คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงาน, อายุความสัญญาจ้าง, การฟ้องแย้ง, สิทธิในการนำสืบ, ความรับผิดจากละเลยหน้าที่
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 และมาตรา 31แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่ ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3ตุลาคม 2532 ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลยจำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้งแต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81 บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาทนับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดจากหน้าที่สัญญาจ้างแรงงาน, การนั่งพิจารณาคดีของศาลแรงงาน, ความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคท้ายอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างร่วมเป็นองค์คณะในการนั่งพิจารณา อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายมิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน จำเลยจะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาของศาลแรงงานกลางไม่ชอบหาได้ไม่ คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้น เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การพิจารณาคดีไม่ชอบ, อายุความสัญญาจ้าง, คำให้การแก้ฟ้องแย้ง
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่
ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2532ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลย จำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้ง แต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาท นับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทจากการใช้อาวุธปืน: การกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ไม่มีเจตนา
จำเลยกับพวกเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอาการมึนเมาสุรา จำเลยเอาอาวุธปืนเล็กกลจ่อใต้ใบหูขวาของผู้ตายเพื่อจะขู่ผู้ตายไม่ให้หลบหนีผู้ตายพยายามวิ่งไปหา ต.บิดาจำเลยฉุดข้อมือผู้ตายไว้ขณะนั้น นิ้วของจำเลยอยู่ที่ไกปืนการฉุดกันทำให้จำเลยเสียหลักนิ้วมือถูกไกปืน เป็นเหตุให้อาวุธปืนลั่นโดยจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะของจำเลยจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาทอันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่ข้อแตกต่างไม่ใช่ข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานตำรวจขณะมึนเมาสุรา
จำเลยกับพวกเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอาการมึนเมาสุรา จำเลยเอาอาวุธปืนเล็กกลจ่อใต้ใบหูขวาของผู้ตายเพื่อจะขู่ผู้ตายไม่ให้หลบหนี ผู้ตายพยายามวิ่งไปหา ต.บิดาจำเลยฉุดข้อมือผู้ตายไว้ ขณะนั้นนิ้วของจำเลยอยู่ที่ไกปืน การฉุดกันทำให้จำเลยเสียหลักนิ้วมือถูกไกปืน เป็นเหตุให้อาวุธปืนลั่นโดยจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะของจำเลยจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาทอันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่ข้อแตกต่างไม่ใช่ข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคสอง และวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหนังสือตักเตือน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)ในกรณีที่มิใช่เป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนของนายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือนของนายจ้างนายจ้างจึงได้เลิกจ้างตามคำตักเตือนนั้น หนังสือตักเตือนโจทก์ทั้งสี่ของจำเลยมีข้อความว่า เมื่อมีการตักเตือน 3 ครั้งแล้วจะถูกพักงานทันที แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าก่อนที่โจทก์ทั้งสี่กระทำผิดครั้งนี้ จำเลยเคยตักเตือนโจทก์ที่ 1มาแล้วเพียง 2 ครั้ง และตักเตือนโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 เพียงคนละ1 ครั้ง ในเหตุเดียวกัน ดังนั้นการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่กระทำผิดซ้ำคำเตือนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือตักเตือนอันจะทำให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1944/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานขนส่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: สินค้าของจำเลยไม่ใช่การลำเลียงทั่วไป จึงต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
งานขนส่ง หมายความว่า การลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสิ่งของด้วยเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานส่งของ มีหน้าที่ติดไปกับรถของจำเลย เพื่อส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยตามคำสั่งของจำเลย ซึ่งสินค้าที่โจทก์นำไปส่งให้แก่ลูกค้านั้นเป็นสินค้าของจำเลยเอง ไม่ใช่เป็นการลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสิ่งของทั่ว ๆไป ลักษณะงานที่โจทก์ทำจึงไม่ใช่งานขนส่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3(2) เมื่อ จำเลยให้โจทก์ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติ จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ชอบธรรมเนื่องจากยุบหน่วยงานเพื่อปรับปรุงการผลิต ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดถึงการพ้นสภาพของพนักงานว่าเนื่องจากเหตุผลของบริษัทหรือเหตุผลอื่นดังต่อไปนี้ ปิดหรือยุบหน่วยงานในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องปิดหรือยุบหน่วยงานหรือบางส่วนของหน่วยงาน ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าจะต้องเป็นกรณีที่ปิดหรือยุบหน่วยงานเพราะจำเลยประกอบกิจการค้าขาดทุนเท่านั้น หากจำเลยมีความจำเป็นจะต้องปิดหรือยุบหน่วยงานด้วยเหตุผลอื่นที่สมควรก็ย่อมทำได้ การที่จำเลยมีความจำเป็นต้องยุบหน่วยงานกองโรงพิมพ์ที่โจทก์ทำงานอยู่เนื่องจากจำเลยได้ขยายการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นเหตุให้กองโรงพิมพ์ไม่สามารถผลิตของบรรจุสินค้าได้ทันความต้องการ จำต้องแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเครื่องจักรและหาเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการผลิตของโดยชักชวนบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีความชำนาญงานด้านนี้มาร่วมก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้น ย่อมเป็นผลให้ลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ต้องพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ยอมโอนไปเป็นลูกจ้างในบริษัทใหม่จึงมีเหตุอันสมควรและชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจรสุจริต - ไม่ต้องคืนทรัพย์สิน - ผู้เสียหายไม่เสนอราคา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรและให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหาย เมื่อศาลฟังว่าจำเลยรับซื้อสินค้าไว้โดยสุจริตไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานฉ้อโกงและพิพากษายกฟ้อง โจทก์ร่วมมิได้เสนอราคาสินค้าให้จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาสินค้านั้นแก่โจทก์ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร – สุจริต – ไม่รู้ว่าเป็นของชำรุด – ไม่ต้องคืนของ
จำเลยรับซื้อสินค้าไว้โดยไม่มีพฤติการณ์ใดส่อให้เห็นว่าเป็นการรับซื้อไว้โดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่ ร. ฉ้อโกงมาจากโจทก์ร่วม เป็นการซื้อไว้โดยสุจริตย่อมไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร การที่จำเลยรับซื้อสินค้าของโจทก์ร่วมไว้จาก ร.พนักงานขายของโจทก์ร่วมถือได้ว่าเป็นการซื้อสินค้าไว้จาก ร.ผู้ขายสินค้าชนิดนั้น เมื่อจำเลยซื้อมาโดยสุจริตและไม่ปรากฎว่าโจทก์ร่วมเสนอชดใช้ราคาให้ จำเลยจึงไม่จำต้องคืนสินค้าของกลางหรือชดใช้ราคาสินค้านั้นให้แก่โจทก์ร่วม
of 89