คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถาวร ตันตราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของประกันภัยและการเรียกร้องค่าเสียหายส่วนที่เหลือจากผู้ทำละเมิด
ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ไปเป็นจำนวนเพียงใดผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 คดีนี้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 900,000 บาท เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยไปบางส่วนเป็นเงิน 300,000 บาทแล้ว โจทก์จึงคงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยผู้ทำละเมิดในจำนวนของวินาศภัยของทรัพย์ที่เอาประกันภัยเฉพาะส่วนที่เหลืออีก 600,000 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4295/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องเจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้านส่งผลต่อการแจ้งข้อฟ้อง การขาดนัดยื่นคำให้การไม่ถือจงใจ ศาลพิจารณาคดีใหม่ได้
ในช่องย้ายออกของบุตรจำเลย 3 คน เจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้านบันทึกว่าย้ายไปที่บ้านเลขที่ 40/3 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่ช่องย้ายออกของจำเลย เจ้าหน้าที่บันทึกขาด ถนนเพชรเกษม ไป จึงเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้าน ไม่ใช่ความบกพร่องของจำเลย ดังนั้น หากมีการส่ง หมายเรียกและสำเนาฟ้องไปยังที่อยู่ใหม่ของจำเลย โดยระบุชื่อถนน ดังกล่าวลงไปให้ชัดเจน จำเลยก็มีโอกาสทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง และ สามารถยื่น คำให้การแก้คดีได้ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัด พิจารณาของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควร ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศหนังสือพิมพ์ กำหนดวันให้จำเลยยื่น คำให้การแก้คดี และให้ประกาศหนังสือพิมพ์ เรื่องคำบังคับ ให้จำเลย ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยไม่ทราบเพราะไม่เคยอ่าน หนังสือพิมพ์ฉบับที่ลงประกาศศาลดังกล่าว จึงเป็นพฤติการณ์นอกเหนือ ไม่อาจบังคับได้ เมื่อจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงและภายใน 6 เดือนนับแต่ วันที่ได้ยึดทรัพย์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 จึง มีเหตุสมควรให้พิจารณา คดีใหม่ตามคำขอของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4295/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้านส่งผลต่อการแจ้งข้อฟ้อง ทำให้จำเลยไม่ทราบคดี และมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่
เจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้านบันทึกในสำเนาทะเบียนบ้าน ช่องย้ายออกของบุตรจำเลย ว่าย้ายไปที่บ้านเลขที่ 40/3 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่ช่องย้ายออกของจำเลย เจ้าหน้าที่ไม่ได้บันทึกชื่อถนน จึงเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้าน ไม่ใช่ความบกพร่องของจำเลย ดังนั้นหากมีการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องไปยังที่อยู่ใหม่ของจำเลยโดยระบุชื่อถนนดังกล่าวลงไปให้ชัดเจน จำเลยก็มีโอกาสทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง และสามารถยื่นคำให้การแก้คดีได้ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศหนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายนัดและคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยไม่ทราบเพราะไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับที่ลงประกาศศาลดังกล่าวจึงเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เมื่อจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง และภายใน6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 จึงมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงนอกศาลไม่อ้างอิงเพื่อขัดขวางการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้
เมื่อศาลพิพากษาและออกคำบังคับแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาด เอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ จำเลยจะยกข้ออ้างว่าโจทก์ตกลง ให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อย เพื่อให้ขายได้ง่ายและได้ราคาซึ่งเป็นข้อตกลงที่ทำกันนอกศาล ทั้งยังมีข้อโต้เถียงกันอยู่ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นแล้วหรือไม่มาเป็นเหตุให้ งด การบังคับคดีตามคำพิพากษาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3948/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีเหตุสมควร และการยกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ชอบด้วยกฎหมาย
ทนายความผู้ประกันขอเลื่อนคดีมาแล้วครั้งหนึ่งอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่น ศาลชั้นต้นอนุญาต ครั้นถึงวันนัดครั้งต่อไปทนายความผู้ประกันยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่า ได้นัดผู้ประกันให้มาเบิกความต่อศาล แต่ผู้ประกันไม่มาและไม่ทราบสาเหตุ แต่ตามคำร้องขอเลื่อนคดีไม่ได้อ้างเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปจะทำให้เสียความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคแรก ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้เลื่อนคดี ผู้ประกันกล่าวอ้างว่า การขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นไปโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการขายทอดตลาด ผู้ซื้อทรัพย์คัดค้าน ดังนี้ หน้าที่นำสืบตกแก่ผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันไม่มีพยานมานำสืบ อีกทั้งได้ความตามสำนวนว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งการขายทอดตลาดโดยชอบหลายครั้งไม่มีผู้ใดสนใจเข้าสู้ราคา เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สู้ราคาสูงสุดสูงกว่าราคาประเมิน และศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ขายทรัพย์แก่ผู้ซื้อทรัพย์ การขายทอดตลาดจึงเป็นไปโดยชอบแล้ว การยื่นคำร้องของผู้ประกันในคดีอาญาว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบ รวมทั้งการอุทธรณ์ฎีกา ไม่จำต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3948/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการพิสูจน์ความชอบด้วยกฎหมายของการขายทอดตลาด
