คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างและการปรับอัตราเงินเดือน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยไม่เคยประกาศใช้ข้อบังคับตามเอกสารหมาย จ.3 ที่กำหนดอัตราเงินเดือนไว้ 21 ขั้น และจำเลยได้ปรับอัตราเงินเดือนให้แก่โจทก์เกินอัตราขั้นสูง อันเป็นคุณแก่โจทก์มากแล้ว ซึ่งเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ชอบ แต่อุทธรณ์ของโจทก์สรุปได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ชอบ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการลงโทษ จึงสามารถขออนุญาตศาลลงโทษภายหลังได้
การที่ผู้ร้องสั่งพักงานผู้คัดค้านโดยจ่ายค่าจ้าง เป็นการสั่งให้ผู้คัดค้านหยุดทำงานชั่วคราวเพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขออนุญาตลงโทษผู้คัดค้านต่อศาลแรงงานกลางเสียก่อน ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษจึงมิใช่กรณีผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านก่อนมาขออนุญาตศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับโบนัสของพนักงานที่ลาไปอบรม/สัมมนาที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของบริษัท
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยไม่มีสิทธิหักเงินโบนัส จำเลยให้การว่าจำเลยมีสิทธิหักเงินโบนัสของโจทก์ทั้งสองตามมติคณะรัฐมนตรีประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยมีสิทธิหักเงินโบนัสของโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิหักเงินโบนัสของโจทก์ทั้งสองตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 4.1.1 หาเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ทั้งสองลาไปประชุมสัมมนาฝึกอบรม ซึ่งไม่เกี่ยวกับกิจการของจำเลย ณ ต่างประเทศโดยไม่ถือเป็นวันลานั้น โจทก์ทั้งสองหาได้อยู่ปฏิบัติงานจริง ๆไม่ โจทก์ทั้งสองจึงเป็นพนักงานที่ปฏิบัติไม่เต็มงวดการปิดบัญชีของธนาคารที่มีการจ่ายเงินโบนัส ชอบที่จะได้รับเงินโบนัสตามส่วนแห่งระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าว: การฟ้องเรียกเงินคืนเนื่องจากส่งมอบข้าวน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกัน ไม่ใช่ข้อบกพร่องของทรัพย์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าวบางส่วนคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบข้าวน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกัน มิใช่ฟ้องในข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน ดังนั้นจึงนำอายุความตามมาตรา 467 มาปรับมิได้ การฟ้องเรียกเงินคืนในกรณีนี้มิได้มีอายุความกำหนดไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้แบ่งทรัพย์มรดกโดยการขายทอดตลาด แม้ผู้จัดการมรดกจะคัดค้าน
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งทรัพย์มรดกที่พิพาทถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ประมูลขายระหว่างทายาทหรือขายทอดตลาด เอาเงินแบ่งกันตามส่วน คำพิพากษาของศาลฎีกาย่อมผูกพันโจทก์ เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกที่พิพาท ไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ ดังนี้กรณีต้องบังคับคดีต่อไปตาม คำพิพากษาศาลฎีกานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้รับเช็คในฐานะผู้แทนห้างหุ้นส่วน ไม่มีอำนาจเป็นผู้เสียหาย
โจทก์ร่วมได้รับเช็คพิพาทจากจำเลยในฐานะเป็นผู้แทน ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ใช่ฐานะส่วนตัว โจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินบำเหน็จของลูกจ้างที่ลาออกจากการถูกลงโทษทางวินัย ต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิด
ข้อบังคับคณะกรรมการการบริหารกิจการของอุตสาหกรรมห้องเย็น ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฎิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2519 ที่แก้ไขแล้ว ข้อ 9(5) กำหนดเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จกรณี ลาออกจากงานไว้ว่า การลาออกของลูกจ้างจะต้องไม่มีความผิดใด ๆโดยไม่ได้กำหนดให้แน่ชัดว่าจะต้องเป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่จะต้องถูกลงโทษให้ออกจากงานหรือไม่ แต่ตามข้อ 12 ลูกจ้างที่ถูกลงโทษหรือถึงแก่ความตายไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จะต้องกระทำความผิดร้ายแรงถึงขนาดถูกลงโทษให้ออกจากงานหรือในกรณีถึงแก่ความตายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่ไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดฐานประมาท หรือกระทำผิดวินัยร้ายแรงซึ่งถ้าไม่ถึงแก่ความตายเสียก่อนก็จะต้องถูกลงโทษถึงออกจากงานตามข้อบังคับ ดังนั้น ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกเพราะกระทำความผิด แม้ข้อบังคับ ข้อ 9(5) ไม่ได้ระบุไว้ว่าต้องเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อบังคับ ข้อ 12 ดังกล่าว แล้วย่อมแปลความไว้ว่า การที่ลูกจ้างลาออกจากงานเพราะกระทำความผิดและจะไม่มีสิทธิได้รับ เงินบำเหน็จนั้น จะต้องเป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่ว่าถ้าลูกจ้างไม่ลาออกเสียก่อนก็จะต้องถูกลงโทษถึงออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลย มิฉะนั้น ลูกจ้างของจำเลยที่กระทำ ความผิดเล็กน้อยลาออกจากงานก็จะไม่ได้รับบำเหน็จ จะต้อง ทำงานอยู่ตลอดไปจนเกษียณอายุจึงจะได้รับเงินบำเหน็จซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน เริ่มนับจากวันผิดนัดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ไปเก็บจากลูกค้าเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2526 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2526 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2526 รวมเป็นเงิน 28,989.20 บาท จำเลยที่ 1ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 โจทก์จึงอาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์รับผิดใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันเกิดเหตุตามมาตรา 686อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนั้นมิใช่เริ่มนับตั้งวันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝึกอบรมต่างประเทศและการเลิกจ้างที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ หากบริษัทเลิกจ้างไม่ถูกต้อง ผู้รับทุนไม่ต้องชดใช้เบี้ยปรับ
สัญญารับทุนไปฝึกอบรมต่างประเทศ มีข้อกำหนดไว้ว่าถ้าผู้รับทุนไม่ทำงานให้แก่บริษัทครบตามระยะเวลาทำงานขั้นต่ำหรือผู้รับทุนถูกบริษัทเลิกจ้างก่อนสิ้นสุดระยะเวลาทำงานขั้นต่ำ ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ เว้นแต่กรณีบริษัทเลิกจ้างโดยฝ่าฝืนระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท ผู้รับทุนต้องใช้เงินเบี้ยปรับแก่บริษัทนั้นข้อความที่ระบุว่า "เว้นแต่กรณีบริษัทเลิกจ้างโดยฝ่าฝืน ระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท" มีความหมายว่า บริษัทเลิกจ้างผู้รับทุนโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท เมื่อระเบียบข้อบังคับในการทำงานของโจทก์ระบุเกี่ยวกับการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ว่าละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร ดังนี้ การที่จำเลยผู้รับทุนละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 16 พฤษภาคม 2533 เป็นเวลา 13 วันติดต่อกันโจทก์จึงเลิกจ้างจำเลยโดยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฉะนั้นจำเลยต้องชดใช้เงินเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีแรงงาน: การโต้เถียงดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยึด
ข้ออุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่าศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานไม่ถูกต้องตามหลักการพิจารณาคดีแพ่งเพราะตามพยานหลักฐานของผู้ร้องเห็นได้ชัดว่าผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดก็ดี ที่ว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและศาลไม่ได้กำหนดประเด็นไว้ก็ดี เป็นการหยิบยกพยานหลักฐานเพื่อให้ศาลฎีกาฟังว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ร้อง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
of 89