คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกีฬาแห่งประเทศไทย ไม่เข้าข่ายกิจการที่ต้องคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 มาตรา 8บัญญัติว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(1) ส่งเสริมกีฬา (2) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (3) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล (4) จัดช่วยเหลือ แนะนำและร่วมมือในการจัดและดำเนินการการกีฬา (5) สำรวจจัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา (6) ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (7) สอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการการกีฬา (8) ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา วัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬาและควบคุมการดำเนินกิจการกีฬาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ปรากฏว่าได้ระบุวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไว้เลย แม้ในมาตรา 10 มาตรา 10 มาตรา 12 และมาตรา 9 บัญญัติให้การกีฬาแห่งประเทศไทย มีทุน รายได้ เงินสำรองและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินเพื่อหารายได้ก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ไม่มีระเบียบข้อบังคับใดเลยที่กำหนดให้นำรายได้ไปแบ่งปันแก่ผู้ใดในฐานะผลกำไรหรือเงินปันผล รายได้หลักของการกีฬาแห่งประเทศไทย มีรายได้จากเงินงบประมาณของแผ่นดินในอัตราเกินกว่าร้อยละเก้า สิบต่อปีของเงินรายได้ทั้งหมด กิจการของการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 และไม่ต้องอยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การนำสืบพยานหลังระบุรับชดใช้ครบถ้วนเป็นข้อห้าม
เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า โจทก์ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประนีประนอมยอมความจนเป็นที่พอใจแล้ว โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ยังมิได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มตามสัญญาหาได้ไม่ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย และมิใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาไม่สมบูรณ์ สัญญาประนีประนอมยอมความจะสมบูรณ์หรือไม่มิได้ขึ้นอยู่กับการชำระหนี้ตามสัญญา การชำระหนี้เป็นเพียงการปฏิบัติตามสัญญา ไม่มีผลกระทบถึงความสมบูรณ์แห่งสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการตรวจรับน้ำมันที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของน้ำมัน
จำเลยทั้งเจ็ดได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการตรวจรับน้ำมันให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีระเบียบในการนี้ว่ากรรมการตรวจรับน้ำมันทุกคนจะต้องร่วมกันตรวจรับ โดยตรวจสอบหมายเลขทะเบียนรถยนต์บรรทุกน้ำมันว่าตรงกับที่ตรวจสอบไว้แล้วหรือไม่ ตรวจวาล์วและตราที่ปิดผนึกไว้มีรอยชำรุดหรือไม่ เปิดฝาถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกน้ำมันตรวจดูว่ามีน้ำมันท่วมแป้นหรือไม่ ตรวจในถังน้ำมันว่ามีน้ำปลอมปนหรือไม่ เมื่อตรวจถูกต้องแล้วให้เปิดท่อน้ำมันจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันต่อเข้าท่อสูบน้ำมันขึ้นไปสู่ถังเก็บน้ำมันใหญ่และดำเนินการให้น้ำมันในรถยนต์บรรทุกน้ำมันถ่ายลงจากรถทั้งหมด แล้วจึงจะมีการเข็นรับน้ำมันในใบรับของและใบส่งของ ระเบียบดังกล่าวมีไว้เพื่อตรวจสอบมิให้มีการส่งน้ำมันมาไม่ครบถ้วนและป้องกันไม่ให้มีการถ่ายน้ำมันออกจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันไม่หมดแล้วถูกเบียดบังไปจำเลยทั้งเจ็ดจึงต้องร่วมกันตรวจรับและควบคุมการทำงานทุกขั้นตอนหากแบ่งหน้าที่กันทำแล้วจะไม่สามารถควบคุมได้ การที่จำเลยทั้งเจ็ดไม่ร่วมกันตรวจสอบน้ำมันตามระเบียบของโจทก์ดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้มีการส่งน้ำมันให้โจทก์ไม่ครบถ้วน แม้จำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้ร่วมกันทุจริต แต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โดยไม่ต้องนำสืบว่าการบกพร่องต่อหน้าที่ของจำเลยแต่ละคนหรือแต่ละคราวดังกล่าวนั้น เป็นเหตุให้โจทก์สูญเสียน้ำมันไปจำนวนเท่าใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217-2218/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรงและเป็นเหตุตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เมื่อโจทก์กระทำผิดข้อบังคับของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงตามที่ศาลแรงงานกลางยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยจะถือเป็นเหตุให้โจทก์ออกจากงานได้ไม่ใช่จะมีเฉพาะแต่เหตุตามข้อที่โจทก์กล่าวอ้าง ทั้งกรณีของโจทก์ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาที่ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์โดยตรง
