คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถาวร ตันตราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนกระทำสัญญาเช่าโดยไม่ประทับตราบริษัท แต่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ถือเป็นสัตยาบัน
บริษัทจำเลยทั้งสองได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในตึกพิพาทแม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ทั้งสองโดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยทั้งสองให้ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กระทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองได้ให้สัตยาบันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งสองตามกำหนด จำเลยทั้งสองจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของตัวแทนที่ผูกพันนายจ้าง แม้ไม่มีตราสำคัญ หากมีการให้สัตยาบันและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์โดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในตึกพิพาท ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กระทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: ราคาเหมาะสมและดุลพินิจเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยมิได้โต้แย้งว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ใช้ดุลพินิจในการขายโดยไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ให้แก่ผู้ประมูลราคาสูงสุดโดยเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรแล้ว จำเลยจะรื้อฟื้นขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าเป็นการขายในราคาต่ำหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทนายความต่อความเสียหายจากความบกพร่องในการจดวันนัด และการไม่จำเป็นต้องบอกกล่าว ก่อนฟ้องคดี
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นทนายความว่าต่าง จำเลยที่ 1มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นทนายความดำเนินคดีแทน ถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ไม่ไปศาลเพราะจดวันนัดผิด ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีดังนี้เพื่อความไม่ประมาท จำเลยที่ 2 จะต้องจดวันนัดสืบพยานจากรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ การที่จำเลยที่ 2 จำวันนัดสืบพยานผิดพลาดจึงเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 2เอง หาได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยไม่ การฟ้องคดีนี้ไม่มีบทกฎหมายใดที่บังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อนฟ้อง ดังนั้น โจทก์จะบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความประมาทเลินเล่อจำวันนัดสืบพยานคดีผิดพลาด ศาลฎีกาตัดสินให้รับผิดชอบความเสียหาย
ทนายความจะต้องจดวันนัดพิจารณาจากรายงานกระบวนพิจารณาของศาล การที่จำเลยซึ่งเป็นทนายความของโจทก์อ้างว่าจำวันนัดสืบพยานผิดพลาดตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานศาล จึงเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง หาใช่เหตุสุดวิสัยไม่และเมื่อจำเลยไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจนศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เพราะกรณีแห่งคดีนี้ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อนฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-เบิกความเท็จ: การพิจารณาความผิดกรรมเดียว-หลายบท และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ 2 กระทงฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ฐานเบิกความเท็จอีก 2 กระทงฐานแจ้งความเท็จกระทงแรกจำคุก 1 ปี ฐานใช้เอกสารปลอมกับแจ้งความเท็จกระทงหลังให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมจำคุก 2 ปี ฐานเบิกความเท็จจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมเป็นโทษจำคุก 9 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอม กระทงหนึ่ง จำคุก 6 เดือน และจำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จกระทงเดียวจำคุก 6 เดือน รวมเป็นจำคุก 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงลงโทษจำคุก 8 เดือน เป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและเบิกความเท็จจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก แม้ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยในความผิดฐานแจ้งความเท็จและยังไม่ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโทป. เป็นเท็จหรือไม่ แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา การที่จำเลยไปแจ้งความว่าโจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยทั้งที่ความจริงโจทก์ออกเช็คให้แก่ ว. ทำให้จำเลยกลายเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ การแจ้งความดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ การที่จำเลยเบิกความสองครั้งในคดีเดียวกันคือในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณาแม้จะเป็นการเบิกความคนละคราว แต่ก็เป็นการนำสาระสำคัญของข้อความในเรื่องเดียวกัน มูลเหตุเดียวกันมากล่าวอีกครั้งโดยมีเจตนาให้โจทก์ต้องโทษในคดีเดียวกันเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามบันทึกข้อตกลง และการใช้สิทธิประโยชน์จากสัญญาโดยบุคคลภายนอก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทประการหนึ่งและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ที่ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงอีกประการหนึ่ง ถือว่าเป็นฟ้องที่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว เป็นคำฟ้องที่ไปด้วยกันได้ไม่ขัดกันและไม่เคลือบคลุมแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่โอนกรรมสิทธิ์ส่วนที่ระบาย สีแดงให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงของจำเลยทั้งสี่กับ บ. เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกใช้สิทธิถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยทั้งสี่กับ บ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง หาใช่โจทก์ฟ้องให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญาจะซื้อขายเป็นเพียงสำเนาต้นฉบับไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้นั้น จึงไม่ใช่ข้อสำคัญของคดี และเป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด จำเลยที่ 1 ฎีกาว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเสน่หาไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น ปัญหาข้อนี้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งถือว่าจำเลยที่ 1 ได้สละประเด็นนี้แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์จากสัญญาระหว่างบุคคลภายนอกกับคู่สัญญา การครอบครองปรปักษ์ และผลของการไม่จดทะเบียนนิติกรรม
คำบรรยายฟ้องของโจทก์อ้างว่า โจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทประการหนึ่ง และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ที่ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงระหว่าง บ.กับจำเลยอีกประการหนึ่ง การบรรยายฟ้องของโจทก์แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นคำฟ้องที่ไปด้วยกันได้ ไม่ขัดกันและไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงของจำเลยกับ บ. เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกใช้สิทธิถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยกับบ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคสอง หาใช่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่ ฉะนั้นสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ บ. จะมีหรือไม่ และต้นฉบับจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อสำคัญของคดี และเป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นไว้และจำเลยมิได้โต้แย้ง ถือว่าจำเลยสละประเด็นนี้แล้ว ฎีกาของจำเลยในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าซื้อ: เจ้าของกรรมสิทธิ์, สัญญาประธาน, อายุความค่าขาดประโยชน์
จำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์พิพาทและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้วินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจึงมีอำนาจฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยเรื่องโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทหรือไม่ อันจะเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การปรับบทกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ตามที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหานี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัย จึงไม่ชอบ โจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทที่ให้เช่าซื้อก็ตาม แต่บริษัท ท.เจ้าของรถยนต์พิพาทยอมให้โจทก์นำรถยนต์พิพาทออกให้ผู้อื่นเช่าซื้อได้และโจทก์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยได้ หากจำเลยชำระเงินค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา ดังนี้จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะกลับมาอ้างว่าขณะทำสัญญาโจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทกับค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์พิพาท ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเช่าซื้อ, เจ้าของสัญญา, และดุลพินิจค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาทมาจาก ท. แล้วจำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทที่ให้เช่าซื้อแต่ ท. ยอมให้โจทก์นำรถยนต์พิพาทออกให้ผู้อื่นเช่าซื้อได้และโจทก์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ได้หากจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา จำเลยที่ 1ต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ จะอ้างว่าขณะทำสัญญาโจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ จึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ จำเลยทั้งสองมิได้กล่าวไว้ในอุทธรณ์ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง จึงเป็นการอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวไว้ชัดแจ้งในอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์มีอำนาจไม่รับวินิจฉัยได้ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทกับค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์พิพาทไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ ของศาลโดยคำนึงถึงเหตุผลและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161.
of 60