใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลรับฟังพยานเอกสารแม้ไม่ส่งให้คู่ความก่อน แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
พยานเอกสารของจำเลยแม้เป็นเพียงภาพถ่าย แต่ตรงกับเอกสารที่ส่งมาตามหนังสือของสำนักงานที่ดินตามที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียก ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้วและแม้จำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวันก็ตาม แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสมาชิกภาพสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจหลังพ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
โจทก์เป็นพนักงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับจดทะเบียนให้โจทก์เป็นกรรมการของสหภาพแรงงานรวมพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518ในมาตรา 4 (4) เป็นว่า พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95 วรรคสอง เป็นว่า ห้ามมิให้พนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน กับได้มีพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 55 วรรคแรก บัญญัติว่า บรรดาสหภาพแรงงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่อาจเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ คดีของโจทก์ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกภาพสหภาพแรงงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจสิ้นสุดลงตามกฎหมายใหม่
โจทก์เป็นพนักงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจฟ้องขอให้บังคับ จำเลยรับจดทะเบียนให้โจทก์เป็นกรรมการของสหภาพแรงงานรวมพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในมาตรา 4(4) เป็นว่าพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95วรรคสอง เป็นว่า ห้ามมิให้พนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน กับได้มีพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 55วรรคแรก บัญญัติว่า บรรดาสหภาพแรงงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่อาจเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ คดีของโจทก์ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
of 89