ทนายความผู้ประกันขอเลื่อนคดีมาแล้วครั้งหนึ่งอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นศาลชั้นต้นอนุญาต ครั้นถึงวันนัดครั้งต่อไปทนายความผู้ประกันยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่าได้นัดผู้ประกันให้มาเบิกความต่อศาล แต่ผู้ประกันไม่มาและไม่ทราบสาเหตุ แต่ตามคำร้องขอเลื่อนคดีไม่ได้อ้างเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ และไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปจะทำให้เสียความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้เลื่อนคดี
ผู้ประกันกล่าวอ้างว่า การขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นไปโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการขายทอดตลาด ผู้ซื้อทรัพย์คัดค้าน ดังนี้ หน้าที่นำสืบตกแก่ผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันไม่มีพยานมานำสืบ อีกทั้งได้ความตามสำนวนว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งการขายทอดตลาดโดยชอบหลายครั้ง ไม่มีผู้ใดสนใจเข้าสู้ราคา เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สู้ราคาสูงสุดสูงกว่าราคาประเมิน และศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ขายทรัพย์แก่ผู้ซื้อทรัพย์การขายทอดตลาดจึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
การยื่นคำร้องของผู้ประกันในคดีอาญาว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบรวมทั้งการอุทธรณ์ฎีกา ไม่จำต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาเช่าซื้อถือเป็นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำว่า "ทรัพย์" ตาม ป.อ. มาตรา 350 หมายความรวมถึงสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการโอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ ตามมาตรา 350 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมในการออกเช็คเพื่อฉ้อโกง แม้ไม่ได้ลงลายมือชื่อ
แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท แต่การที่จำเลยที่ 4เป็นกรรมการผู้มีอำนาจแล้วยังเป็นผู้ดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 2ที่ 3 ในการออกเช็คชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยวางแผนแบ่งหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ด้วยการกรอกรายการ และลงลายมือชื่อในเช็คแล้วจำเลยที่ 4 รับมาตรวจและประทับตราสำคัญจำเลยที่ 1 อันทำให้รายการของเช็คสมบูรณ์เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจว่า จำเลยร่วมกันออกเช็คที่มีรายการสมบูรณ์เป็นตราสารชำระหนี้ตามกฎหมายตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและหลักฐานการปฏิเสธการจ่ายเงินของธนาคารที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นฟ้องที่บรรยายการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดเพียงพอที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงิน แม้ไม่ได้ลงลายมือชื่อ แต่มีส่วนร่วมในการออกเช็ค
แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแต่การที่จำเลยที่ 4 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจแล้วยังเป็นผู้ดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในการออกเช็คชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยวางแผนแบ่งหน้าที่ให้จำเลยที่ 2ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ด้วยการกรอกรายการ และลงลายมือชื่อในเช็คแล้วจำเลยที่ 4 รับมา ตรวจ และประทับตราสำคัญจำเลยที่ 1 อันทำให้รายการของเช็คสมบูรณ์เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 4ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจว่า จำเลยร่วมกันออกเช็คที่มีรายการสมบูรณ์เป็นตราสารชำระหนี้ตามกฎหมายตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและหลักฐานการปฏิเสธการจ่ายเงินของธนาคารที่แนบมาท้ายฟ้องเป็นฟ้องที่บรรยายการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดเพียงพอที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนสะพาน: ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 7 มิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้เช่นเดียวกับจำเลยอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือคำให้การของตน ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่มีผลให้จำเลยที่ 7 มีสิทธิฎีกา
โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น.เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1 สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่
สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอดได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะกับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย
ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1 นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลยจำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง
กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด
of 60