คดีอาญาซึ่งมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความกันได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์ พนักงานสอบสวน ก็ มีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคหนึ่ง เมื่อทำการสืบสวน หรือสอบสวนไปทั้งหมดหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนได้แล้ว พนักงานสอบสวนไม่จัดให้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 123,124,125 ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้นเสียไป พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ โดยการไม่ชำระค่าระวางเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบน้ำหนัก
คำสั่งของจำเลยกำหนดว่า พนักงานของจำเลยต้องชำระค่าระวางสิ่งของที่นำไปกับขบวนรถเสียก่อนแล้วไปขอเบิกคืนทีหลัง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีผู้นำสิ่งของขึ้นไปกับขบวนรถเกินกว่าน้ำหนักเท่าใด เพราะค่าระวางส่วนที่เกินนี้ไม่สามารถเบิกคืนได้ การที่โจทก์นำสิ่งของน้ำหนัก 34 กิโลกรัม ขึ้นไปกับขบวนรถโดยมิได้เสียค่าระวาง ย่อมทำให้จำเลยไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าโจทก์ได้นำสิ่งของขึ้นไปกับขบวนรถเกินกว่าน้ำหนักที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าระวางในแต่ละเดือนเท่าใด จำเลยจึงเสียหายต้องขาดรายได้จากค่าระวางในส่วนที่เกินกำหนดให้ได้รับยกเว้น ส่วนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์ไม่ต้องเสียค่าระวางในส่วนที่เกินกำหนดดังกล่าวการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ กรณีไม่ชำระค่าระวางและทำให้จำเลยตรวจสอบน้ำหนักสิ่งของไม่ได้
คำสั่งของจำเลยกำหนดว่า พนักงานของจำเลยต้องชำระค่าระวางสิ่งของที่นำไปกับขบวนรถเสียก่อนแล้วไปขอเบิกคืนทีหลัง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีผู้นำสิ่งของขึ้นไปกับขบวนรถเกินกว่าน้ำหนักที่กำหนดให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าระวางในแต่ละเดือนเป็นน้ำหนักเท่าใดเพราะค่าระวางส่วนที่เกินนี้ไม่สามารถเบิกคืนได้การที่โจทก์นำสิ่งของน้ำหนัก 34 กิโลกรัม ขึ้นไปกับขบวนรถโดยมิเสียค่าระวาง ย่อมทำให้จำเลยไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าโจทก์ได้นำสิ่งของขึ้นไปกับขบวนรถเกินกว่าน้ำหนักที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าระวางในแต่ละเดือนเท่าใด จำเลยจึงเสียหายต้องขาดรายได้จากค่าระวางในส่วนที่เกินกำหนดให้ได้รับยกเว้น ส่วนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์ไม่ต้องเสียค่าระวางในส่วนที่เกินกำหนดดังกล่าว การกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องแย้งในคดีแพ่ง: ต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก หมายความว่าฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลจึงจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาได้
โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา อันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก หมายความว่าฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลจึงจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาได้ โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือนภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหาอันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับค่าเสียหายในอนาคตและค่าทนาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก หมายความว่าฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลจึงจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาได้ โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหาอันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน.
of 89