พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี เมื่อสามีขาดจากภูมิลำเนาและไม่มีข่าวคราว
โจทก์ที่ 1 เป็นสามีของผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาโจทก์ที่ 1 และผู้ตายต่างย้ายภูมิลำเนาจากที่เดิมไปอยู่ที่อื่นซึ่งเป็นคนละแห่งกันโดยมิได้มีการติดต่อเยี่ยมเยียนหรือส่งข่าวคราวให้แก่กันเลยเป็นเวลานานหลายปี จึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การที่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมในระหว่างที่แยกกันอยู่กับโจทก์ที่ 1เช่นนี้ กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/25การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส กรณีสามีภรรยาแยกกันอยู่เป็นเวลานาน
โจทก์ที่ 1 เป็นสามีของผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาโจทก์ที่ 1 และผู้ตายต่างย้ายภูมิลำเนาจากที่เดิมไปอยู่ที่อื่นซึ่งเป็นคนละแห่งกันโดยมิได้มีการติดต่อเยี่ยมเยียน หรือส่งข่าวคราวให้แก่กันเลยเป็นเวลานานหลายปีจึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การที่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมในระหว่างที่แยกกันอยู่กับโจทก์ที่ 1 เช่นนี้กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/25การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ต้องมียินยอมคู่สมรส กรณีสามีภรรยาแยกกันอยู่และขาดการติดต่อ
โจทก์ที่ 1 เป็นสามีของผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาโจทก์ที่ 1 และผู้ตายต่างย้ายภูมิลำเนาจากที่เดิมไปอยู่ที่อื่นซึ่งเป็นคนละแห่งกันโดยมิได้มีการติดต่อเยี่ยมเยียน หรือส่งข่าวคราวให้แก่กันเลยเป็นเวลานานหลายปีจึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การที่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมในระหว่างที่แยกกันอยู่กับโจทก์ที่ 1 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/25 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมโดยไม่ต้องมียินยอมคู่สมรส เมื่อสามี/ภรรยาขาดการติดต่อ
ขณะที่ ม. ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์สามี ม. ผู้ตายไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้ รับข่าวคราวประการใด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กรณีต้อง ด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องได้ รับความยินยอมของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1598/25 ดังนี้การจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมจึงชอบด้วย กฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ว่าจ้างตามสัญญา การระบุชื่อคู่สัญญา และการบรรยายฟ้องค่าเสียหาย
ข้อความตอนต้น ของสัญญาระบุว่าโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างมีวงเล็บ ชื่อ โจทก์ที่ 2 ต่อ ท้ายชื่อ ของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในฐานะ คู่สัญญาฝ่ายผู้ว่าจ้างโดย ไม่ระบุว่ากระทำแทนโจทก์ที่ 2 การที่จำเลยเป็นผู้จัดทำสัญญานี้ขึ้น โดย ไม่ปรากฏพฤติการณ์ให้เข้าใจว่าโจทก์ที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ดังนี้โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องในส่วนค่าเสียหายว่า การที่จำเลยที่ 1ผิดสัญญาทำให้โจทก์ที่ 1 ได้ รับความ เสียหายคือขาดประโยชน์จากการขายมันเม็ดแข็งแก่ลูกค้าซึ่ง ทำสัญญาซื้อ ไว้กับโจทก์ที่ 1 ภายหลังจากโจทก์ที่ 1 ตกลง ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างเครื่องจักรแล้วเป็นเงินจำนวนหลายล้านบาท เสียค่าทำแท่นลงเสาเข็มไว้รอรับเครื่องจักรและเสียค่าจ้างเพิ่มในการว่าจ้างให้ผู้อื่นทำเครื่องจักใหม่ โจทก์ขอค่าเสียหายทุกรายการเป็นเงินหนึ่งล้านบาท ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงโดย ชัดแจ้งซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในหุ้นมรดก: การแบ่งปันระหว่างทายาทและประโยชน์ของผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599, 1600, 1629(1), 1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574, 1575
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, อำนาจปกครอง, และการคุ้มครองประโยชน์ผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, การใช้อำนาจปกครองขัดประโยชน์, การแบ่งแยกหุ้น
โจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งหุ้นมรดกของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาผู้ตายเป็นผู้ถือหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว เท่ากับขอให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตาย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ที่ 2 เอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ความหมายของมาตรา 1118 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึงหุ้นจำนวนเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้น หุ้นเดียวต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีนี้หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1 จะขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น มรดกเพียงผู้เดียวในหุ้นมรดกทั้งหมดโดยอ้างมาตรา 1118หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการครอบครองที่ดิน: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่ได้ลงลายมือชื่อแต่งทนาย และการครอบครองไม่ถึงขั้นแย่งการครอบครอง
โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แม้โจทก์ที่ 1จะรับรองหรือให้สัตยาบันการแต่งตั้งก็ไม่ทำให้การแต่งตั้งนั้นสมบูรณ์ขึ้นมาได้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อข้อเท็จจริงมาปรากฏในชั้นพิจารณา ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ที่พิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์ที่ 2 และชาวบ้านร่วมกันบริจาคเงินซื้อ เพื่อจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ โดยใช้ชื่อว่า "วัด ส." แต่วัดดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมาย ที่พิพาทจึงเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะเจ้าของร่วมอยู่ด้วยโจทก์ที่ 2 ยังมิได้สละสิทธิครอบครองแต่อย่างใด การที่โรงเรียน บ. มาสร้างอาคารเรียน และบ้านพักครูขึ้นในที่พิพาทเป็นการเข้าอยู่โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธินำที่พิพาทไปขอออกน.ส.3 ก. ในชื่อขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครอง แม้จะครอบครองต่อไปนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท จึงมิใช่เป็นกรณีการฟ้องคดี เพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อขาดรายละเอียดการกระทำความผิด และองค์ประกอบความผิดไม่ครบถ้วน
การแจ้งความเท็จอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172,173ประกอบมาตรา 174 วรรคสอง ต้องเป็นข้อความเท็จที่เกี่ยวกับความผิดอาญา โดยคำฟ้องต้องบรรยายให้ได้ความว่า จำเลยแจ้งความเท็จกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดในทางอาญาฐานใดฐานหนึ่งด้วยการที่โจทก์กล่าวในฟ้องเพียงว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันให้จำเลยที่ 4 ที่ที่ 6 นำข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาไปแจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า โจทก์ทั้งสองหลอกลวงเอาเงินของจำเลยที่ 5 ที่ 6 ไปโดยไม่ได้ความว่าหลอกลวงอย่างไรและการหลอกลวงนั้นเป็นการกระทำที่เป็นความผิดในทางอาญาหรือไม่ เช่นนี้จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) การบรรยายฟ้องโดยเพียงหยิบยกเอาถ้อยคำของกฎหมายในแต่ละมาตรามาบรรยายเพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดเท่านั้น มิได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆรวมทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5).