พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการชนสะพาน: ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 7 มิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้เช่นเดียวกับจำเลยอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือคำให้การของตน ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่มีผลให้จำเลยที่ 7 มีสิทธิฎีกา
โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น.เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1 สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่
สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอดได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะกับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย
ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1 นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลยจำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง
กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด
โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น.เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1 สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่
สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอดได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะกับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย
ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1 นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลยจำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง
กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการเตะกระทืบไม่เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
ขณะเกิดเหตุคนที่มาในงานเลี้ยงโกรธผู้ตายที่ยิงปืน จึงต่างคนต่างทำร้ายผู้ตาย โดยจำเลยเพียงเข้าไปเตะและกระทืบผู้ตายซึ่งนั่งอยู่ในครัว มิได้ใช้สิ่งใดเป็นอาวุธทำร้ายร่างกายผู้ตาย จำเลยได้กระทำไปตามลำพังโดยมิได้ร่วมหรือสมคบกับผู้อื่น ประกอบกับปรากฏจากบาดแผลของผู้ตายตามรายงานการชันสูตรพลิกศพว่า ที่เหนือคิ้วขวามีรอยถูกของแข็งตีเป็นบาดแผลยาว 1 นิ้ว ตรงกลางหน้าผากถูกของแข็งยาว 5 นิ้วเศษ ยุบลึกลงไป 1 นิ้ว ใต้ตาขวาถูกของแข็งตีแตกยาว1 นิ้ว โดยบาดแผลแต่ละแห่งนั้นเกิดจากการถูกตีด้วยความแรงจนกะโหลก ศีรษะยุบและแตกเป็นชิ้น ร่างกายส่วนอื่นไม่มีบาดแผลใด และเหตุ ที่ตายเนื่องจากผู้ตายถูกตีด้วยของแข็งอย่างแรงหลายที เป็นเหตุให้กะโหลกศีรษะแตกและยุบ สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรง เชื่อว่าผู้ตายถึงแก่ความตายทันที ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่าที่ จำเลยเตะ และกระทืบผู้ตายมิได้เป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับบาดแผล ดังกล่าว ทั้งร่างกาย ส่วนอื่นนอกจากบาดแผลนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามี บาดแผลหรือรอยฟกช้ำอื่นใด อีกอีก ยังเชื่อไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกระทำผิด กับผู้อื่นโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตายการกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงการ ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 เท่านั้น ความตาย ของผู้ตายมิใช่ผลโดยตรงที่เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่ ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมาย และผูกพัน กทม. ในการชดเชยค่าทดแทน
พระราชบัญญัติ ญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่ง ของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการ ทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะ เจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจ หน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.ผูกพันตามอำนาจหน้าที่ผู้ว่าฯ ในการเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกพ.ศ.2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานครเป็นจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: การชำระหนี้ที่ซ้ำซ้อนและการเรียกร้องเงินคืน
ในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์จำเลย เงินของจำเลยมิได้ขาดบัญชีไป เพียงแต่โจทก์รับเงินมาแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีของจำเลยโดยมิได้นำมาลงบัญชีสมุด เงินสดรับ เป็นเหตุให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าเงินขาดบัญชีไป จำเลยจึงได้ให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยได้ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากโจทก์ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดชดใช้เงินนั้น และโจทก์ได้ชดใช้เงินให้แก่จำเลยแล้วทั้งที่ปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ยังอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลย เงินดังกล่าวแม้จะตก เป็นของธนาคารแต่จำเลยในฐานะเจ้าของบัญชีก็มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยเมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันกับเงินที่ฝากธนาคารไปจากโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้หนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และสิทธิในการเรียกคืนเงินที่นำฝากบัญชีในฐานลาภมิควรได้
ในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์จำเลย โจทก์รับเงินมาแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีของจำเลยโดยมิได้นำมาลงบัญชีสมุดเงินสดรับเป็นเหตุให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าเงินขาดบัญชีไป จำเลยจึงได้ให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยได้ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากโจทก์ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดชดใช้เงินนั้น แสดงว่าโจทก์ต้องชดใช้เงินให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่ปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ยังอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลย เงินดังกล่าวแม้จะตกเป็นของธนาคารแต่จำเลยในฐานะเจ้าของบัญชีก็มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยเมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันกับเงินที่ฝากธนาคารไปจากโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้แทนสหกรณ์ และการจำนำหุ้นเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้
ผู้จัดการสหกรณ์ผู้ร้องซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ผู้ร้องให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องได้ มีฐานะเป็นผู้แทนสหกรณ์ผู้ร้อง มีอำนาจทำการแทนผู้ร้องได้ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ผู้ร้องหาจำเป็นต้องทำใบมอบอำนาจอีกขั้นหนึ่งไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2451-2452/2517) การที่จำเลยนำหุ้นสหกรณ์ไปจำนำแก่ผู้ร้องภายหลังจากจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และศาลพิพากษาตามยอมแล้วเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องได้ร่วมกันจำนำหุ้นทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยเสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ในเงินค่าหุ้นดังกล่าวก่อนโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้อถอนอาคารผิดแบบ เนื่องจากเจ้าของที่ดินรับโอนหลังการก่อสร้างผิดกฎหมาย
แม้จำเลยให้การในข้อแรกว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมดก็ตาม แต่จำเลยได้ให้การในข้อต่อมาเกี่ยวข้องกับ ข้อกล่าวอ้างตามฟ้องประการแรกว่าส. ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทจะกระทำการก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ คำให้การของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดว่าเป็นการปฏิเสธฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่า ได้มีการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนที่อนุญาตจริง ตามฟ้องและยังมิได้รื้อถอนตามคำสั่งของโจทก์ ส่วนข้อเท็จจริง ที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องประการหลัง จำเลยได้ให้การยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองโดยเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 แปลง พร้อมอาคารพิพาทและจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งของโจทก์ที่ให้ทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่เกินจากแบบแปลนที่โจทก์อนุญาตให้ทำการก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดแล้วและจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องทั้งสองประการดังกล่าวโจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในฟ้องอีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)และโจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งได้ตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4,42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้การรับโอนที่ดินเป็นโมฆะ
จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วโจทก์จึงรับโอนที่ดินจาก บ.ผู้มีชื่อโฉนดที่ดินเพื่อตีใช้หนี้ก่อนโอนบ.ได้พาโจทก์มาดูที่พิพาท โจทก์ย่อมเห็นจำเลยปลูกบ้าน ปลูกต้นไม้ยืนต้นในที่ดินพิพาทอย่างถาวร เมื่อบ. บอกโจทก์ว่า จำเลยเช่าที่พิพาทปลูกบ้านอยู่อาศัยโจทก์เชื่อก็ไม่ได้ขอดูหลักฐานการเช่าจากบ.ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเช่าที่พิพาทจริงหรือไม่ผิดวิสัยของผู้ซื้อที่ดินทั่วไป พฤติการณ์แสดงว่า ขณะโจทก์รับโอนที่ดิน โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยเห็นเจ้าของที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้จะถือว่าโจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินและลานจอดรถยนต์: การสิ้นสุดสัญญาและการคิดดอกเบี้ย
สัญญาเช่าที่ดินที่กำหนดให้ผู้เช่าสร้างลานจอดรถยนต์ แล้ว มอบ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน ยิ่ง กว่า การ เช่าธรรมดา แม้ที่ดินตามสัญญาเช่าดังกล่าวจะเป็นที่ดิน ส่วนหนึ่ง ของ สัญญาเช่าอีกฉบับหนึ่งซึ่งระบุให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้อง สร้างอาคารพาณิชย์แล้ว จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ให้เช่า โดยผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพาณิชย์มีกำหนด 25 ปี นับแต่ วันก่อสร้างเสร็จก็ตาม ก็ไม่เกี่ยว กับการเช่าที่ดินเพื่อทำลานจอดรถยนต์ จำเลยจะมีสิทธิเช่าที่ดินอันเป็นลานจอด รถยนต์ ได้ นานเพียงใดต้องดูระยะเวลาแห่งการเช่านั้นเป็นเกณฑ์ ท้ายหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ที่มีมาถึงจำเลยมีข้อความว่า ถ้าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อให้ติดต่อแผนกที่ดินและโรงเรือนของโจทก์ เป็นเพียงคำแนะนำของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่คำเสนอให้เช่า ของโจทก์ แม้จำเลยจะได้สนองตอบรับการเช่าก็ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยได้ต่อสัญญาเช่ากันอีก ปัญหาเรื่องอายุความในทางแพ่งเป็นข้อที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เงินที่จำเลยนำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์เป็นค่าเช่ารายเดือน มิใช่วางเป็นค่าเสียหาย โจทก์ไปขอรับเงินเป็นค่าเสียหาย แต่พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ยอมจ่ายให้ โจทก์จึง มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้.